News and Event
Research Announcement
ทุนเพื่อขอรับการยกเว้นค่าหน่วยกิตระดับบัณฑิตศึกษา แผน ก.วิทยานิพนธ์ (ภาคการศึกษาที่ 1/2566)
ทุนยกเว้นค่าหน่วยกิต เพื่อสนับสนุนการศึกษาวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาโท ทุกหลักสูตรที่ศึกษาใน แผน ก.
โดยมี ทุน 2 ประเภท ได้แก่
1.ทุนยกเว้นหน่วยกิต 3 หน่วยกิต สำหรับนักศึกษาที่ เรียน แผน ก. ในภาคการศึกษาที่ 3 (ปี 2 ภาคการศึกษาที่ 1)
2.ทุนยกเว้นหน่วยกิต 9 หน่วยกิต สำหรับนักศึกษาที่ เรียน แผน ก. ในภาคการศึกษาที่ 4 (ปี 2 ภาคการศึกษาที่ 2)
รายละเอียด
1.ทุนยกเว้นหน่วยกิต 3 หน่วยกิต
1.1 ทุนให้เปล่า โดยการยกเว้นค่าหน่วยกิตวิทยานิพนธ์จำนวน 3 หน่วยกิต สำหรับการลงทะเบียนครั้งที่ 1 ของนักศึกษาที่ได้เข้าศึกษา แผน ก. วิทยานิพนธ์ในหลักสูตรปริญญาโทของคณะฯ
ในกรณีที่นักศึกษาขอทุน (ทุนยกเว้นหน่วยกิต 3 หน่วยกิต)ในภาคการศึกษาที่ 3 สามารถขอทุนต่อเนื่องในภาคการศึกษาที่ 4 (ทุนยกเว้นหน่วยกิต 9 หน่วยกิต)
1.2 ในกรณีที่ นักศึกษาได้รับทุนยกเว้นหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ และเปลี่ยนไปศึกษาในแผนการศึกษา ข หรือ workshop แทน ในเทอมที่รับทุน ***นักศึกษาต้องแจ้งคำร้องมาที่คณะฯ เพื่อขอถอนการลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ทั้งหมดที่ได้รับทุน และต้องชำระค่าลงทะเบียนเพิ่มสำหรับวิชาที่ลงทะเบียนในแผนการศึกษาใหม่นั้น ***
2.ทุนยกเว้นหน่วยกิต 9 หน่วยกิต
ทุนให้เปล่า โดยการยกเว้นค่าทุนยกเว้น 9 หน่วยกิต สำหรับนักศึกษาที่ขอรับทุนเพื่อการศึกษาแผน ก. วิทยานิพนธ์ในหลักสูตรปริญญาโทของคณะฯ ในภาคการศึกษาที่ 4
คุณสมบัติของผู้สมัครรับทุน
ทุนยกเว้นหน่วยกิต 3 หน่วยกิต
1.มีคะแนนสะสมเฉลี่ย (GPA) ไม่น้อยกว่า 3.25
2.เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่กำลังจะเริ่ม เรียน แผน ก. ในภาคการศึกษาที่ 3 (ภาคการศึกษา 1/2566)
3.ต้องได้รับการรับรองจากอาจารย์ที่จะเป็นที่ปรึกษางานวิจัยโดยการลงนามในเอกสาร
ทุนยกเว้นหน่วยกิต 9 หน่วยกิต
1.เป็นนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา แผน ก. ที่สอบผ่านหัวข้อวิทยานิพนธ์ในภาคการศึกษาที่ 3 (ภาคการศึกษา 2/2565) เพื่อขอรับการยกเว้นหน่วยกิตได้เฉพาะภาคการศึกษาที่ 4 (ภาคการศึกษา 1/2566) เท่านั้น
กระบวนการสมัครขอรับทุนยกเว้นค่าหน่วยกิตดังนี้
1.1 นักศึกษายื่นใบสมัครขอรับทุนยกเว้นหน่วยกิต 3 หน่วยกิตตั้งแต่บัดนี้จนถึงวัน 20 เมษายน 2566
(นักศึกษาที่ต้องการขอรับทุน ควรขอคำปรึกษาติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษาและหัวข้อวิจัย ภายในเดือน เมษาย 2566)
1.2.นักศึกษายื่นใบสมัครขอรับทุนยกเว้นหน่วยกิต 9 หน่วยกิตที่ลงนามโดย อ.ที่ปรึกษา ได้ที่คุณปวีณา มงคลพงศ์สิริ
ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวัน 19 พฤษภาคม 2566
2.คณะกรรมการ พิจารณาคัดเลือกผู้ได้รับทุน วัน 26 พฤษภาคม 2566
3.คณะประกาศรายชื่อผู้ได้รับอนุมัติทุนวันที่ 12 มิถุนายน 2566 หรือจนกว่าได้รับการอนุมัติจาก มจธ.
ติดต่อสอบถาม หรือ ส่งใบสมัครที่คุณปวีณา มงคลพงศ์สิริ ผ่านทาง
email: paweena@sit.kmutt.ac.th หรือทาง
line ID: paopawey
ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อที่ email: paweena@sit.kmutt.ac.th
แบบฟอร์ม
ทุนยกเว้นหน่วยกิต 3 หน่วยกิต: MSc Application form_3 credits 20190920bw
ทุนยกเว้นหน่วยกิต 9 หน่วยกิต:MSc PhDApplication form_9 Credits
ขอเชิญร่วมนำเสนอผลงานวิชาการ ในการสัมมนาวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ประจำปี 2566
เรื่อง “Digital Transformation in Cultural Heritage Management for Library”
คุณสมบัติ
• นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย บุคลากรในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ห้องสมุด จดหมายเหตุ เทคโนโลยีสารสนเทศ และผู้สนใจ
รางวัล
• รางวัลดีเด่น จำนวน 2 รางวัล (รางวัลละ 5,000 บาท) ผู้ได้รับการคัดเลือกนำเสนอผลงานวิชาการทุกท่านจะได้รับใบประกาศนียบัตร
วิธีการส่งผลงานวิชาการ
• ส่งผลงานวิชาการ พร้อมแบบรับรองการนำเสนอผลงานวิชาการ ได้ที่ rldbkk.nlt@gmail.com
สามารถดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติมโดยการสแกน QR-Code ด้านล่าง หรือที่ shorturl.asia/LCRcg
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
• กลุ่มวิจัยและพัฒนาห้องสมุด สำนักหอสมุดแห่งชาติ โทร. 0-2280-9828 – 32 ต่อ 646
โครงการประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารจัดการ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2566 ในรูปแบบ Hybrid
National Conference on Administration and Management
นวัตกรรมการจัดการสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและสังคม
วันที่ 27 พฤษภาคม 2565
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กำหนดการ
– เปิดรับบทความ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 15 มีนาคม 2566
– แจ้งผลการพิจารณาบทความ ภายในวันที่ 10 เมษายน 2566
– ส่งบทความฉบับแก้ไข ภายในวันที่ 17 เมษายน 2566
– จัดการประชุมวิชาการ วันที่ 27 พฤษภาคม 2566
การจัดการประชุมวิชาการด้านการบริหารจัดการ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2566 มีวัตถุประสงค์ในการจัดงาน ดังนี้
1) เพื่อเป็นเวทีให้กับนักวิจัยในการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านการบริหารธุรกิจและการจัดการในระดับประเทศ
2) เพื่อส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมด้านการบริหารธุรกิจและการจัดการ และการประยุกต์ใช้ผลการวิจัยให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการบริหารธุรกิจ การจัดการองค์กร และช่วยพัฒนาสังคมโดยรวมให้ดียิ่งขึ้น
3) เพื่อเป็นช่องทางให้กับผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อันจะช่วยส่งเสริมการสร้างความร่วมมือหรือเครือข่ายวิจัย วิชาการ หรือวิชาชีพในอนาคตได้อีกทางหนึ่งด้วย
ลักษณะกิจกรรม
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารจัดการ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2566 เป็นการจัดประชุมฯ ในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้นักวิจัยได้นำเสนอผลงานวิจัยด้านการบริหารจัดการในสาขาวิชาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1) สาขาวิชาการบัญชี/การเงิน
2) สาขาวิชาการตลาด
3) สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
4) สาขาวิชาระบบสารสนเทศ
5) สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว/MICE
6) สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรธุรกิจ
7) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์/บริหารรัฐกิจ
8) สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90112
โทร 0 7428 7840 แฟกซ์ 0 7428 7890 Email: ncam.psu@gmail.com
Website: http://ncam.fms.psu.ac.th
ตามที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้อนุมัติทุนการศึกษาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ ทุนยกเว้นค่าหน่วยกิตระดับบัณฑิตศึกษา 1/2565 แล้วนั้น
มีนักศึกษาที่ได้รับอนุมัติทุน(ยกเว้นหน่วยกิต 9 หน่วยกิต)จำนวน 1 ทุน ใน สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
The 11th International Conference on Advances in Information Technology (IAIT2020)
The theme of the conference is “Digital Transformation and Innovation for Smart Business and Society”
1-3 Jul 2020
KMUTT, Bangkok Thailand
Important Dates
DATE OF CONFERENCE: 1ST – 3RD JULY 2020
FULL MANUSCRIPT SUBMISSION DEADLINE: 9TH MARCH 2020
NOTIFICATION OF ACCEPTANCE: 28TH APRIL 2020
CAMERA READY MANUSCRIPTS: 15TH MAY 2020
http://www.iait-conf.org/2020/
โครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) รุ่นที่ 1
ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ประจำปีงบประมาณ 2562
วันที่ 2 – 6 กันยายน 2562
ณ ห้องประชุม X04 ชั้น 10 อาคาร KX
(KMUTT Knowledge Exchange for Innovation Center)
อบรมฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย รับจำนวนจำกัด เพียง 60 ท่าน
เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2562
สำหรับผลการพิจารณาคัดเลือกผู้มีสิทธิ์เข้ารับการฝึกอบรม จะประกาศให้ทราบในวันที่ 20 สิงหาคม 2562 ทางเว็บไซต์ http://www.kmutt.ac.th/rippc/workshopnewres
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: คุณมลฤดี สุคนธทรัพย์
E-mail: research@kmutt.ac.th
โทรศัพท์: 0-2470-9627
“Prospects and Challenges of Deep Learning: Theory and Practice” โดย
Prof. Dr. Sung-Bae Cho,
Department of Computer Science, Yonsei University, Seoul, ประเทศเกาหลี
วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม 2560 เวลา 13.00 น. – 16.00 น.
ณ ห้อง training 4/1 ชั้น 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ.
สนใจเข้าร่วม (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ลงทะเบียน ที่ https://goo.gl/forms/aGjU6zQSkzxJcPIO2
เพื่อสำรองที่นั่ง ภายในวันที่ 19 ธันวาคม 2560
ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ คุณปวีณา มงคลพงศ์สิริ email:paweena@sit.kmutt.ac.th
_Abstract: _ Recently, deep learning opens another renaissance of artificial intelligence that is a long dream of human-beings. There are four representative models for deep learning, and two of them can be convolutional neural networks and recurrent neural networks. In this talk, I will give the general idea of both methods, and discuss about the prospects and challenges. Especially, to work out realistic problems, we need a hybrid architecture of several deep learning models. I will also present a generative model via an adversarial process gets a great attention due to the amazing demonstration of performance. It can simultaneously train a generative model to capture the data distribution, and discriminative model to estimate the probability that a sample came from the training data. In this talk, we present a new method of transfer-generative adversarial network (tGAN) with auto-encoders to detect anomaly in malicious software (malware) for computer security. Experiments with the malware dataset from the Kaggle Microsoft malware classification challenge (https://www.kaggle.com/c/malware-classification) show that the tGAN achieves 95.74% average classification accuracy which is higher than accuracy of other state-of-the-art methods and increases the learning stability.
_Short Bio_
Dr. Cho received the Ph.D. degree in computer science from KAIST (Korea Advanced Institute of Science and Technology), Korea, in 1993. He was an Invited Researcher of Human Information Processing Research Laboratories at Advanced Telecommunications Research (ATR) Institute, Japan from 1993 to 1995, and a Visiting Scholar at University of New South Wales, Australia in 1998. He was also a Visiting Professor at University of British Columbia, Canada from 2005 to 2006. Since 1995, he has been a Professor in Department of Computer Science, Yonsei University, Korea. Dr. Cho has been serving as an associate editor for several journals including IEEE Transactions on CI and AI on Games (2009-present) and IEEE Transactions on Fuzzy Systems (2013-present). He was also the chair of Games Technical Committee, IEEE CIS (2009-2010), and Student Games-based Competition Subcommittee, IEEE CIS (2011-2012). He is a member of Board of Government (BoG) of Asia Pacific Neural Networks Assembly (APNNA) (2011-present), and a member of three technical committees in IEEE CIS such as Emergent Technologies, Computational Finance and Economics, and Games. His research interests include hybrid intelligent systems, soft computing, evolutionary computation, neural networks, pattern recognition, intelligent man-machine interfaces, and games. He has published over 230 journal papers, and over 680 conference papers.
ทุนคณะ
Research Boosting Grant
Introduction:
The School of Information Technology (SIT) aims to continuously increase the quantity and quality of the Faculty’s research. SIT, therefore, has established research boosting grants for period 2 (2022-2026), to help graduate students from all nationalities with high research potential. It is closely supervised by the SIT advisors. There are a limited number of scholarships.
General Conditions The details of Research Boosting Grant are as follows: 1. Full scholarships according to the duration of the program (2 years for Master’s degree and 3 years for Doctoral degree, counting from the date of registration in the first semester of the program)
1.1 Ancillary Fee/ Semester (THB) specified in each program
1.2 Tuition fee/ Credit (THB) specified in the program but not exceeding the number of credits necessary for completing the course of the program
1.3 Other necessary expenses of the program, such as article processing charge, academic conference registration, etc.
Eligibility for Scholarship Applicants
– Apply for a scholarship and pass the selection process to be a master’s or doctoral student of the School of Information Technology (SIT).
– Must have a SIT advisor who is certified and is recognized by the SIT Research Support Committee.
– Students applying for scholarships must have a GPA of at least 3.5 at the master’s level or 3.25 at the bachelor’s level.
– For applicants who have completed a master’s degree, their academic work must be published or presented at a national or international academic journal/ conference. (Considering from the quality of published works)
– Master’s degree students who change their status to doctoral students must receive high academic honors, and/ or in the top 10% of their undergraduate class, or have good grades and have works published or presented at academic meetings accepted by the Thailand Science Research and Innovation (TSRI). Based on the quality of published works
– Able to study and research full time while receiving this scholarship
– Any other cases are at the discretion of the Dean, with the approval of the SIT Research Support Committee. All such decisions are final.
Application Process – Enroll to study in graduate programs of the School of Information Technology, KMUTT through normal channels.
– Submit an application for a research scholarship.
– SIT Research Support Committee considers the entrance examination results and information from the scholarship application.
– Notify applicants who have been considered for an interview from the committee.
– Announce the scholarship recipients.
– Those who receive scholarships for this project must enter into a Scholarship Contract.
