SIT’s VISION
To be the leading IT School in Thailand in skills and character development for global digital industry and be a pioneer in digital academic service and research.
เป็นคณะเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของประเทศ ที่ปรับเปลี่ยนผู้เรียนให้มีทักษะและคุณลักษณะพร้อมสู่อุตสาหกรรมดิจิทัลสากล และเป็นผู้บุกเบิกบริการดิจิทัลเชิงวิชาการและวิจัย
ยุทธศาสตร์ “ต้นไม้”
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศกำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการดำเนินการขององค์กรที่ชื่อว่า “ต้นไม้” โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ “หยั่งรากลงดิน แผ่กิ่งก้านสาขา ชูยอดสู่ฟ้า บำรุงรักษายั่งยืน” และเผยแพร่สู่บุคลากรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคณะฯ โดยมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
- หยั่งรากลงดิน (พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2547) เน้นการจัดการเรียนการสอน และบริการวิชาการเพื่อสร้างสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเอง (Self-sustainable) ทั้งด้านวิชาการและการบริหาร โดยสร้างความตระหนักในการรับรู้รายได้ รายจ่าย และต้นทุนในการดำเนินการให้เกิดความคุ้มค่า ละใช้หลักการบริหารภาครัฐแนวใหม่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ปลูกฝังค่านิยมให้บุคลากรตื่นตัวต่อการเรียนรู้ รับรู้ต่อการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาฐานแห่งความรู้ที่เป็นความสามารถหลักทางวิชาการให้เกิดความหลากหลายเชิงสหวิทยาการ
- แผ่กิ่งก้านสาขา (พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2553) เน้นการขยายขีดความสามารถ และความหลากหลายในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง การบูรณาการการเรียนการสอนและหลักสูตร การบริการวิชาการสู่ชุมชนโรงเรียนและองค์กรภาครัฐ เพื่อสร้างเครือข่ายและความเข้มแข็งทางวิชาการที่สามารถสร้างความมั่งคั่งทางสารสนเทศในสังคมไทย และช่วยลดช่องว่างดิจิทัลในสังคมไทย รวมทั้งการส่งเสริมบุคลากรขององค์กรให้มีความสามารถเฉพาะทางที่โดดเด่น เป็นที่ยอมรับในศาสตร์เฉพาะตน และเป็นฐานความรู้ที่สำคัญในการสร้างผลงานวิจัยในอนาคต อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอน ที่สร้างบุคลากรคุณภาพและสอดคล้องการความเปลี่ยนแปลง และความต้องการของประเทศ
- ชูยอดสู่ฟ้า (พ.ศ. 2554 – พ.ศ. 2563) เน้นการยกระดับความสามารถและความเชี่ยวชาญในการสร้างผลงานวิจัย ให้เกิดศูนย์ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง การต่อยอดองค์ความรู้สู่การถ่ายทอด โดยใช้นวัตกรรมการจัดการแนวใหม่ การจัดการเรียนการสอนเพื่อรองรับทั้งการเรียนในระบบ นอกระบบ และการเรียนตามอัธยาศัย ให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ภายใต้ระบบและทรัพยากรทางการศึกษาที่ทันสมัย
- บำรุงรักษายั่งยืน (พ.ศ. 2564 – พ.ศ. 2570) ปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาให้ทันตามวิทยาการและเทคโนโลยี พัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้รองรับการเรียนรู้ได้ตามอัธยาศัยและเปิดกว้างกับผู้เรียนทุกกลุ่ม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและสามารถปรับตัวได้ต่อความพลิกผันของโลกอนาคต เปิดกว้างทางการศึกษาทุกกลุ่มผู้เรียน (aged & non-aged groups) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการเรียนรู้และประเมินผลแบบผสมผสานทั้ง Onsiteและ Online Learning ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของคณะ พัฒนากระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่เป็น Active Learning โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-Centered) เพื่อให้แต่ละกลุ่มผู้เรียนได้รับองค์ความรู้และสามารถนำความรู้นั้นไปสู่ภาคปฏิบัติได้ตามผลลัพธ์การเรียนรู้หรือต่อยอดตามสายอาชีพที่กำหนดไว้ สร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ร่วมกับประสบการณ์การทำงานและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในชั้นเรียนเพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความรู้ของผู้เรียน และสร้างจิตสำนึกของบุคลากรและผู้เรียนในการเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์จากทุกกิจกรรม
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์