SIT KMUTT สร้างกำลังคนตอบโจทย์ Digital Transformation ภายใต้โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ฯ
วันที่ 12 กันยายน 2567 SIT KMUTT ร่วมออกบูธนำเสนอหลักสูตร Non-Degree Credential 3 หลักสูตร UX/UI Designer หลักสูตร Data Analyst และหลักสูตร AI Developer โดย ดร.สุณิสา สถาพรวจนา ผู้ช่วยคณบดีด้านกิจกรรมนักศึกษา SIT และ ดร.นิวรรณ วัฒนกิจรุ่งโรจน์ อาจารย์ประจำ SIT ในนิทรรศการผลการดำเนินงานของหลักสูตรบัณฑิตพันธ์ใหม่ ฯ ในงานประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้าง และพัฒนากำลังคนที่มีทักษะ และสมรรถนะสูงที่เชื่อมโยงการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเลี้ยงชีพได้อย่างมั่นคง โรงแรมเบสท์เวสเทิร์นพลัส แวดนา แกรด์ จังหวัดนนทบุรี
ต้อนรับคณะครูและนักเรียน โรงเรียนสารวิทยา เยี่ยมชมพื้นที่การเรียนรู้ SIT KMUTT
วันที่ 28 สิงหาคม 2567 คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนสารวิทยา กรุงเทพมหานคร ได้มาศึกษาดูงานการจัดการเรียนการสอน และเตรียมความพร้อมในการที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยมี ดร.สยาม แย้มแสงสังข์ รองคณบดีด้านประกันคุณภาพและพัฒนานักศึกษา และ ดร.อันฮวา นิลรัตน์ศิริกุล รองประธานหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล ร่วมต้อนรับ และพูดคุยให้ข้อมูลกับคณะครู และนักเรียน จำนวน 110 คน พร้อมรุ่นพี่ จากทั้ง 3 สาขาวิชา สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์(หลักสูตรภาษาอังกฤษ) และ สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัลวิชาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ แชร์ประสบการณ์การเรียนรู้ในแต่ละสาขาวิชาให้กับน้อง ๆ นอกจากนี้ได้พาคณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนสารวิทยา เยี่ยมชมพื้นที่การเรียนรู้ การเรียนการสอน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในพื้นที่การเรียนรู้ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งอาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ และห้องปฏิบัติการ อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX) บรรยากาศเป็นไปด้วยความอบอุ่น และได้รับความสนใจจากคณะครูและนักเรียนเป็นอย่างดี
ไหว้ครู SIT WAIKRU ปีการศึกษา 2567 สืบสานประเพณี สานสัมพันธ์ครู-ศิษย์
สโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) จัดพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2567 เพื่อให้นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศทุกชั้นปีได้เข้าร่วมงาน เพื่อน้อมระลึกถึงพระคุณครูผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ ณ Training room 12/1-2 อาคาร LX เมื่อวันที่ 15สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคณาจารย์คณะ ฯ เข้าร่วม 7 ท่าน และมีนักศึกษา SIT ทั้งคนไทยและต่างชาติเข้าร่วมงานกว่า 130 คน งานเริ่มต้นด้วยนักศึกษาที่รับหน้าที่เป็นพิธีกรภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กล่าวนำเข้าสู่งาน จากนั้น ชาคริต ภูแล่นนา นายกสโมสรนักศึกษา และ นวพร เล้าอรุณ กรรมการสโมสรนักศึกษา กล่าวคำขอบคุณและระลึกพระคุณอาจารย์ในภาษาไทย และภาษาอังกฤษ หลังจากนั้นนักศึกษาที่ร่วมพิธีได้เข้ารับคำอวยพรจากอาจารย์อย่างใกล้ชิด อีกหนึ่ง Hi-light ของงานไหว้ครู SIT ให้สมกับความเป็นคณะไอที กลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ได้พัฒนาเว็บไซต์ SIT WAIKRU เพื่อเป็นช่องทางให้นักศึกษาทุกระดับทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก รวมถึงศิษย์เก่าได้แสดงความขอบคุณต่อคณาจารย์ SIT นอกจากนี้ยังมีการมอบประกาศนียบัตรให้แก่นักศึกษาที่ได้รับทุนเรียนดี และนักศึกษาที่ได้รับรางวัลจากการเข้าร่วมการแข่งขันทั้งองค์กรในประเทศและต่างประเทศ ปีการศึกษา 2567 เพื่อให้กำลังใจนักศึกษา ตระหนักถึงผลงานอันทรงคุณค่าของนักศึกษา สร้างขวัญ กำลังใจ และกระตุ้นให้นักศึกษาทำผลการเรียนให้ดีต่อไป
The 23rd IEEE/WIC International Conference on Web Intelligence and Intelligent Agent Technology (WI-IAT’24)
The 23rd IEEE/WIC International Conference on Web Intelligence and Intelligent Agent Technology WI = Artificial Intelligence in the Connected World December 9-12, 2024, Bangkok, Thailand A Hybrid Conference with both Online and Offline Modes https://www.wi-iat.com/wi-iat2024/index.html About the Conference The 2024 IEEE/WIC International Conference on Web Intelligence and Intelligent Agent Technology (WI-IAT'24) provides a premier international forum to bring together researchers and practitioners from diverse fields for presentation of original research results, as well as exchange and dissemination of innovative and practical