Core Value of SIT
“Empowering Boundless Digital Transformation”
SIT’s VISION
The Leading IT School in Thailand with Best Practice in Teaching and Learning, Research, and Academic Services
เป็นคณะเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของประเทศที่มีความสมดุลในด้านการเรียนการสอน การวิจัย และบริการวิชาการ ที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศ
ปรัชญา วิสัยทัศน์และพันธกิจของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปรัชญา : ” ทำ “
นิยาม ทำ หมายถึง ทำ ทำในทันที ทันเวลา ทำอย่างมีหลักวิชาการ ทำอย่างมีคุณภาพ ทำอย่างสม่ำเสมอ ทำด้วยความยุติธรรม มีคุณธรรม จริยธรรม และโปร่งใส
SIT’s Philosophy: ” Do It Right “
Definition: Doing it right depends on five crucial criteria (The Five P’s ):
Prompt actions, Punctuality, Professionalism, Perseverance, and Principles.
พันธกิจ
- สร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเอง (Self – Sustainable) ทั้งด้านวิชาการและการบริหาร
- ผลิตบัณฑิตที่เป็นคนดีและเก่งมีความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- เป็นตัวอย่างของการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในที่ทำงานและการศึกษาโดยใช้ภาษาไทยควบคู่กับภาษาอังกฤษ
- สรรหาและสร้างสรรค์องค์ความรู้ที่สามารถใช้สร้างความมั่งคั่งทางสารสนเทศในสังคมไทย
- ช่วยลดช่องว่างดิจิทัลในสังคมไทย
SIT’s Missions:
- To be self – sustainable in both IT education and IT management.
- To equip graduates with a wealth of knowledge in IT, as well as, instill high ethical standards.
- To be a role model of a bilingual learning society.
- To encourage and support research in IT which will create information wealth for Thai society.
- To narrow the digital divide in Thai society.


โครงสร้างการบริหาร (Organization Chart)
ยุทธศาสตร์ “ต้นไม้”
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศกำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการดำเนินการขององค์กรที่ชื่อว่า “ต้นไม้”
โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
“หยั่งรากลงดิน แผ่กิ่งก้านสาขา ชูยอดสู่ฟ้า บำรุงรักษายั่งยืน”
และเผยแพร่สู่บุคลากรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคณะฯ โดยมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
หยั่งรากลงดิน (พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2547) เน้นการจัดการเรียนการสอน และบริการวิชาการเพื่อสร้างสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเอง (Self-sustainable) ทั้งด้านวิชาการและการบริหาร โดยสร้างความตระหนักในการรับรู้รายได้ รายจ่าย และต้นทุนในการดำเนินการให้เกิดความคุ้มค่า ละใช้หลักการบริหารภาครัฐแนวใหม่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ปลูกฝังค่านิยมให้บุคลากรตื่นตัวต่อการเรียนรู้ รับรู้ต่อการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาฐานแห่งความรู้ที่เป็นความสามารถหลักทางวิชาการให้เกิดความหลากหลายเชิงสหวิทยาการ
แผ่กิ่งก้านสาขา (พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2553) เน้นการขยายขีดความสามารถ และความหลากหลายในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง การบูรณาการการเรียนการสอนและหลักสูตร การบริการวิชาการสู่ชุมชนโรงเรียนและองค์กรภาครัฐ เพื่อสร้างเครือข่ายและความเข้มแข็งทางวิชาการที่สามารถสร้างความมั่งคั่งทางสารสนเทศในสังคมไทย และช่วยลดช่องว่างดิจิทัลในสังคมไทย รวมทั้งการส่งเสริมบุคลากรขององค์กรให้มีความสามารถเฉพาะทางที่โดดเด่น เป็นที่ยอมรับในศาสตร์เฉพาะตน และเป็นฐานความรู้ที่สำคัญในการสร้างผลงานวิจัยในอนาคต อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอน ที่สร้างบุคลากรคุณภาพและสอดคล้องการความเปลี่ยนแปลง และความต้องการของประเทศ
ชูยอดสู่ฟ้า (พ.ศ. 2554 – พ.ศ. 2563) เน้นการยกระดับความสามารถและความเชี่ยวชาญในการสร้างผลงานวิจัย ให้เกิดศูนย์ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง การต่อยอดองค์ความรู้สู่การถ่ายทอด โดยใช้นวัตกรรมการจัดการแนวใหม่ การจัดการเรียนการสอนเพื่อรองรับทั้งการเรียนในระบบ นอกระบบ และการเรียนตามอัธยาศัย ให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ภายใต้ระบบและทรัพยากรทางการศึกษาที่ทันสมัย
บำรุงรักษายั่งยืน (พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป) เน้นการสร้างขีดความสามารถและความเชี่ยวชาญ ตามนโยบายที่ทางคณะได้กำหนด เป็นตัวอย่างของการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่พร้อมเปลี่ยนแปลงและปรับตัวทางการศึกษา โดยเน้นการเรียนการสอนที่ควบคู่กับการวิจัย และการให้บริการวิชาการสู่สังคมเชิงบูรณาการ เป็นประโยชน์ต่อกันและกันทั้งสามด้าน ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษาไทยควบคู่กับภาษาอังกฤษเป็นพื้นฐานทั้งนี้ คณะฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาองค์กรที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ทั้ง 5 ด้าน ตามเป้าหมาย 6 1 Flagships และเป้าหมาย KMUTT Roadmap 2020 ของมหาวิทยาลัยฯ ที่เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทาง ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ เศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่มีความเปลี่ยนแปลง ตลอด โดยคณะฯตั้งปณิธานในการรักษา และยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยคงจำนวนนักศึกษาที่ใกล้เคียงกับจำนวนเดิม พร้อมทั้งส่งเสริมการทำวิจัยให้มากขึ้น รักษาระดับการบริการวิชาการแก่สังคมให้มีคุณภาพ และส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์แบ่งเป็น 5 ด้านประกอบด้วยระบบงานหลัก 3 เป้าหมายคือ Student Success, Research Visibility และ Academic (Technical) Service Excellence กระบวนการสนับสนุน 2 เป้าหมาย คือ Management and Financial self-sustainability และ HR Development and Planning พร้อมด้วยตัวชี้วัดที่ประเมินผลทั้งระยะสั้นระยะยาว แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ ซึ่งกระจายลงฝ่ายงานและผู้รับผิดชอบนำสู่การปฏิบัติ โดยมีรอบการประเมินที่ชัดเจน เพื่อทำการปรับปรุงแผนต่างๆต่อไป