หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
Master of Science Programme in Information Technology
ความเป็นมา
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การดำรงชีวิตและการทำงานจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ดำเนินไปอย่างสมาร์ต จากนโยบายประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ที่ขับเคลื่อนการพัฒนามูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการด้วยนวัตกรรม จึงต้องพัฒนาคนไทย 4.0 เพื่อรองรับการพัฒนาและการเจริญเติบโตขององค์การภาคต่าง ๆ
ดังนั้นคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโท ด้านวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (M.Sc. Information Technology) ที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ศาสตร์ด้านข้อมูล (Data Science) หรือนักวิเคราะห์ทางธุรกิจ (Business Analyst) เป็นต้น โดยเป็นหลักสูตรนอกเวลาราชการ มีให้เลือก 2 แบบ คือ เรียนภาคค่ำ หรือภาคเสาร์-อาทิตย์ เพื่อเปิดโอกาสให้บัณฑิตไม่จำกัดสาขาวิชา ได้พัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ควบคู่กับการทำงาน เพื่อนำผลการเรียนรู้ไปปฏิบัติงานจริงในองค์การของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
หลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหลักสูตร 2 ปี (4 ภาคการศึกษา) หลักสูตรรวม 36 หน่วยกิต สามารถเลือกเรียนสายวิชาการ หรือวิชาชีพ ตัวอย่างแผนการศึกษามีดังนี้
จำนวน 36 หน่วยกิต
– วิชาบังคับ (9 หน่วยกิต)
– วิชาบังคับ (3 หน่วยกิต)
– วิชาเลือก (6 หน่วยกิต)
แผน ก:
– วิทยานิพนธ์ (3 หน่วยกิต)
– วิชาเลือก (6 หน่วยกิต)
แผน ข:
– โครงการศึกษาเฉพาะด้าน หรือ สัมมนาเชิงปฏิบัติการ (3 หน่วยกิต)
– วิชาเลือก (6 หน่วยกิต)
แผน ก: วิทยานิพนธ์ (9 หน่วยกิต)
แผน ข:
– โครงการศึกษาเฉพาะด้าน หรือ สัมมนาเชิงปฏิบัติการ (3 หน่วยกิต) – วิชาเลือก (6 หน่วยกิต)
วิชาบังคับ (ลงเรียนอย่างน้อย 4 รายวิชา ส่วนอีก 2 วิชา สามารถนับเป็นวิชาเลือกได้)
- Enterprise Computing Platform
- Design and Analysis of Algorithms
- Management Information Systems
- Database Management Systems
- Systems Analysis and Design
- Networking
วิชาเลือก
1. Big Data Analytic
2. Artificial Intelligence
3. Internet of Thing (IoT)
4. Strategic Digital Transformation
5. Enterprise Resource Planning
6. Mobile Technology
7. Cloud Computing and Application
8. Data Mining
9. Multimedia Technology
10. Information Technology Control and Audit
11. Information Technology Security XML Technology
12. Human Computer Interaction
13. IT Project Management
14. Information System Metrics
15. Information Quality Management
16. Financial Strategies for IT
17. Telecommunication Technology
18. Internet Engineering
19. Object Oriented Technology
20. Database Technology
21.Knowledge Management
22.XML Technology
สัมมนาเชิงปฏิบัติการ
- Database Programming and Administration Workshop
- Data Warehouse Builder Workshop
- Information Technology Service Standard Workshop
- Office Networking Workshop
- Enterprise Networking Workshop
- Java Programming Workshop
- Information Technology Audit and Control Workshop
คุณสมบัติของผู้สมัคร
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขา
วิธีการคัดเลือกผู้เข้ารับการศึกษา
โดยวิธีสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์
ข้อเขียนประกอบด้วย
– ภาษาอังกฤษตามแนว TOEFL
– ความรู้ทั่วไปด้านคอมพิวเตอร์
จำนวนที่รับ
กลุ่ม 1 30 คน
กลุ่ม 2 70 คน
*ผู้สมัครสามารถเลือกได้ทั้ง 2 กลุ่ม โดยจัดลำดับก่อน-หลัง และไม่มีค่าสมัครเพิ่มเติม
โอกาสในการประกอบอาชีพ
- นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ผู้จัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ / ซอฟต์แวร์
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
- นักออกแบบระบบฐานข้อมูล
- นักเขียนโปรแกรม
- ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย เป็นต้น
วัน เวลาเรียน
หลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม (ให้ระบุกลุ่มเรียนตอนสมัครให้ชัดเจน)
- กลุ่ม 1: เรียนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 18.00 – 21.00 น. (วันเสาร์-วันอาทิตย์ บางครั้ง)
(รับเฉพาะผู้สมัครที่สนใจแผนการเรียนแผน ก. ทำวิทยานิพนธ์)
- กลุ่ม 2: เรียนวันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 08.00 – 19.00 น.
อัตราค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษา
ค่าบำรุงการศึกษา ภาคการศึกษาละ 16,000 บาท
ค่าลงทะเบียน หน่วยกิตละ 2,500 บาท
หมายเหตุ: สามารถสมัครขอทุนเพชรพระจอมฯ สำหรับผู้สมัครที่สำเร็จป.ตรีที่มี GPA ≥ 3.25
(รายละเอียด www.sit.kmutt.ac.th) (ทำวิจัยแผน ก.เท่านั้น)