Time to Apply: Every semester
Value of Funding: Ancillary, Tuition fees, and Other necessary expenses of the program
Required Documents for an Application – Scholarship Application with one 1-inch straight-faced photo attached – Bachelor’s/Master’s Transcription – Past academic works – Other information required to be considered for a scholarship
Contact: Miss Paweena Mongkolpongsiri Tel. 0-2470-9815, paweena@sit.kmutt.ac.th
Application Form: MSc PhDApplication form_20190613
ทุนวิจัยก้าวกระโดด
เกี่ยวกับทุน เนื่องด้วยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศต้องการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของงานวิจัยของคณะฯ จึงได้จัดทำโครงการทุนสนับสนุนการวิจัยระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565-2569) อย่างต่อเนื่อง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีขึ้น เพื่อให้ทุนแก่นักศึกษาทั้งชาวไทยและต่างประเทศระดับบัณฑิตศึกษาที่มีศักยภาพด้านการวิจัยสูง โดยมีการดูแลอย่างใกล้ชิดจากอาจารย์ที่ปรึกษาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (ทุนการศึกษามีจำนวนจำกัด)
เงื่อนไขทุน ทุนการศึกษามีรายละเอียดดังนี้ 1. ทุนการศึกษาแบบเต็มตามระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร (ปริญญาโท 2 ปี และปริญญาเอก 3 ปี โดยนับจากวันที่ลงทะเบียนในเทอมแรกของหลักสูตร) ดังต่อไปนี้
1.1 ค่าบำรุงการศึกษาตามจริงซึ่งระบุไว้ในแต่ละหลักสูตร
1.2 ค่าหน่วยกิตที่ระบุไว้ในหลักสูตรแต่ไม่เกินจำนวนหน่วยกิต ที่จำเป็นสำหรับการจบการศึกษาตามหลักสูตร
1.3 ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นของหลักสูตร เช่น ค่าตีพิมพ์บทความวิชาการ ค่าใช้จ่ายในการประชุมวิชาการ และอื่นๆ
คุณสมบัติผู้สมัครขอรับทุนการศึกษา – ต้องสมัครและผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทหรือเอกของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
– ต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาที่รับรองเป็นอาจารย์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการสนับสนุนงานวิจัยของคณะฯ
– นักศึกษาผู้ขอรับทุนต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.5 ในระดับปริญญาโท หรือ 3.25 ในระดับปริญญาตรี
– สำหรับผู้ขอรับทุนที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้วต้องมีผลงานวิชาการตีพิมพ์ในวารสาร หรือ นำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ (โดยพิจารณาจากคุณภาพของผลงานที่เผยแพร่)
– นักศึกษาปริญญาโทที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นนักศึกษาปริญญาเอก (upgrade) จะต้องได้เกียรตินิยม และ/หรืออยู่ใน 10% แรกของชั้นในระดับปริญญาตรี หรือมีผลการเรียนที่อยู่ในระดับดีและมีผลงานตีพิมพ์หรือเสนอในที่ประชุมวิชาการที่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ยอมรับ (โดยพิจารณาจากคุณภาพของผลงานที่เผยแพร่)
– สามารถศึกษาวิจัยได้เต็มเวลา ในขณะที่ได้รับทุนนี้
– กรณีอื่น ๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสนับสนุนงานวิจัยของคณะฯ และถือการตัดสินดังกล่าวเป็นที่สิ้นสุด
ขั้นตอนการสมัคร – สมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. ตามช่องทางปกติ
– ยื่นใบสมัครรับทุนการศึกษาโครงการทุนสนับสนุนการวิจัย
– คณะกรรมการสนับสนุนงานวิจัยของคณะฯ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศพิจารณาผลการสอบเข้าศึกษาต่อและข้อมูลจากใบสมัครขอรับทุน
– แจ้งผู้สมัครที่ผ่านการพิจารณาเข้าสอบสัมภาษณ์จากคณะกรรมการฯ
– ประกาศผลผู้ได้รับทุนการศึกษา
– ผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาโครงการนี้ต้องทำสัญญารับทุนอุดหนุนการศึกษา
เวลารับสมัคร: ทุกภาคการศึกษา
มูลค่าทุน: สนับสนุนค่าบำรุง ค่าหน่วยกิต และค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นของหลักสูตร
เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการสมัคร – ใบสมัครขอรับทุนสนับสนุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พร้อมติดรูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป – Transcript ปริญญาตรี/ปริญญาโท – ผลงานวิชาการที่ผ่านมา – ข้อมูลอื่น ๆ ที่ต้องการให้พิจารณาทุนการศึกษา
ติดต่อ: คุณปวีณา มงคลพงศ์สิริ โทร. 02-470-9815 paweena@sit.kmutt.ac.th
แบบฟอร์ม: MSc PhDApplication form_20190613
ทุนคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ชื่อทุนและวัตถุประสงค์
1. ชื่อทุน “ทุนยกเว้นค่าหน่วยกิตวิจัย (เฉพาะปริญญาโท แผน ก.)”
ทุนยกเว้นค่าหน่วยกิต วิจัย (เฉพาะปริญญาโท แผน ก.)เพื่อสนับสนุนการศึกษาวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาโท ทุกหลักสูตรที่ศึกษาใน แผน ก. โดยมี ทุน 2 ประเภท ได้แก่
1.1.ทุนยกเว้นหน่วยกิต 3 หน่วยกิต
– ทุนให้เปล่า โดยการยกเว้นค่าหน่วยกิตวิทยานิพนธ์จำนวน 3 หน่วยกิต สำหรับการลงทะเบียนครั้งที่ 1 ของนักศึกษาที่ได้เข้าศึกษา แผน ก. วิทยานิพนธ์ในหลักสูตรปริญญาโทของคณะฯ ที่ขอรับทุน หรือตามคณะกรรมการพิจารณาเห็นชอบ ในกรณีที่นักศึกษาขอทุนในภาคการศึกษาที่ 4 เป็นต้นไป เพื่อศึกษาในแผนการศึกษาวิทยานิพนธ์
– ในกรณีที่ นักศึกษาได้รับทุนยกเว้นหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ และเปลี่ยนไปศึกษาในแผนการศึกษา ข หรือ workshop แทน ในเทอมที่รับทุน นักศึกษาต้องแจ้งคำร้องมาที่คณะฯ เพื่อขอถอนการลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ทั้งหมดที่ได้รับทุน และต้องชำระค่าลงทะเบียนเพิ่มสำหรับวิชาที่ลงทะเบียนในแผนการศึกษาใหม่นั้น
1.2.ทุนยกเว้นหน่วยกิต 9 หน่วยกิต
– ทุนยกเว้น 9 หน่วยกิต สำหรับนักศึกษาที่ขอรับทุนเพื่อการศึกษาในภาคการศึกษาที่ 4 หรือตามคณะกรรมการพิจารณาเห็นชอบ
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาริเริ่มและวางแผนการทำวิจัย และสามารถดำเนินการวิจัยอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มโอกาสให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาไม่เกินกว่าเวลาปกติของหลักสูตร
2.2 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้ดำเนินการวิจัยในทิศทางที่กำหนดไว้ตามยุทธศาสตร์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ.
