สร้างขึ้น เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ค้นคว้า วิจัย ทางด้านเกี่ยวกับข้อมูล หรือ สารสนเทศ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ข้อมูลสถิติ ข้อมูลทางธุรกิจ ข้อมูลทางชีวภาพ ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลกราฟิกส์ และ อื่น ๆ เป็นต้น และสร้างคลังรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ทดลอง พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ หรือซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน และ/หรือการประยุกต์ข้อมูลด้านอื่น ๆ รวมทั้งการเป็นผู้สร้างต้นแบบความรู้เพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิงให้แก่นักวิจัยด้านข้อมูล ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- สร้างคลังรวบรวมข้อมูล (Data Repository) เพื่อสนับสนุนงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกห้องปฏิบัติการ
- ค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่องานวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ หรือ ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน และ/หรือการประยุกต์ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (System development)
- สร้างความร่วมมือการวิจัยจากหน่วยงานวิจัยภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน
- Competition (organizing, participating)
- มีห้องปฏิบัติการที่มีเครื่องมือ อุปกรณ์พร้อมในการอบรม ฝึกทักษะการวิจัยTraining (organizing)
- จัดการอบรม/สัมมนาทางวิชาการในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
- Workshop/Symposium (organizing)
สร้างขึ้นเพื่อใช้ทดสอบคุณภาพของระบบโทรศัพท์ ผ่านเครือข่ายไอพี หรือ Voice over IP (VoIP) โดยสามารถวิเคราะห์ได้ทั้งในส่วนของคุณภาพสัญญาณเสียง และ คุณภาพของ packet ข้อมูลในเครือข่ายไอพี ซึ่งระบบการวิเคราะห์นี้สามารถทดสอบได้ ในสองส่วนหลัก คือ
1) อุปกรณ์สำหรับระบบ VoIP
2) คุณภาพสัญญาณจากผู้ให้บริการ
นอกจากนั้นแล้วยังสามารถให้บริการจำลอง และวิเคราะห์ระบบ VoIP เพื่อการใช้งานจริง ซึ่งเป็นบริการที่เปิดให้กับภาคเอกชนที่สนใจในการติดตั้งระบบ VoIP ที่ยังไม่แน่ใจว่าระบบที่จะจัดซื้อนั้น จะสามารถใช้งานได้ตามที่วางแผนไว้หรือไม่ ซึ่งทางห้องปฏิบัติการจะทำการสำรวจและวิเคราะห์ พร้อมทั้งจำลองระบบที่ใช้งานจริงเพื่อทดสอบระบบ VoIP ที่จะนำมาใช้ และสามารถช่วยในการออกแบบระบบ VoIP ก่อนการติดตั้งจริง ทำการ Fine Tune เพื่อให้ผู้ใช้สามารถมั่นใจในคุณภาพ และระบบการทำงานให้ได้ตามต้องการ อีกทั้งห้องปฏิบัติการยังจัดเตรียมอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ และ Tablet เพื่อรองรับการทำโครงการวิจัยของนักศึกษา และบุคลากรภายในคณะฯ
ห้องปฏิบัติการวิจัยที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ ค้นคว้า วิจัยทางด้านแนวทาง (Framework) ในการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านต่างๆ และปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการสร้าง พัฒนา และนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ รวมทั้งกระบวนการ ขั้นตอน และเทคนิคในการศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ และบริหารจัดการความต้องการของผู้ใช้ระบบสารสนเทศให้ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการในมุมมองของผู้ใช้งานที่นอกเหนือไปจากความสำเร็จในทางเทคนิคเท่านั้น นอกจากนี้ งานของ R-lab ยังครอบคลุมไปถึงงานวิจัยเชิงนโยบาย การวางแผน และการประเมินผลเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับต่างๆ เช่นแนวทางในการตรวจสอบ/การตรวจรับระบบสารสนเทศของหน่วยงาน การประเมินความสำเร็จของแอพพลิเคชันที่มีการพัฒนาขึ้น และงานของ R-lab จึงสามารถร่วมมือเชื่อมโยงและเติมเต็มงานด้านเทคนิคของห้องปฏิบัติการวิจัยอื่นๆของคณะฯ ให้มีความสมบูรณ์ของกระบวนการวิจัยครบถ้วน โดยการทำงานของห้องปฏิบัติการวิจัยนี้ มีการจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ระหว่างนักศึกษา นักวิจัย อาจารย์ และกิจกรรมทางการวิจัยเพื่อส่งเสริมโครงการวิจัยของนักศึกษา
Innovative Cognitive Computing (IC2) bring together researchers in the fields of cognitive computing, artificial intelligence, computational intelligence, neuroinformatics, and psychology.
Philosophy
The vision of IC2 is to enable us to “see” the (new) world in a different light. Thus enabling KMUTT to strive for technological excellence at the global level, and leading our graduates to have global skills at the forefront of technology.
Leading by example is an excellent way for personnel development. By having established toptier researchers guiding research development within KMUTT, we can disseminate the expertise to younger researchers more effectively.
IC2 (“I see too”) aims to bring together interdisciplinary and multidisciplinary researchers in the established/emerging fields of cognitive computing, artificial intelligence, computational intelligence, neuroinformatics, and psychology, with diverse focuses on basic theories as well as applications in industries, healthcare, and humanities in general.
The objectives are to have shared research, establish sustainable collaboration, with an aim for joint funding opportunities globally, and to train and exchange students and researcher.
The focus of IC2 is on the development of smart applications by leveraging natural language processing, machine learning and deep learning, information retrieval, data mining, HCI as well as psychology and human behavior.