ข้อมูลหลักสูตร
- ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศอัจฉริยะทางธุรกิจ
- ภาษาอังกฤษ: Master of Science Programme in Intelligent Business Information System
หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร ?
- ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนสายงานงานวิชาชีพมาเป็นนักวิเคราะห์ระบบ หรือนักบริหารสารสนเทศทางธุรกิจ หรือผู้ประกอบการดิจิทัล
- Upskill Reskill ทางด้านระบบสารสนเทศอัจฉริยะทางธุรกิจ
- อยากเพิ่มพูนความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถประยุกต์ใช้เข้ากับธุรกิจ
แผนการศึกษา
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศอัจฉริยะทางธุรกิจ เป็นหลักสูตร 2 ปี (4 ภาคการศึกษา) มี 2 แผน คือ แผนวิชาการ และแผนวิชาชีพ จากความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ คุณธรรมจริยธรรมที่วิเคราะห์จากความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญของหลักสูตร รวมถึงแผนการดำเนินงานจัดการศึกษาที่มีทั้งแผนวิชาชีพ และวิชาการ ทำให้สามารถกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ และผลลัพธ์การเรียนรู้ย่อยของหลักสูตรได้ดังต่อไปนี้
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLO)
- PLO1: จัดการระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
- 1A ออกแบบระบบสารสนเทศองค์กร จากการวิเคราะห์หลักการ และสถาปัตยกรรมระบบ
- 1B แปลความหมายสารสนเทศที่ได้มา โดยใช้เทคนิคการจัดการและ วิเคราะห์ข้อมูล
- 1C ประเมินและเลือกระบบงานและเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อธุรกิจได้
- PLO2: บูรณาการเทคโนโลยีระบบสารสนเทศในการจัดการและแก้ปัญหาทางธุรกิจ
- 2A เลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศทางธุรกิจ โดยสามารถวิเคราะห์ฟังก์ชันงานเชิงกระบวนงาน และระบุประเด็นปัญหา เพื่อนำไปสู่การสร้างวิธีการแก้ปัญหาได้
- 2B บูรณาการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กับองค์ความรู้เชิงธุรกิจ เพื่อวิเคราะห์ จัดการปัญหา หรือ ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้
- PLO3: ปฏิบัติงานโดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางธุรกิจได้อย่างมีความเป็นมืออาชีพตามวิชาชีพของตน
- Sub-PLO3.1A (แผน 1): วางแผน ดำเนินงานการวิจัยได้ตามระเบียบวิธีวิจัยมาตรฐาน เพื่อสร้างสิ่งใหม่ทางด้านระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
- Sub-PLO3.1B (แผน 1): สื่อสารทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพได้อย่างเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและเป็นไปตามตามระเบียบวิธีวิจัยมาตรฐาน
- Sub-PLO3.1C (แผน 1): ปฏิบัติงานโดยเน้นการค้นคว้าวิจัย ยึดมั่นในจริยธรรมและเสริมสร้างประโยชน์ที่ยั่งยืนต่อส่วนรวม
จำนวนหน่วยกิต
- วิชาบังคับ 21 หน่วยกิต
- วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
- วิชาวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
- Sub-PLO3.2A (แผน 2): วางแผน ดำเนินงานตามแบบแผนการวิจัยเบื้องต้นเพื่อการแก้ปัญหาทางธุรกิจ
- Sub-PLO3.2B (แผน 2): สื่อสารกับบุคคลที่เกี่ยวข้องในทุกระดับได้อย่างเหมาะสม
- Sub-PLO3.2C (แผน 2): ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้โดยยึดมั่นในจริยธรรมและหมั่นพัฒนาตนเองเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมที่ยั่งยืน
จำนวนหน่วยกิต
- วิชาบังคับ 19 หน่วยกิต
- วิชาเลือก 8 หน่วยกิต
- วิชาสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 3 หน่วยกิต
- โครงการศึกษาเฉพาะเรื่อง 6 หน่วยกิต
- Sub-PLO3.2A (แผน 2): วางแผน ดำเนินงานตามแบบแผนการวิจัยเบื้องต้นเพื่อการแก้ปัญหาทางธุรกิจ
- Sub-PLO3.2B (แผน 2): สื่อสารกับบุคคลที่เกี่ยวข้องในทุกระดับได้อย่างเหมาะสม