2.3. เพื่อให้รองรับนโยบายการมีผลงานวิจัยของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพที่ดีและต่อเนื่อง
3. คุณสมบัติเบื้องต้น
3.1 ทุนยกเว้นหน่วยกิต 3 หน่วยกิต
- มีคะแนนสะสมเฉลี่ย (GPA) ไม่น้อยกว่า 3.25
- เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่กำลังจะเริ่ม เรียน แผน ก. ในภาคการศึกษาที่ 3
- ต้องได้รับการรับรองจากอาจารย์ที่จะเป็นที่ปรึกษางานวิจัยโดยการลงนามในเอกสาร
3.2 ทุนยกเว้นหน่วยกิต 9 หน่วยกิต
- เป็นนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา แผน ก. ที่สอบผ่านหัวข้อวิทยานิพนธ์ในภาคการศึกษาที่ 3 เพื่อขอรับการยกเว้นหน่วยกิตได้เฉพาะภาคการศึกษาที่ 4 เท่านั้น
- ต้องได้รับการรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย โดยการลงนามในเอกสารดังนี้
- กรณียกเว้นค่าหน่วยกิตภาคการศึกษาแรกของวิทยานิพนธ์: ต้องได้รับการรับรองหัวข้อวิจัยและบทคัดย่อ
- กรณียกเว้นค่าหน่วยกิตภาคการศึกษาอื่นของวิทยานิพนธ์: ต้องได้รับผลการสอบหัวข้อในระดับดี หรือ มีผลการสอบความก้าวหน้าในระดับดีในกรณีสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
4. ลักษณะและมูลค่าของทุน
ทุนให้เปล่า โดยยกเว้นค่าหน่วยกิต (เฉพาะวิทยานิพนธ์) สำหรับภาคการศึกษาที่ยื่นขอทุน จำนวน 3, 6 หรือ 9 หน่วยกิต ตามแผนการศึกษาของสาขาวิชาหรือเร็วกว่า แต่ไม่ขัดระเบียบการศึกษา เช่น ต้องลงทะเบียนเรียนมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งภาคการศึกษา:
แผนการเรียน |
ภาคการศึกษาที่ 2 |
ภาคการศึกษาที่ 3 |
ภาคการศึกษาที่ 4 |
M.Sc. CS (วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต) |
3 |
3 |
6 |
M.Sc. CS (วิทยานิพนธ์ 24 หน่วยกิต) |
6 |
9 |
9 |
M.Sc. IT, BIS, SE (วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต) |
– |
3 |
9 |
5. เงื่อนไขการให้ทุน
5.1 การได้รับทุนในภาคการศึกษาที่ยื่นขอ มิได้ผูกพันธ์กับการพิจารณาจะให้ทุนยกเว้นค่าหน่วยกิตในภาคการศึกษาถัด ๆ ไป
5.2 ผู้สมัครเมื่อรับทุนแล้ว ยังคงสามารถเปลี่ยนไปศึกษาแผนการเรียนอื่นหรือเปลี่ยนหัวข้อวิจัยในภายหลังได้
5.3 ทุนนี้ เป็นการสนับสนุนค่าหน่วยกิตเฉพาะวิชาวิจัยในแผน ก. หากนักศึกษาเปลี่ยนไปศึกษาแผนการเรียนอื่นภายในภาคการศึกษาที่ได้รับทุน ไม่สามารถใช้ยกเว้นค่าหน่วยกิตวิชาอื่นใดได้ และต้องแจ้งที่ปรึกษาและคณะพิจารณา ก่อนดำเนินการเปลี่ยนแผนการเรียน
6. ช่วงระยะเวลาขอรับทุน และ แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ช่วงระยะเวลาขอรับทุน: ให้ยื่นขอรับทุนก่อนเปิดภาคการศึกษาที่ยื่นขอ
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
- ใบสมัครเพื่อศึกษาวิจัยในแผน ก. วิทยานิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา
เกี่ยวกับทุน
สนับสนุนนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาตีพิมพ์บทความในวารสารและหรือการประชุมวิชาการที่คณะเห็นชอบ
เงื่อนไขทุน
- นักศึกษาระดับปริญญาโท–เอก คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- ต้องมีชื่ออาจารย์ในคณะฯ ร่วมในบทความวิชาการ
- ผลงานตีพิมพ์ เป็นส่วนหนึ่งความต้องการเพื่อใช้สำเร็จการศึกษา
- ผ่านการพิจารณามาตรฐานแหล่งตีพิมพ์โดยคณะกรรมการพิจารณาทุนเพื่อการศึกษาระดับปริญญาโท-เอก และ/หรือจากแหล่งฐานข้อมูลวารสารและประชุมวิชาการที่คณะกำหนด
ช่วงระยะเวลาขอรับทุน
ก่อนนักศึกษาเสนอบทความวิชาการในวารสารหรือการประชุมวิชาการ 2 เดือน
มูลค่าทุน
ค่าลงทะเบียนตามจ่ายจริง
เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการสมัคร
- ใบสมัครเพื่อศึกษาวิจัยในแผน ก. วิทยานิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา ผ่านการรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา
- เอกสารใบตอบรับในวารสารและหรือการประชุมวิชาการ
- เอกสาร reviewer อย่างน้อย 2 คน
- เอกสารลงทะเบียนในวารสารและหรือการประชุมวิชาการ
ติดต่อ
คุณปวีณา มงคลพงศ์สิริ โทร. 02-470-9815 paweena@sit.kmutt.ac.th
เกี่ยวกับทุน
เนื่องด้วยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศต้องการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของงานวิจัยของคณะฯ จึงได้จัดทำโครงการทุนสนับสนุนการวิจัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีขึ้น เพื่อให้ทุนแก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีศักยภาพด้านการวิจัยสูง โดยมีการควบคุมอย่างใกล้ชิดจากอาจารย์ที่ปรึกษาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
เงื่อนไขทุน
ทุนการศึกษาแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ 1. ทุนการศึกษาแบบเต็มตามระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร (ปริญญาโท 2 ปี และปริญญาเอก 3 ปี โดยนับจากวันที่ลงทะเบียนในเทอมแรกของหลักสูตร) และค่าครองชีพ ดังต่อไปนี้
- ค่าบำรุงการศึกษาตามจริงซึ่งระบุไว้ในแต่ละหลักสูตร
- ค่าหน่วยกิตที่ระบุไว้ในหลักสูตรแต่ไม่เกินจำนวนหน่วยกิต ที่จำเป็นสำหรับการจบการศึกษาตามหลักสูตร
- ค่าครองชีพ เดือนละ 12,000 บาท นับจากวันที่ได้รับทุน จนครบระยะเวลาการศึกษาหลักสูตร (ปริญญาโท 2 ปี และปริญญาเอก 3 ปี โดยทั้งหมดนับจากวันที่ลงทะเบียนในภาคการศึกษาแรกของหลักสูตร)
2. ทุนการศึกษาแบบเต็มตามระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร (ปริญญาโท 2 ปี และปริญญาเอก 3 ปี โดยนับจากวันที่ลงทะเบียนในภาคการศึกษาแรกของหลักสูตร) ดังต่อไปนี้
- ค่าบำรุงการศึกษาตามจริงซึ่งระบุไว้ในแต่ละหลักสูตร
- ค่าหน่วยกิตที่ระบุไว้ในหลักสูตรแต่ไม่เกินจำนวนหน่วยกิต ที่จำเป็นสำหรับการจบการศึกษาตามหลักสูตร
คุณสมบัติผู้สมัครขอรับทุนการศึกษา
- ต้องสมัครและผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทหรือเอกของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาที่รับรองเป็นอาจารย์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการสนับสนุนงานวิจัยของคณะฯ และมีคุณสมบัติตามที่กำหนดข้างต้น
- นักศึกษาผู้ขอรับทุนต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.5 ในระดับปริญญาโท หรือ 3.25 ในระดับปริญญาตรี
- สำหรับผู้ขอรับทุนที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้วต้องมีผลงานวิชาการตีพิมพ์ หรือ เสนอในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ (โดยพิจารณาจากคุณภาพของผลงานที่เผยแพร่)
- นักศึกษาปริญญาโทที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นนักศึกษาปริญญาเอก (upgrade) จะต้องได้เกียรตินิยม และ/หรืออยู่ใน 10% แรกของชั้นในระดับปริญญาตรี หรือมีผลการเรียนที่อยู่ในระดับดีและมีผลงานตีพิมพ์หรือเสนอในที่ประชุมวิชาการที่ สกว. ยอมรับ (โดยพิจารณาจากคุณภาพของผลงานที่เผยแพร่)
- สามารถศึกษาวิจัยได้เต็มเวลา ในขณะที่ได้รับทุนนี้
- กรณีอื่น ๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการการสอบคัดเลือกของคณะและถือการตัดสินดังกล่าวเป็นที่สิ้นสุด
ขั้นตอนการสมัครสำหรับผู้สนใจทุนการศึกษาโครงการนี้
- สมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. ตามช่องทางปกติ
- ยื่นใบสมัครรับทุนการศึกษาโครงการทุนสนับสนุนการวิจัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศที่ คุณปวีณา มงคลพงศ์สิริ ที่ email: paweena@sit.kmutt.ac.th
- คณะกรรมการโครงการทุนสนับสนุนการวิจัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศพิจารณาผลการสอบเข้าศึกษาต่อและข้อมูลจากใบสมัครขอรับทุน
- แจ้งผู้สมัครที่ผ่านการพิจารณาเข้าสอบสัมภาษณ์จากคณะกรรมการฯ
- ประกาศผลผู้ได้รับทุนการศึกษา
- ผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาโครงการนี้ต้องทำสัญญารับทุนอุดหนุนการศึกษา
ช่วงระยะเวลาขอรับทุน
ทุกภาคการศึกษา
มูลค่าทุน
สนับสนุนค่าบำรุงและค่าหน่วยกิตตลอดระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี
เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการสมัคร
- ใบสมัครขอรับทุนสนับสนุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พร้อมติดรูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป
- Transcript ปริญญาตรี/ปริญญาโท
- ผลงานวิชาการที่ผ่านมา
- ข้อมูลอื่น ๆ ที่ต้องการให้พิจารณาทุนการศึกษา
ติดต่อ
คุณปวีณา มงคลพงศ์สิริ โทร. 02-470-9815 paweena@sit.kmutt.ac.th
ทุนมจธ.
