เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 ความก้าวหน้าของการสื่อสารสมัยใหม่ผลักดันให้ การไหลบ่าของข้อมูลข่าวสารสู่การรับรู้ของมนุษย์มีจำนวนมหาศาล มนุษย์ทั่วโลกจึงได้เรียนรู้ที่จะดำรงชีวิตในบริบทแห่งสังคมข่าวสารข้อมูล โดยมี“เทคโนโลยีสารสนเทศ”เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
ประเทศไทยมีทรัพยากรบุคคลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไม่เพียงพอต่อการพัฒนา และการใช้ประโยชน์ไอทีในสังคมไทยอย่างทั่วถึง ดังนั้นในปี พ.ศ.2538 รัฐบาลจึงได้ประกาศให้เป็น“ปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย” เพื่อเร่งรัดการใช้ประโยชน์ และเร่งรัดการผลิตบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นภายในประเทศไทย ในปีนั้นเองคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีจึงได้ถือกำเนิดขึ้นโดยเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่เปิดสอนหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง ซึ่งในขณะนั้นมีสถาบันการศึกษาเพียงไม่กี่แห่งในโลก ที่มีการเรียนการสอนโดยใช้ชื่อหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2538 และเป็นส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตามราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 114 วันที่ 21 พฤษภาคม 2540 โดยมี ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร เป็นประธานโครงการจัดตั้งคณะฯ โดยมีวัตถุประสงค์ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสารสนเทศ ส่งเสริมการพัฒนาและการวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และเพื่อให้บริการวิชาการคอมพิวเตอร์และการประมวลสารสนเทศ แก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ
การดำเนินงานในระยะแรกใช้พื้นที่บริเวณชั้น 3 อาคารเรียนรวม 2 ของมหาวิทยาลัยฯ และต่อมาได้จึงได้ขยายมาสร้างอาคารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2545 จนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีการจัดตั้งและดำเนินการโครงการวิทยาเขตราชบุรี และดำเนินการเรียนการสอนและผลิตบัณฑิตระหว่างปี 2539 – 2551 โดยมีรูปแบบการเรียนการสอนผ่านทางไกล (Video Conference) โดยอาจารย์สอนสลับที่ทั้งกรุงเทพฯ และราชบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาสู่ภูมิภาคอีกด้วย
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกด้าน ทั้งการเรียนการสอน มีการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตที่เน้นการปฎิบัติโดยใช้โปรแกรม และสภาวะแวดล้อมในธุรกิจจริงร่วมกับองค์กรไอทีชั้นนำ ในรูปแบบของ Workshop Learning ที่เป็นต้นแบบของสถาบันการศึกษาอีกหลายๆ แห่ง มีระบบส่งเสริมการเรียนรู้ ให้นักศึกษาสามารถศึกษา ทบทวน และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทั้งรูปแบบของ e-learning และการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่สนับสนุนการศึกษา (Learning Facilitator) ด้านการพัฒนาบุคลากรให้เชี่ยวชาญทั้งการสอน การปฎิบัติและการวิจัยเชิงประยุกต์ รวมถึงการลดการใช้พลังงานที่จะทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ทั้งลดการใช้กระดาษ ลดขั้นตอนการทำงาน โดยนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาใช้ในชีวิตประจำวัน การส่งเสริมการทำงานด้วยรูปแบบสองภาษาทั้งบุคลากรและนักศึกษา รวมถึงการส่งเสริมด้านรักษาศิลปวัฒนธรรมไทย โดยการส่งเสริมและแบ่งปันเทคโนโลยีสู่ชุมชน ภายใต้แนวคิดการช่วยลดช่องว่างดิจิทัลในสังคมไทย
ปัจจุบันคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดการเรียนการสอนและผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ และหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาษาอังกฤษ) ระดับปริญญาโท หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรระบบสารสนเทศทางธุรกิจ หลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และหลักสูตรชีวสารสนเทศ (ร่วมกับคณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี) และปริญญาเอกหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ และหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ นับตั้งแต่ก่อตั้ง คณะฯ ได้ผลิตบัณฑิตมืออาชีพด้านไอทีมากกว่า 6,000 คน เพื่อไปรับใช้สังคมทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ จนเป็นที่ยอมรับ พร้อมกับได้สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยฯ จนเป็นที่ประจักษ์อย่างแท้จริง
จากวันวาน สู่วันนี้ (SIT Timeline)
เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และจัดตั้งห้องสมุด SIT
เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต 2 ปี (ต่อเนื่อง) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามโครงการวิทยาเขตสารสนเทศราชบุรี โดยใช้ศาลาประชาคมประจำจังหวัดราชบุรีหลังเดิมเป็นพื้นที่การเรียนการสอน โดยสอนผ่านระบบการสอนทางไกล (VDO Conference) แบบสองทาง ระหว่างกรุงเทพกับราชบุรี
