Back

ข้อมูลหลักสูตร

  • ภาษาไทย:  หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)  วิศวกรรมซอฟต์แวร์เพื่อปัญญาประดิษฐ์

  • ภาษาอังกฤษ:  Master of Science Programme in Software Engineering for Artificial Intelligence

แผนการศึกษา

     จากวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย นำมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) โดยนำมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) ที่ประกอบด้วยผลลัพธ์การ เรียนรู้จำนวน 4 ด้าน คือ ความรู้ (Knowledge) ทักษะ(Skills) จริยธรรม (Ethics) และลักษณะบุคคล (Characters) มาเป็นข้อมูลส่วยหนึ่งในการพัฒนา PLOs โดยจำแนกผลลัพธ์การเรียนรู้เป็น 2 กลุ่ม ตามการศึกษาแผน 1 วิชาการ และแผน 2 วิชาชีพ ที่มีการจัดเรียงตามลำดับ 4 ด้านได้ดังนี้

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLO)

  • PLO-1 ประยุกต์ใช้ความรู้ของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ปัญญาประดิษฐ์ และวิทยาการข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาสำหรับการทำงาน
  • PLO-2 บูรณาการหลักการด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ปัญญาประดิษฐ์ และวิทยาการข้อมูลได้กับศาสตร์อื่นที่สนใจ เพื่อการปฏิบัติงานและแก้ปัญหา วิจัยเพื่อสร้างสิ่งใหม่เชิงวิชาการหรือวิชาชีพ
  • PLO-3 แสดงออกถึงการมีคุณธรรมจริยธรรม ระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ และจรรยาบรรณวิชาชีพ
  • PLO-4 แสดงออกถึงการมีความคิดอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ด้วยเหตุผล สื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อสนับสนุนการทำงาน
  • PLO5 แสดงออกถึงภาวะผู้นำและผู้ตาม การทำงานเป็นทีม ทัศนคติเชิงบวกและมุ่งมั่นในการทำงาน

จำนวนหน่วยกิต

  • วิชาบังคับ 21 หน่วยกิต
  • วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
  • วิชาวิทยานิพนธ์ 12 หน่วย

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLO)

  • PLO-1 ประยุกต์ใช้ความรู้ของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ปัญญาประดิษฐ์ และวิทยาการข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาสำหรับการทำงาน
  • PLO-2 บูรณาการหลักการด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ปัญญาประดิษฐ์ และวิทยาการข้อมูลได้กับศาสตร์อื่นที่สนใจ เพื่อการปฏิบัติงานและแก้ปัญหา พัฒนาระบบงานเพื่อองค์กรและวิชาชีพ
  • PLO-3 แสดงออกถึงการมีคุณธรรมจริยธรรม ระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ และจรรยาบรรณวิชาชีพ
  • PLO-4 แสดงออกถึงการมีความคิดอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ด้วยเหตุผล สื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อสนับสนุนการทำงาน
  • PLO-5 แสดงออกถึงภาวะผู้นำและผู้ตาม การทำงานเป็นทีม ทัศนคติเชิงบวกและมุ่งมั่นในการทำงาน

จำนวนหน่วยกิต

  • วิชาบังคับ 19 หน่วยกิต
  • วิชาเลือก 8 หน่วยกิต
  • วิชาสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 3  หน่วยกิต
  • โครงการศึกษาเฉพาะเรื่อง 6 หน่วยกิต

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLO)

  • PLO-1 ประยุกต์ใช้ความรู้ของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ปัญญาประดิษฐ์ และวิทยาการข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาสำหรับการทำงาน
  • PLO-2 บูรณาการหลักการด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ปัญญาประดิษฐ์ และวิทยาการข้อมูลได้กับศาสตร์อื่นที่สนใจ เพื่อการปฏิบัติงานและแก้ปัญหา พัฒนาระบบงานเพื่อองค์กรและวิชาชีพ
  • PLO-3 แสดงออกถึงการมีคุณธรรมจริยธรรม ระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ และจรรยาบรรณวิชาชีพ
  • PLO-4 แสดงออกถึงการมีความคิดอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ด้วยเหตุผล สื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อสนับสนุนการทำงาน
  • PLO-5 แสดงออกถึงภาวะผู้นำและผู้ตาม การทำงานเป็นทีม ทัศนคติเชิงบวกและมุ่งมั่นในการทำงาน

จำนวนหน่วยกิต

  • วิชาบังคับ 19 หน่วยกิต
  • วิชาเลือก 8 หน่วยกิต
  • วิชาสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 6  หน่วยกิต
  • โครงการศึกษาเฉพาะเรื่อง 3 หน่วยกิต

เอกสารเล่มหลักสูตร

หลักสูตรปรับปรุงปี 2568 (สำหรับนักศึกษา เข้าเรียนปี 2568)

หลักสูตรปรับปรุงปี 2563 (สำหรับนักศึกษา เข้าเรียนปี 2563 – 2567)

หลักสูตรปรับปรุงปี 2558 (สำหรับนักศึกษา เข้าเรียนปี 2558 – 2562)