ประเภทของทุน
แบ่งการจัดสรรทุนการศึกษาเพชรพระจอมเกล้ามหาบัณฑิต เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ทุนสนับสนุนหลักสูตร และทุนสนับสนุนกลุ่มวิจัย โดยมีการจัดสรรและการดำเนินงานดังนี้
1. ทุนสนับสนุนหลักสูตร
เป็นทุนการศึกษาตามการพิจารณาของภาควิชา เพื่อช่วยเสริมให้เกิดความเข้มแข็งในภาควิชา และพัฒนาเป็นกลุ่มวิจัยได้ในอนาคต
2. ทุนสนับสนุนกลุ่มวิจัย
เป็นการจัดสรรภายใต้คลัสเตอร์วิจัยของมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมกลุ่มวิจัยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ขอรับทุน
1. เป็นผู้มีความสามารถด้านวิชาการดีเด่น 1.1. เป็นผู้ที่ได้รับเกียรตินิยมในระดับปริญญาตรี และได้รับการคัดเลือกให้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท หรือ 1.2. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนการ โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสม ≥ 3.25 และได้รับการคัดเลือกให้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท หรือ 1.3. เป็นผู้ที่มีผลงานเชิงสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่สอดคล้อง หรือสัมพันธ์กับหลักสูตรที่เลือกศึกษา เป็นที่ประจักษ์
2. เป็นผู้ที่พร้อมและยินดีที่จะช่วยเหลือและสนับสนุนกิจกรรมของมหาวิทยาลัยทั้งในด้านวิชาการ สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 3. เป็นผู้ที่สามารถศึกษาแบบเต็มเวลาภายในระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตรที่นักศึกษาเข้าศึกษา 4. สามารถลงนามในสัญญารับทุนเพชรพระจอมเกล้ามหาบัณฑิต และสัญญาค้ำประกันได้ 5. ผู้รับทุนจะต้องไม่รับทุนอื่นซ้อนกับทุนการศึกษาเพชรพระจอมเกล้ามหาบัณฑิต กรณีซ้อนกับทุนอื่นให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการทุนการศึกษาเพชรพระจอมเกล้า 6. คุณสมบัติอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการฯ กำหนด
ผลงานทางวิชาการของนักศึกษาทุนเพชรพระจอมเกล้ามหาบัณฑิต
นักศึกษาทุนการศึกษาเพชรพระจอมเกล้ามหาบัณฑิต ต้องมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติ อย่างน้อย 1 ชิ้น ที่มาจากผลงานวิจัยจากวิทยานิพนธ์เพื่อขอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทของตน โดยเป็นผลงานตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ ที่มีระบบประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก โดยชื่อนักศึกษาต้องเป็นผู้แต่งลำดับหรือผู้แต่งหลัก
รายละเอียดของค่าใช้จ่ายทุน
ทุนการศึกษาเพชรพระจอมเกล้ามหาบัณฑิต ทุนสนับสนุนหลักสูตร และทุนการศึกษาเพชรพระจอมเกล้ามหาบัณฑิต ทุนสนับสนุนกลุ่มวิจัย จัดสรรเงินทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาระดับปริญญาโท ดังนี้ 1. ให้ค่าเล่าเรียนตามหลักสูตร
2. ให้ค่าครองชีพรายเดือนไม่เกินระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร เดือนละ 8,000 บาท
3. เงินสนับสนุนความก้าวหน้างานวิจัยเพิ่มเติม (เฉพาะเมื่อมีผลงานวิจัยตีพิมพ์วารสารวิชาการในระดับนานาชาติ ที่มีระบบประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ของสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง) จะได้รับค่าครองชีพรายเดือนเพิ่มเติม อีก 1,000 บาท/เดือน/เรื่องจนสำเร็จการศึกษาแต่ไม่เกินระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร
การรักษาสภาพผู้ได้รับทุน
1. มหาวิทยาลัยจะพิจารณาให้ความเห็นชอบนักศึกษาให้รับทุนการศึกษาต่อเนื่องเป็นรายปีโดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1.1. นักศึกษาจะต้องมีแต้มเฉลี่ยสะสมเมื่อสิ้นปีการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3.25 ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นหลักสูตรซึ่งไม่มีการศึกษารายวิชาจะต้องมีความก้าวหน้าของงานวิจัยระดับดี 1.2. นักศึกษาจะต้องเข้าร่วมสัมมนา พบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ หรือเข้าร่วมกิจกรรมกับนักศึกษาอื่นๆ กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทำงาน และจัดทำรายงานความก้าวหน้าทุก 6 เดือน รวมทั้งการรับฟังข้อเสนอแนะ หรือแนวคิดต่างๆ จากคณะกรรมการฯ และจะต้องช่วยเหลือและสนับสนุนกิจกรรมของมหาวิทยาลัยทั้งในด้านวิชาการ สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
2. ระยะเวลาในการสนับสนุนทุนการศึกษาถือตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตรเท่านั้น 3. ในกรณีที่นักศึกษาผู้ได้รับทุน ยุติยกเลิกการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาปริญญาโทโดยการลาออก ตกออก หรือถูกคัดชื่อออก หรือไม่สามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยตามเกณฑ์ก่อนสำเร็จการศึกษา ทั้งนี้ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นักศึกษาผู้นั้นจะต้องชดใช้เงินทุนการศึกษาตามจำนวนที่ได้รับจากผู้ให้ทุนภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้ให้ทุน
ติดต่อกลุ่มงานช่วยเหลือทางการเงินแก่นักศึกษา
ผู้ประสานงาน คุณศุริษา แสงอรุณ
โทร. 02-470-8107
หรือติดตามข่าวสารที่ เว็บไซต์กลุ่มงานช่วยเหลือทางการเงินแก่นักศึกษา มจธ.