จัดตั้งศูนย์ประสานงานภาษาอังกฤษ เพื่อให้เป็นไปตามพันธกิจของคณะฯ ในด้านการเรียนรู้โดยใช้สองภาษา มีผู้เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษทั้งชาวต่างชาติและชาวไทยช่วยสนับสนุนการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ให้กับนักศึกษา บุคลากรของคณะฯ นับเป็นคณะเดียวใน มจธ. ที่มีหน่วยบริการภาษาอังกฤษภายในคณะฯ
กำหนดให้มีตำแหน่งผู้ช่วยสอน และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “พนักงานส่งเสริมการเรียนรู้” (พฤศจิกายน พ.ศ. 2544) ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีในวิชาต่างๆ ส่งเสริมการทำกิจกรรมของนักศึกษา รวมทั้งการสนับสนุนอาจารย์ในการพัฒนานักศึกษา
เปิดการเรียนการสอนแบบสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เริ่มสอนตั้งแต่ภาคการศึกษา 1/2542 โดยร่วมกับองค์กรเอกชนชั้นนำด้านไอที ได้แก่ IBM, Oracle และ 3 Com (ปัจจุบันเป็น HP) ในการกำหนดหลักสูตร Workshop ระดับปริญญาโท แผนวิชาชีพสายสัมมนาปฏิบัติการ ( IT Professional Workshop) กับองค์กร ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรที่รับรองร่วมกันจากคณะฯ และองค์กรที่ร่วมมือ
เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาษาอังกฤษ) เพื่อสร้าง นักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ในระดับมาตรฐานสากล
เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ภาษาอังกฤษ) นับเป็นคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดสอนครบทั้ง 3 ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
แต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Productivity Improvement) เพื่อร่วมกำหนดทิศทางและส่งเสริมการทำงานของบุคลากรร่วมกัน เพื่อนำคณะไปสู่การมีระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
จัดตั้งศูนย์วิจัยบริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service Research Center: ESRC) เพื่อวัตถุประสงค์ ให้การบริการด้านการศึกษา วิจัย และวิเคราะห์การใช้ประโยชน์และสมรรถนะของบริการ อิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ เช่น ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) และรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) การปฏิบัติงานในศูนย์แห่งนี้ทำให้คณาจารย์คณะฯ ได้มีส่วนร่วมช่วยแก้ไขปัญหาด้านไอทีของประเทศ และได้นำประสบการณ์นั้นมาถ่ายทอดให้กับนักศึกษา
เปิดบริการ e-Learning เพื่อให้นักศึกษาใช้ทบทวนบทเรียนโดยให้บริการในหลากหลาย รูปแบบ อาทิเช่น DVD และ CD การสอนแต่ละรายวิชา รวมทั้งการนำเสนอบันทึกการสอนบนเว็บไซต์ห้องเรียนออนไลน์ (SIT Classroom on Demand) ในหลักสูตรปริญญาตรีและปริญญาโท
จัดทำประติมากรรมสัญลักษณ์ประจำคณะชื่อ “Information Evolution” เป็นประติมากรรมที่ทำด้วยทองหล่อสัมฤทธิ์ (Bronze) ออกแบบและสรรค์สร้างโดยอาจารย์ชำเรือง วิเชียรเขตต์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) โดยมีความหมายว่า “ตราบใดที่โลกยังมีสิ่งมีชีวิต การสื่อสารที่ฉับไวของมวลมนุษย์ชาติจะครอบคลุมไปทั่วโลก”
เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยทางด้านธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และพัฒนารูปแบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดการค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ย้ายที่ทำการคณะฯ จากอาคารเรียนรวม 2 ชั้น 3 มาที่อาคารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) ร่วมกับคณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี เป็นหลักสูตรที่มีความสมดุลระหว่างชีววิทยาศาสตร์ทางด้าน จีโนมและเทคโนโลยีสารสนเทศ
เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เพื่อให้เสริมสร้างและพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ รวมทั้งเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศให้ก้าวหน้าไปได้ด้วยดี
รับมอบเครื่อง Mainframe Computer IBM z Series รุ่น z890 จากบริษัท ชายน์นิ่ง โอเปอเรชั่น จำกัด และบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เพื่อใช้ในการศึกษา วิจัยและการพัฒนาทักษะด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ
ขยายพื้นที่การใช้งานชั้น 4 ของอาคารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา และเพื่อการจัดประชุม/สัมมนาในโอกาสพิเศษต่างๆ ของคณะฯ
จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนางานวิจัย (Research Initiation Support and Promotion Section: RISP) เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนและผลักดันงานวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามเป้าหมายการพัฒนางานวิจัยตามกรอบการวิจัยแห่งชาติและทิศทางกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ 5 มุ่ง ของ มจธ. คือ “มุ่งสู่ ความเป็นเลิศในเทคโนโลยีและการวิจัย” และเพื่อให้สำเร็จตรงตามพันธกิจของคณะ “สรรหาและสร้างสรรค์องค์ความรู้ที่สามารถใช้สร้างความมั่งคั่งทางสารสนเทศในสังคมไทย”
สนับสนุนการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส โดยจัดสร้างพื้นที่ให้บริการเป็น Ubuntu Releases Mirror อย่างเป็นทางการแห่งแรกในประเทศไทย พร้อมเปิดให้บริการสำหรับผู้ที่สนใจ ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอฟร์ส Ubuntu ที่ http://ubuntu-releases.sit.kmutt.ac.th
ประกาศความสำเร็จและสิ้นสุดภารกิจในการต่อสู้กับความขาดแคลนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ใน งาน “12 ปี SIT ราชบุรี ฉลองความสำเร็จภารกิจราชบุรี” ณ โรงแรมเวสเทิร์นแกรนด์ จ.ราชบุรี
โอนย้ายศูนย์นวัตกรรมระบบ (System Innovation: SI) ซึ่งมีหน้าที่ ในการบริหารจัดการระบบการทำงาน มาสังกัดคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติด้านคอมพิวเตอร์ (Thailand Qualifications Framework for High Education: TQF)
จัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัย SIT-NTC Telecommunication Research Laboratory เพื่อผลักดันงานวิจัยด้านโทรคมนาคม ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. กับสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (TRIDI) ในสังกัดคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
ร่วมมือกับคณาจารย์ Illinois State University ในการวิจัยเกี่ยวกับ E-Services for Aging Society
ปรับเปลี่ยนเครื่อง Mainframe Computer IBM z Series รุ่น z890 ที่รับมอบจากบริษัท ชายน์นิ่ง โอเปอเรชั่น จำกัด และบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เป็นรุ่น z10 BC เพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงานให้สูงขึ้น
เจรจาความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัย Illinois State University (USA), York University, (Canada), University of Toronto(Canada) เรื่องการแลกเปลี่ยนนักศึกษา และอาจารย์เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ร่วมกัน
ร่วมหารือและเจรจาความร่วมมือทางวิชาการ การพัฒนาบุคลากรและการวิจัยกับ Chalmers is a university of technology ประเทศสวีเดน และ Aalborg University (AAU) ประเทศเดนมาร์ก
ลงนามความร่วมมือกับบริษัท IBM จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี (Exellent Center) เพื่อผลิตบุคลากรไอทีที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ป้อนสู่สังคมไอทีของไทยและสากล
จัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยวิศวกรรมข้อมูลและความรู้ D-Lab เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ค้นคว้า วิจัย ทางด้านเกี่ยวกับข้อมูล หรือสารสนเทศ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ข้อมูลสถิติ ข้อมูลทางธุรกิจ ข้อมูลทางชีวภาพ ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลกราฟิกส์ เป็นต้น และสร้างคลังรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ทดลอง พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ หรือซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน และการประยุกต์ข้อมูลด้านอื่น ๆ รวมทั้งการเป็นผู้สร้างต้นแบบความรู้เพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิงให้แก่นักวิจัยด้านข้อมูล
Core Value of SIT
“Empowering Boundless Digital Transformation”
SIT’s VISION
The Leading IT School in Thailand with Best Practice in Teaching and Learning,
Research, and Academic Services
เป็นคณะเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของประเทศที่มีความสมดุลในด้านการเรียนการสอน การวิจัย และบริการวิชาการ ที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศ
ปรัชญา วิสัยทัศน์และพันธกิจของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
SIT’s Philosophy: ” Do It Right “
โครงสร้างการบริหาร (Organization Chart)
ยุทธศาสตร์ “ต้นไม้”
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์แบ่งเป็น 5 ด้านประกอบด้วยระบบงานหลัก 3 เป้าหมายคือ Student Success, Research Visibility และ Academic (Technical) Service Excellence กระบวนการสนับสนุน 2 เป้าหมาย คือ Management and Financial self-sustainability และ HR Development and Planning พร้อมด้วยตัวชี้วัดที่ประเมินผลทั้งระยะสั้นระยะยาว แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ ซึ่งกระจายลงฝ่ายงานและผู้รับผิดชอบนำสู่การปฏิบัติ โดยมีรอบการประเมินที่ชัดเจน เพื่อทำการปรับปรุงแผนต่างๆต่อไป