ข้อมูลหลักสูตร
- ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาวิชาชีวสารสนเทศและชีววิทยาระบบ
- ภาษาอังกฤษ: Master of Science Program in ………
หลักสูตรนี้พัฒนาขึ้นโดยการประสานความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และทักษะที่แข็งแกร่งของคณาจารย์และนักวิจัยจากคณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าด้วยกัน เพื่อจัดทำหลักสูตรชีวสารสนเทศและชีววิทยาระบบให้เป็นหลักสูตรที่มีความสมดุล ระหว่างชีววิทยาระบบศาสตร์ทางด้านจีโนม และวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยการใช้การกระตุ้นการเรียนรู้ผ่านการทำโครงการแบบบูรณาการ เน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ลึกซึ้งภาคทฤษฎีและได้รับการฝึกทักษะให้เข้มแข็ง ซึ่งในการฝึกทักษะนี้นักศึกษาจะมีโอกาสได้ฝึกและสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงทั้งในและต่างประเทศ โดยนักศึกษาจะได้รับการฝึกจากผู้เชี่ยวชาญในห้องปฏิบัติการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีการใช้ชีวสารสนเทศและชีววิทยาระบบ ซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว นักศึกษาจะมีความสามารถและความพร้อมที่จะเข้าไปร่วมทำงานกับกลุ่มงานและกลุ่มวิจัยต่างๆ ที่ต้องการใช้เทคโนโลยีชีวสารสนเทศและชีววิทยาระบบได้ทันที เพื่อตอบสนองต่อความต้องการบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ สอดคล้องกับการพัฒนางานวิจัยในยุคหลังจีโนมที่มีมากยิ่งขึ้น เพื่อการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ การเกษตร และการแพทย์ ซึ่งปัจจุบันชีวสารสนเทศและชีววิทยาระบบกำลังเป็นเทคโนโลยีที่มีการขานรับจากอุตสาหกรรมต่างๆ ทุกแขนง และนักวิทยาศาสตร์ที่มีทักษะทางด้านนี้กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ
แผนการศึกษา
แผน ก (วิทยานิพนธ์) |
แผน ข (การค้นคว้าอิสระ) |
||
รายวิชาบังคับ |
15 หน่วยกิต |
15 หน่วยกิต |
|
รายวิชาสัมมนา |
2 หน่วยกิต |
2 หน่วยกิต |
|
รายวิชาเลือก |
9 หน่วยกิต |
9 หน่วยกิต |
|
วิทยานิพนธ์ |
12 หน่วยกิต |
– |
|
การค้นคว้าอิสระ |
– |
6 หน่วยกิต |
|
การฝึกงานภาคสนาม |
– |
6 หน่วยกิต |
|
รวม |
38 หน่วยกิต |
38 หน่วยกิต |
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
- ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีในสาขาวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาที่เกี่ยวข้องที่มีคะแนนสะสมเฉลี่ยสูงกว่า 2.75 หรือขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการประจำหลักสูตร
- ผ่านการคัดเลือกตามระเบียบข้อบังคับการคัดเลือกที่มหาวิทยาลัยกำหนด
โอกาสในการประกอบอาชีพ
- นักวิชาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ประจำตามสถาบันวิจัย หน่วยราชการและภาคอุตสาหกรรม
- นักวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพประจาตามสถาบันวิจัย หน่วยราชการและภาคอุตสาหกรรม
- นักวิเคราะห์และออกแบบผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
- ผู้ประกอบการ/เจ้าของธุรกิจทางเทคโนโลยีชีวภาพ
- ที่ปรึกษาโครงการหรือธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
- ผู้ตรวจสอบงานหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น ISO , GMP, HACCP
อัตราค่าบำรุงการศึกษาและค่าธรรมเนียม
- ค่าบำรุงการศึกษา ภาคการศึกษาละ 12,000 บาท
- ค่าลงทะเบียน หน่วยกิตละ 1,000 บาท
- ค่าลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ หน่วยกิตละ 2,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาอื่นๆ ปรับเปลี่ยนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
- มีทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่น
นักบริการการศึกษา
ถิรดา ยุกตะนันทน์
Mrs. Thirada Yuktanan
หัวหน้านักบริการการศึกษาทุกหลักสูตร
Thirada@sit.kmutt.ac.th
Tel: 0-2470-9848
อาภรณ์ เชี่ยวชาญเกษตร
Miss Aphorn Chiawchankaset
นักบริการการศึกษา สาขาวิชาชีวสารสนเทศและชีววิทยาระบบ
aphorn@sit.kmutt.ac.th
TEL: 0-2470-9862