จัดสรรขึ้นในปีการศึกษา 2554 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยสนับสนุนแก่นักศึกษาที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ ได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า โดยได้รับพระราชทานชื่อ “ทุนสหปัญญา” และในปีการศึกษา 2558 เพื่อเฉลิมฉลองวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา มหาวิทยาลัยจึงขยายขอบข่ายทุนการศึกษาให้กว้างขวางขึ้นโดยสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษาต่างชาติในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และระดับปริญญาเอก ระดับละ 20 ทุน รวมทั้งสิ้น 60 ทุน โดยพิจารณาจากการเสนอชื่อโดยตรงจากคณะ
• ทุนสนับสนุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาแก่ชาวต่างชาติจากประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) จัดสรรตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 เพื่อสนับสนุนนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region : GMS) ได้แก่ กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม และจีน (เฉพาะมณฑลยูนนาน) โดยพิจารณาจากการเสนอชื่อโดยตรงจากคณะ
ติดต่อกลุ่มงานช่วยเหลือทางการเงินแก่นักศึกษา
ผู้ประสานงาน คุณวรนาฎ นิโลดม (พี่นิดหน่อย)
โทร. 02-470-8107
หรือติดตามข่าวสารที่ เว็บไซต์กลุ่มงานช่วยเหลือทางการเงินแก่นักศึกษา มจธ.
ทุนคณะ
Research Boosting Grant
Introduction:
The School of Information Technology (SIT) aims to continuously increase the quantity and quality of the Faculty’s research. SIT, therefore, has established research boosting grants for period 2 (2022-2026), to help graduate students from all nationalities with high research potential. It is closely supervised by the SIT advisors. There are a limited number of scholarships.
General Conditions The details of Research Boosting Grant are as follows: 1. Full scholarships according to the duration of the program (2 years for Master’s degree and 3 years for Doctoral degree, counting from the date of registration in the first semester of the program)
1.1 Ancillary Fee/ Semester (THB) specified in each program
1.2 Tuition fee/ Credit (THB) specified in the program but not exceeding the number of credits necessary for completing the course of the program
1.3 Other necessary expenses of the program, such as article processing charge, academic conference registration, etc.
Eligibility for Scholarship Applicants
– Apply for a scholarship and pass the selection process to be a master’s or doctoral student of the School of Information Technology (SIT).
– Must have a SIT advisor who is certified and is recognized by the SIT Research Support Committee.
– Students applying for scholarships must have a GPA of at least 3.5 at the master’s level or 3.25 at the bachelor’s level.
– For applicants who have completed a master’s degree, their academic work must be published or presented at a national or international academic journal/ conference. (Considering from the quality of published works)
– Master’s degree students who change their status to doctoral students must receive high academic honors, and/ or in the top 10% of their undergraduate class, or have good grades and have works published or presented at academic meetings accepted by the Thailand Science Research and Innovation (TSRI). Based on the quality of published works
– Able to study and research full time while receiving this scholarship
– Any other cases are at the discretion of the Dean, with the approval of the SIT Research Support Committee. All such decisions are final.
Application Process – Enroll to study in graduate programs of the School of Information Technology, KMUTT through normal channels.
– Submit an application for a research scholarship.
– SIT Research Support Committee considers the entrance examination results and information from the scholarship application.
– Notify applicants who have been considered for an interview from the committee.
– Announce the scholarship recipients.
– Those who receive scholarships for this project must enter into a Scholarship Contract.
Time to Apply: Every semester
Value of Funding: Ancillary, Tuition fees, and Other necessary expenses of the program
Required Documents for an Application – Scholarship Application with one 1-inch straight-faced photo attached – Bachelor’s/Master’s Transcription – Past academic works – Other information required to be considered for a scholarship
Contact: Miss Paweena Mongkolpongsiri Tel. 0-2470-9815, paweena@sit.kmutt.ac.th
Application Form: MSc PhDApplication form_20190613
ทุนวิจัยก้าวกระโดด
เกี่ยวกับทุน เนื่องด้วยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศต้องการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของงานวิจัยของคณะฯ จึงได้จัดทำโครงการทุนสนับสนุนการวิจัยระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565-2569) อย่างต่อเนื่อง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีขึ้น เพื่อให้ทุนแก่นักศึกษาทั้งชาวไทยและต่างประเทศระดับบัณฑิตศึกษาที่มีศักยภาพด้านการวิจัยสูง โดยมีการดูแลอย่างใกล้ชิดจากอาจารย์ที่ปรึกษาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (ทุนการศึกษามีจำนวนจำกัด)
เงื่อนไขทุน ทุนการศึกษามีรายละเอียดดังนี้ 1. ทุนการศึกษาแบบเต็มตามระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร (ปริญญาโท 2 ปี และปริญญาเอก 3 ปี โดยนับจากวันที่ลงทะเบียนในเทอมแรกของหลักสูตร) ดังต่อไปนี้
1.1 ค่าบำรุงการศึกษาตามจริงซึ่งระบุไว้ในแต่ละหลักสูตร
1.2 ค่าหน่วยกิตที่ระบุไว้ในหลักสูตรแต่ไม่เกินจำนวนหน่วยกิต ที่จำเป็นสำหรับการจบการศึกษาตามหลักสูตร
1.3 ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นของหลักสูตร เช่น ค่าตีพิมพ์บทความวิชาการ ค่าใช้จ่ายในการประชุมวิชาการ และอื่นๆ
คุณสมบัติผู้สมัครขอรับทุนการศึกษา – ต้องสมัครและผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทหรือเอกของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
– ต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาที่รับรองเป็นอาจารย์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการสนับสนุนงานวิจัยของคณะฯ
– นักศึกษาผู้ขอรับทุนต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.5 ในระดับปริญญาโท หรือ 3.25 ในระดับปริญญาตรี
– สำหรับผู้ขอรับทุนที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้วต้องมีผลงานวิชาการตีพิมพ์ในวารสาร หรือ นำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ (โดยพิจารณาจากคุณภาพของผลงานที่เผยแพร่)