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

วิชาบังคับ

  • SEA601 Modern Software Engineering Principles      
  • SEA602 Agile Software Development           
  • SEA603 Modern Software Project Management        
  • SEA604 Software Architecture        
  • SEA605 Mobile Application Design and Development             
  • SEA606 Software Testing 
  • SEA610 Programming for Artificial Intelligence and Data Science
  • SEA611 Data Science and Engineering Principles      
  • SEA612 Artificial Intelligence Fundamentals               
  • SEA613 Statistics for Artificial Intelligence and Data Science
  • SEA614 Machine Learning                 
  • SEA615 Data Visualization                                  
  • SEA702 Research Methodology
  • SEA704 Research Methodology for Practitioners

*วิชาบังคับสำหรับผู้เรียน แผน 1 วิชาการ    ** วิชาบังคับสำหรับผู้เรียน แผน 2 วิชาชีพ

วิชาเลือก

  • SEA616 Neural Network and Deep Learning                
  • SEA617  Natural Language Processing          
  • SEA618  Image Processing and Computer Vision      
  • SEA620  Big Data Infrastructure and Analysis              
  • SEA621  Data Mining          
  • SEA622 Geospatial Data Analysis  
  • SEA630  Cybersecurity with Artificial Intelligence     
  • SEA690 Selected Topic in Software Engineering for Artificial Intelligence I        
  • SEA691  Selected Topic in Software Engineering for Artificial Intelligence II     
  • SEA692  Selected Topic in Software Engineering for Artificial Intelligence III    
  • SEA693 Selected Topic in Software Engineering for Artificial Intelligence IV     
  • INT60401 Database Management
  • INT60402 Data Governance
  • INT610 Decision Support Systems
  • INT611 Business Financial Analysis
  • INT633 Multimedia Technology
  • INT642 Internet of Things and Application

หมายเหตุ: หรือวิชาเลือกอื่น ๆ ตามความเห็นชอบของคณะกรรรมการประจำหลักสูตร

วิชาเลือกกลุ่มสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

    สำหรับแผน 2 วิชาชีพ   โดยเลือกจากกลุ่มวิชา ดังนี้  แผน 2.1 บังคับเรียน 3 หน่วยกิต  แผน 2.2 บังคับเรียน 6 หน่วยกิต หรือตามความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำหลักสูตร

  • SEA670 Cloud Computing Workshop            
  • SEA671 Data Science on Cloud Workshop 
  • SEA672 UX/UI Workshop 
  • SEA673 Data Analytics and Visualization Workshop
  • SEA674 Artificial Intelligence for Business Workshop                
  • SEA678 Software Engineering for Artificial Intelligence Workshop I      
  • SEA679 Software Engineering for Artificial Intelligence Workshop II

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

    รับทั้งนักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใชภาษาไทยและ/หรือภาษาอังกฤษได้ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำหลักสูตร

    1. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ [จบตรงสาขา] หรือ
    2. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาใดสาขาหนึ่ง [จบไม่ตรงสาขา] ต้องมีความรู้และประสบการณ์การทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์มาแล้วอย่างน้อย 1 ปี และเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ได้ (กรณีผู้สมัครสำเร็จการศึกษาในสาขาที่ไม่ตรงกับคุณสมบัติที่กำหนด จะต้องแนบหนังสือรับรองการทำงานด้านคอมพิวเตอร์จากหน่วยงาน)
    3. มีผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษเป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เรื่องการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาโท พ.ศ. 2564 ทั้งนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับประกาศของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

    มีคุณสมบัติอื่นเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

สอบข้อเขียนโดยข้อเขียนประกอบด้วย

  • ความรู้ทั่วไปทางคอมพิวเตอร์
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • English Study for IT

โอกาสในการประกอบอาชีพ

  • นักวิเคราะห์ข้อมูล/นักวิทยาการข้อมูล (Data Analyst)
  • นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist)
  • วิศวกรข้อมูล/ปัญญาประดิษฐ์/การเรียนรู้ของเครื่อง (Data/AI/ML Engineer)
  • นักวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์/ด้านการเรียนรู้ของเครื่อง (AI/ML Researcher/Scientist)
  • นักพัฒนาระบบอัจฉริยะ (Smart System Developer)
  • นักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Software Application Developer)
  • นักวิชาการคอมพิวเตอร์/เทคโนโลยีสารสนเทศ (Computer/IT Technician)

อัตราค่าบำรุงการศึกษาและค่าธรรมเนียม

  • ค่าบำรุงการศึกษา ภาคการศึกษาละ 25,000 บาท
  • ค่าลงทะเบียน หน่วยกิตละ 2,200 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาอื่น ๆ ปรับเปลี่ยนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
  • มีทุนเพชรพระจอมสำหรับนักศึกษาที่มีผลการเรียนระดับปริญญาตรีดีเด่น ≥ 3.25 (รายละเอียด sit.kmutt.ac.th ) (ทำวิจัยแผน ก.เท่านั้น)
  •  

นักบริการการศึกษา

อาภรณ์ เชี่ยวชาญเกษตร
Aphorn Chiawchankaset

หัวหน้านักบริการการศึกษาทุกหลักสูตร
 aphorn@sit.kmutt.ac.th
 0-2470-9862

118
มะยุลา เดชศรฐิติวัฒน์
Mayula Dechsornthitiwat

นักบริการการศึกษา
สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์เพื่อปัญญาประดิษฐ์
 mayula@sit.kmutt.ac.th
 0-2470-9849