- Sub-PLO3.2C (แผน 2): ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้โดยยึดมั่นในจริยธรรมและหมั่นพัฒนาตนเองเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมที่ยั่งยืน
จำนวนหน่วยกิต
- วิชาบังคับ 19 หน่วยกิต
- วิชาเลือก 8 หน่วยกิต
- วิชาสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 6 หน่วยกิต
- โครงการศึกษาเฉพาะเรื่อง 3 หน่วยกิต
เอกสารเล่มหลักสูตร
หลักสูตรปรับปรุงปี 2568 (สำหรับนักศึกษา เข้าเรียนปี 2568-2572)
หลักสูตรปรับปรุงปี 2563 (สำหรับนักศึกษา เข้าเรียนปี 2563 – 2567)
หลักสูตรปรับปรุงปี 2558 (สำหรับนักศึกษา เข้าเรียนปี 2558 – 2562)
รายวิชาหลักสำหรับทุกกลุ่มสายอาชีพที่เกี่ยวข้อง
- BIS601 Design Thinking
- BIS602 Business Process Management and Transformation
- BIS603 Business Data Management
- BIS604 Data Visualization
- BIS605 Intelligent Business Analytics
- BIS606 Generative AI for Business
- BIS607 AI for Business
- BIS608 Digital Corporate Strategy
- BIS609 Strategies for Digital Product Development and Marketing
- BIS610 Digital Infrastructure
- BIS611 Enterprise Architecture
รายวิชาเฉพาะในกลุ่มสายอาชีพหลัก
- BIS623 Business Financial Analysis
- BIS627 Fintech and Digital Platform
- BIS629 Big Data Analytics
- BIS624 Data Mining
- BIS626 Supply Chain Management
- BIS620 Decision Support System
- BIS621 IT Project Management
- BIS622 IT Control and Audits
- BIS625 Digital Start-up an entrepreneur
- BIS628 Digital Business Innovation
- BIS652 Digital Service Provisioning Management
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขา
การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
โดยวิธีสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ โดยข้อเขียนประกอบด้วย
- ความรู้ทั่วไปทางคอมพิวเตอร์
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- English Study for IT
- Essay เชิงสัมภาษณ์ (กรณีสอบออนไลน์)
โอกาสในการประกอบอาชีพ
หลักสูตรได้มีการจัดกลุ่มรายวิชาเฉพาะในกลุ่มอาชีพหลักที่สะท้อนองค์ความรู้และทักษะเฉพาะในกลุ่มอาชีพนั้น ๆ โดย
- กลุ่มนักวิเคราะห์ข้อมูลและระบบ เน้นความรู้และทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ
- กลุ่มนักบริหารจัดการ เน้นความรู้และทักษะทางด้านการบริหารจัดการโครงการหรือบริหารกระบวนการต่าง ๆ และการตัดสินใจเชิงธุรกิจ
- กลุ่มผู้ประกอบการ เน้นความรู้และทักษะทางด้านการสร้างองค์กรเริ่มต้นตั้งแต่ start-up ไปจนถึงการบริหารจัดการธุรกิจดิจิทัล และรวมถึงการสร้างนวัตกรรมดิจิทัลต่าง ๆ
- นักพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่องานธุรกิจ
- นักวิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจ
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบฐานข้อมูล
- ผู้ตรวจสอบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ผู้จัดการโครงการระบบสารสนเทศทางธุรกิจ และหรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ
- นักพัฒนาเว็บไซต์ประยุกต์ทางธุรกิจ
- ผู้ประกอบการธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์
อัตราค่าบำรุงการศึกษาและค่าธรรมเนียม
- ค่าบำรุงการศึกษา 18,000 บาท
- ค่าลงทะเบียน 2,500 บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาอื่น ๆ ปรับเปลี่ยนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
- มีทุนเพชรพระจอมสำหรับนักศึกษาที่มีผลการเรียนระดับปริญญาตรีดีเด่น ≥ 3.25 (รายละเอียด sit.kmutt.ac.th ) (ทำวิจัยแผน ก.เท่านั้น)
นักบริการการศึกษา
Aphorn Chiawchankaset
หัวหน้านักบริการการศึกษาทุกหลักสูตร
aphorn@sit.kmutt.ac.th
0-2470-9862

Mayula Dechsornthitiwat
นักบริการการศึกษา
สาขาวิชาระบบสารสนเทศอัจฉริยะทางธุรกิจ
mayula@sit.kmutt.ac.th
0-2470-9849