– นักศึกษาปริญญาโทที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นนักศึกษาปริญญาเอก (upgrade) จะต้องได้เกียรตินิยม และ/หรืออยู่ใน 10% แรกของชั้นในระดับปริญญาตรี หรือมีผลการเรียนที่อยู่ในระดับดีและมีผลงานตีพิมพ์หรือเสนอในที่ประชุมวิชาการที่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ยอมรับ (โดยพิจารณาจากคุณภาพของผลงานที่เผยแพร่)
– สามารถศึกษาวิจัยได้เต็มเวลา ในขณะที่ได้รับทุนนี้
– กรณีอื่น ๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสนับสนุนงานวิจัยของคณะฯ และถือการตัดสินดังกล่าวเป็นที่สิ้นสุด
ขั้นตอนการสมัคร – สมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. ตามช่องทางปกติ
– ยื่นใบสมัครรับทุนการศึกษาโครงการทุนสนับสนุนการวิจัย
– คณะกรรมการสนับสนุนงานวิจัยของคณะฯ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศพิจารณาผลการสอบเข้าศึกษาต่อและข้อมูลจากใบสมัครขอรับทุน
– แจ้งผู้สมัครที่ผ่านการพิจารณาเข้าสอบสัมภาษณ์จากคณะกรรมการฯ
– ประกาศผลผู้ได้รับทุนการศึกษา
– ผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาโครงการนี้ต้องทำสัญญารับทุนอุดหนุนการศึกษา
เวลารับสมัคร: ทุกภาคการศึกษา
มูลค่าทุน: สนับสนุนค่าบำรุง ค่าหน่วยกิต และค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นของหลักสูตร
เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการสมัคร – ใบสมัครขอรับทุนสนับสนุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พร้อมติดรูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป – Transcript ปริญญาตรี/ปริญญาโท – ผลงานวิชาการที่ผ่านมา – ข้อมูลอื่น ๆ ที่ต้องการให้พิจารณาทุนการศึกษา
ติดต่อ: คุณปวีณา มงคลพงศ์สิริ โทร. 02-470-9815 paweena@sit.kmutt.ac.th
แบบฟอร์ม: MSc PhDApplication form_20190613
เกี่ยวกับทุน
สนับสนุนนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาตีพิมพ์บทความในวารสารและหรือการประชุมวิชาการที่คณะเห็นชอบ
เงื่อนไขทุน
- นักศึกษาระดับปริญญาโท–เอก คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- ต้องมีชื่ออาจารย์ในคณะฯ ร่วมในบทความวิชาการ
- ผลงานตีพิมพ์ เป็นส่วนหนึ่งความต้องการเพื่อใช้สำเร็จการศึกษา
- ผ่านการพิจารณามาตรฐานแหล่งตีพิมพ์โดยคณะกรรมการพิจารณาทุนเพื่อการศึกษาระดับปริญญาโท-เอก และ/หรือจากแหล่งฐานข้อมูลวารสารและประชุมวิชาการที่คณะกำหนด
ช่วงระยะเวลาขอรับทุน
ก่อนนักศึกษาเสนอบทความวิชาการในวารสารหรือการประชุมวิชาการ 2 เดือน
มูลค่าทุน
ค่าลงทะเบียนตามจ่ายจริง
เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการสมัคร
- ใบสมัครเพื่อศึกษาวิจัยในแผน ก. วิทยานิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา ผ่านการรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา
- เอกสารใบตอบรับในวารสารและหรือการประชุมวิชาการ
- เอกสาร reviewer อย่างน้อย 2 คน
- เอกสารลงทะเบียนในวารสารและหรือการประชุมวิชาการ
ติดต่อ
คุณปวีณา มงคลพงศ์สิริ โทร. 02-470-9815 paweena@sit.kmutt.ac.th
เกี่ยวกับทุน
เนื่องด้วยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศต้องการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของงานวิจัยของคณะฯ จึงได้จัดทำโครงการทุนสนับสนุนการวิจัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีขึ้น เพื่อให้ทุนแก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีศักยภาพด้านการวิจัยสูง โดยมีการควบคุมอย่างใกล้ชิดจากอาจารย์ที่ปรึกษาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
เงื่อนไขทุน
ทุนการศึกษาแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ 1. ทุนการศึกษาแบบเต็มตามระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร (ปริญญาโท 2 ปี และปริญญาเอก 3 ปี โดยนับจากวันที่ลงทะเบียนในเทอมแรกของหลักสูตร) และค่าครองชีพ ดังต่อไปนี้
- ค่าบำรุงการศึกษาตามจริงซึ่งระบุไว้ในแต่ละหลักสูตร
- ค่าหน่วยกิตที่ระบุไว้ในหลักสูตรแต่ไม่เกินจำนวนหน่วยกิต ที่จำเป็นสำหรับการจบการศึกษาตามหลักสูตร
- ค่าครองชีพ เดือนละ 12,000 บาท นับจากวันที่ได้รับทุน จนครบระยะเวลาการศึกษาหลักสูตร (ปริญญาโท 2 ปี และปริญญาเอก 3 ปี โดยทั้งหมดนับจากวันที่ลงทะเบียนในภาคการศึกษาแรกของหลักสูตร)
2. ทุนการศึกษาแบบเต็มตามระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร (ปริญญาโท 2 ปี และปริญญาเอก 3 ปี โดยนับจากวันที่ลงทะเบียนในภาคการศึกษาแรกของหลักสูตร) ดังต่อไปนี้
- ค่าบำรุงการศึกษาตามจริงซึ่งระบุไว้ในแต่ละหลักสูตร
- ค่าหน่วยกิตที่ระบุไว้ในหลักสูตรแต่ไม่เกินจำนวนหน่วยกิต ที่จำเป็นสำหรับการจบการศึกษาตามหลักสูตร
คุณสมบัติผู้สมัครขอรับทุนการศึกษา
- ต้องสมัครและผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทหรือเอกของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาที่รับรองเป็นอาจารย์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการสนับสนุนงานวิจัยของคณะฯ และมีคุณสมบัติตามที่กำหนดข้างต้น
- นักศึกษาผู้ขอรับทุนต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.5 ในระดับปริญญาโท หรือ 3.25 ในระดับปริญญาตรี
- สำหรับผู้ขอรับทุนที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้วต้องมีผลงานวิชาการตีพิมพ์ หรือ เสนอในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ (โดยพิจารณาจากคุณภาพของผลงานที่เผยแพร่)
- นักศึกษาปริญญาโทที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นนักศึกษาปริญญาเอก (upgrade) จะต้องได้เกียรตินิยม และ/หรืออยู่ใน 10% แรกของชั้นในระดับปริญญาตรี หรือมีผลการเรียนที่อยู่ในระดับดีและมีผลงานตีพิมพ์หรือเสนอในที่ประชุมวิชาการที่ สกว. ยอมรับ (โดยพิจารณาจากคุณภาพของผลงานที่เผยแพร่)
- สามารถศึกษาวิจัยได้เต็มเวลา ในขณะที่ได้รับทุนนี้
- กรณีอื่น ๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการการสอบคัดเลือกของคณะและถือการตัดสินดังกล่าวเป็นที่สิ้นสุด
ขั้นตอนการสมัครสำหรับผู้สนใจทุนการศึกษาโครงการนี้
- สมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. ตามช่องทางปกติ
- ยื่นใบสมัครรับทุนการศึกษาโครงการทุนสนับสนุนการวิจัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศที่ คุณปวีณา มงคลพงศ์สิริ ที่ email: paweena@sit.kmutt.ac.th
- คณะกรรมการโครงการทุนสนับสนุนการวิจัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศพิจารณาผลการสอบเข้าศึกษาต่อและข้อมูลจากใบสมัครขอรับทุน
- แจ้งผู้สมัครที่ผ่านการพิจารณาเข้าสอบสัมภาษณ์จากคณะกรรมการฯ
- ประกาศผลผู้ได้รับทุนการศึกษา
- ผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาโครงการนี้ต้องทำสัญญารับทุนอุดหนุนการศึกษา
ช่วงระยะเวลาขอรับทุน
ทุกภาคการศึกษา
มูลค่าทุน
สนับสนุนค่าบำรุงและค่าหน่วยกิตตลอดระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี
เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการสมัคร
- ใบสมัครขอรับทุนสนับสนุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พร้อมติดรูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป
- Transcript ปริญญาตรี/ปริญญาโท
- ผลงานวิชาการที่ผ่านมา
- ข้อมูลอื่น ๆ ที่ต้องการให้พิจารณาทุนการศึกษา
ติดต่อ
คุณปวีณา มงคลพงศ์สิริ โทร. 02-470-9815 paweena@sit.kmutt.ac.th
ทุนมจธ.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดตั้งทุนการศึกษาเพชรพระจอมเกล้าดุษฎีบัณฑิต เพื่อจูงใจให้นักศึกษาทุ่มเทเวลาให้กับการศึกษาในระดับปริญญาเอกและเสริมสร้างประสบการณ์การทำงานวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายใต้การดูแลของคณาจารย์ หรือกลุ่มวิจัยที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่สูง เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นดุษฎีบัณฑิตคุนภาพที่จะเป็นกำลังสำคัญในกาารขับเคลื่อนและผลิตผลงานวิจัยหรือปฏิบัติงานที่ใช้ความรู้และทักษะขั้นสูงที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ โดยจะให้การสนับสนุนตามระยะเวลาการศึกษาที่ระบุไว้ในหลักสูตร และภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ขอรับทุน
1. ประวัติด้านการเรียน
1) ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในระดับปริญญาตรี หรือ
2) ได้รับเกียรตินิยมอันดับสองในระดับปริญญาตรีและอยู่ใน 10% แรกของชั้น (โดยมีหนังสือรับรองจากสำนักงานทะเบียนนักศึกษา) หรือ
3) ผลการเรียนระดับปริญญาโทอยู่ในระดับดีมาก (เกรดเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50) หรือ
4) กรณีที่ไม่มีผลการศึกษาในระดับปริญญาโท หรือมีผลการเรียนไม่ถึง 3.50 แต่ไม่ต่ำกว่า 3.25 ผู้สมัครต้องมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ
5) ผู้สมัครต้องเป็นผู้ที่คาดว่าจะจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือระดับปริญญาโท และจะได้ลงนามสัญญาต่อเมื่อนักศึกษามีใบรับรองการจบการศึกษา
2. ผู้สมัครต้องสามารถแสดงออกถึงเหตุผลและความจำเป็น และความรู้ความเข้าใจในระดับที่น่าพอใจในสาขาวิชาที่จะทำวิทยานิพนธ์ โดยการประเมินจากการสอบสัมภาษณ์ และจากเรียงความที่เขียนด้วยตัวเอง (Statement of purpose) ความยาวประมาณ 600 คำ
3. ผู้สมัครที่เคยทำวิทยานิพนธ์ หรือทำวิจัย หรือเลือกที่จะทำวิทยานิพนธ์ ภายใต้กลุ่มวิจัยที่มีผลงาน หรือมีศักยภาพที่จะสร้างผลงานที่มีความหมายต่อเศรษฐกิจและสังคม จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
4. ผู้สมัครต้องมีหนังสือรับรองว่าเป็นผู้มีความมุ่งมั่นในการศึกษา/ทำงาน และมีเจคติที่ดี จากอาจารย์ที่ปรึกษาที่เคยควบคุมปริญญานิพนธ์และ/หรือวิทยานิพนธ์ และผู้บังคับบัญชา (ในกรณีที่เคยทำงาน)
5. ผู้สมัครต้องมัหนังสือรับรอง จากอาจารย์ที่จะรับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของนักศึกษาผู้ได้รับทุนการศึกษาเพชรพระจอมเกล้าดุษฎีบัณฑิต
6. ผู้สมัครสามารถส่งเอกสารเพิ่มเติมอื่นที่เกี่ยวข้องกับการทำงานวิจัยและด้านวิชาการอื่นเพื่อสนับสนุนได้
คุณสมบัติของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
1. เป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่ประพฤติตนหรือเคยประพฤติตนเป็นที่เสื่อมเสีย
2. เป็นผู้ที่พร้อมและยินดีที่จะช่วยเหลือและสนับสนุนกิจกรรมของมหาวิทยาลัยทั้งในด้านวิชาการสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
3. เป็นผู้ที่สามารถศึกษาให้สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตรที่นักศึกษาเข้ารับการศึกษา
4.สามารถเรียนในหลักสูตรเต็มเวลาได้
5. สามารถลงนามในสัญญารับทุนเพชรพระจอมเกล้าดุษฎีบัณฑิต และสัญญาค้ำประกันได้
6. คุณสมบัติอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการฯกำหนด
การรักษาสภาพผู้ได้รับทุน
1. มหาวิทยาลัยจะพิจารณาให้ความเห็นชอบนักศึกษาให้รับทุนการศึกษาต่อเนื่องเป็นรายปีโดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1) นักศึกษาจะต้องมีแต้มเฉลี่ยสะสมเมื่อสิ้นปีการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3.50 สำหรับนักศึกษาที่มีแต้มเฉลี่ยสะสมต่ำกว่าที่กำหนด หากในปีการศึกษาต่อมามีแต้มเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 ก็อาจได้รับการพิจารณาให้ได้รับทุนต่อไปได้
2) นักศึกษาจะต้องเข้าร่วมสัมนา พบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ หรือเข้าร่วมกิจกรรมกับนักศึกษาอื่นๆ กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทำงาน การฟังบรรยายที่น่าสนใจ หรือกิจกรรมอื่นๆ ตามที่เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการได้แจ้งให้เข้าร่วม และจัดทำรายงานความก้าวหน้าทุก 6 เดือน รวมทั้งการรับฟังข้อเสนอแนะ หรือแนวคิดต่างๆ จากคณะกรรมการโครงการทุนการศึกษา “เพชรพระจอมเกล้า” และจะต้องช่วยเหลือและสนับสนุนกิจกรรมของมหาวิทยาลัยทั้งในด้านวิชาการ สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทั้งนี้ หากนักศึกาาไม่เข้าร่วมกิจกรรมในข้างต้นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร อาจไม่ได้รับการพิจารณาเห็นชอบให้ได้รับทุนการศึกษาต่อเนื่อง
ผลงานทางวิชาการของนักศึกษาทุนเพชรพระจอมเกล้าดุษฎีบัณฑิต
ต้องเสนอวิทยานิพนธ์ที่แสดงถึงการค้นพบวิทยาการใหม่ คาดคิดริเริ่ม หรือการวิจารณ์ด้วยความคิดใหม่ ทั้งนี้นักศึกษาผู้ได้รับทุนต้องมีผลงานวิจัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ได้รับการตีพิมพ์ หรือยอมรับเพื่อการตีพิมพ์อย่างน้อย 2 เรื่องก่อนสำเร็จการศึกษาโดย
1. ต้องมีบทความวิจัยเต็มรูปแบบ (Full Paper) ที่ลงพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ โดยพบในฐานข้อมูล Web of Science (Thomson Reuters) ซึ่งสืบค้นได้ในฐานข้อมูลมาตรฐานที่มีผู้พิจารณาผลงาน (Referee) จำนวนไม่ต่ำกว่า 2 ชิ้นและต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ในหลักสูตรของนักศึกษาผู้ได้รับทุน
ติดต่อกลุ่มงานช่วยเหลือทางการเงินแก่นักศึกษา
ผู้ประสานงาน คุณศุริษา แสงอรุณ
โทร. 02-470-8107
หรือติดตามข่าวสารที่ เว็บไซต์กลุ่มงานช่วยเหลือทางการเงินแก่นักศึกษา มจธ.
จัดสรรขึ้นในปีการศึกษา 2554 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยสนับสนุนแก่นักศึกษาที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ ได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า โดยได้รับพระราชทานชื่อ “ทุนสหปัญญา” และในปีการศึกษา 2558 เพื่อเฉลิมฉลองวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา มหาวิทยาลัยจึงขยายขอบข่ายทุนการศึกษาให้กว้างขวางขึ้นโดยสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษาต่างชาติในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และระดับปริญญาเอก ระดับละ 20 ทุน รวมทั้งสิ้น 60 ทุน โดยพิจารณาจากการเสนอชื่อโดยตรงจากคณะ
• ทุนสนับสนุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาแก่ชาวต่างชาติจากประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) จัดสรรตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 เพื่อสนับสนุนนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region : GMS) ได้แก่ กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม และจีน (เฉพาะมณฑลยูนนาน) โดยพิจารณาจากการเสนอชื่อโดยตรงจากคณะ
ติดต่อกลุ่มงานช่วยเหลือทางการเงินแก่นักศึกษา
ผู้ประสานงาน คุณวรนาฎ นิโลดม (พี่นิดหน่อย)
โทร. 02-470-8107
หรือติดตามข่าวสารที่ เว็บไซต์กลุ่มงานช่วยเหลือทางการเงินแก่นักศึกษา มจธ.