development experiences on Web intelligence and intelligent agent technology research and applications. Academia, professionals and industry people can exchange their ideas, findings and strategies in deepening the understanding of all Web's entities, phenomena, and developments in utilizing the power of human brains and man-made networks to create a better world and intelligent societies. More specifically, the fields of how artificial intelligence is impacting the Web of People, the Web of Data, the Web of Things, the Web of Trust, the Web of Agents, the Web in industry, society, health, and smart living, the Web of Everything, and emerging AIGC in WI-IAT. The first international conference of Web Intelligence and Intelligent Agent Technology (WI-IAT'01) was held in Maebashi, Japan, 2001. Then, it followed by WI-IAT'03 in Halifax, Canada, WI-IAT'04 in Beijing, China, WI-IAT'05 in Compiegne, France, WI- IAT '06 in Hong Kong, WI-IAT'07 in Silicon Valley, USA, WI-IAT'08 in Sydney, Australia, WI-IAT'09 in Milano, Italy, WI-IAT'10 in Toronto, Canada, WI-IAT'11 in Lyon, France, WI-IAT'12 in Macau, China, WI-IAT'13 in Atlanta,
Welcome to SIT ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2567
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) ได้จัดงานปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรีและผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2567 เพื่อต้อนรับสมาชิกใหม่ SIT เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ปีนี้คณะ ฯ ได้จัดงานปฐมนิเทศสำหรับผู้ปกครองควบคู่ไปกับงานปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ โดยเชิญผู้ปกครองเข้าประชุมเพื่อร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาประสบความสำเร็จในการเรียนร่วมกันกับคณะ ฯ ในการนี้ ผู้บริหารนำโดย ผศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะ SIT ร่วมกับ ผศ. ดร.ศศิธร สุวรรณเทพ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ ประธานหลักสูตร และอาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (CS) และหลักสูตรนวัตกรรมบริการดิจิทัล (DSI) กล่าวต้อนรับและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้กับนักศึกษาและผู้ปกครอง ไฮไลท์ในปีนี้อยู่ที่การบรรยายพิเศษจากศิษย์เก่า SIT ดร.สุทัศน์ รงรอง ศิษย์เก่ารุ่นที่ 8 หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) ตำแหน่ง Founder & CEO Do in Thai ที่มาบรรยายในหัวข้อ “การแก้ไขปัญหาแรกในชีวิตมหาลัย คือการเข้าใจเป้าหมายของตัวเอง” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและเป้าหมายในการเรียน การใช้ชีวิตให้กับนักศึกษาใหม่
SIT Origin# 1 ต้อนรับน้องใหม่ SIT
เมื่อวันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2567 สโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศได้จัดกิจกรรม SIT Origin#1 ซึ่งเป็นโครงการสานสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) (CS) และหลักสูตรนวัตกรรมบริการดิจิทัล (DSI) นอกจากนี้ยังเป็นการสานความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องภายในคณะ SIT อีกด้วย กิจกรรมในงานประกอบด้วย กิจกรรมฐาน กิจกรรม Web Kitchen เป็นการจำลองการทำงานของ Web Architecture กิจกรรม Talk Session ถ่ายทอดประสบการณ์และแนวทางการเตรียมตัวในการเรียนโดยรุ่นพี่ SIT ในพื้นที่การเรียนรู้ของ SIT ทั้งอาคารการเรียนรู้หุวิทยาการ (LX) และอาคารเรียนรวม 2 (CB2) เพื่อให้น้อง ๆ ได้รู้จักพื้นที่การเรียนรู้ของ SIT ไปในตัวด้วย ปิดท้ายด้วยการแสดงดนตรีสดจากกลุ่ม SIT Music
งานปฐมนิเทศระดับบัณฑิตศึกษา SIT KMUTT ปีการศึกษา 1/2567
วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) จัดงานปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ระดับบัณฑิตศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) ประจำภาคการศึกษา 1/2567 ณ ห้องประชุม ชั้น 12 อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ งานปฐมนิเทศ ฯ ครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผศ. ดร. ประเสริฐ คันธมานนท์ รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ ผศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) กล่าวต้อนรับนักศึกษาเข้าสู่ครอบครัว SIT นอกจากนั้นผู้บริหารคณะ ฯ อาจารย์ประจำคณะ ฯ และเจ้าหน้าที่ได้นำเสนอข้อมูลและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ด้านการเรียน และบริการด้านต่าง ๆ โดยมีนักศึกษาเข้าร่วม 97 คน ภายในงานแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกจะเป็นการให้ข้อมูลกลางที่นักศึกษาทั้ง 4 หลักสูตรได้แก่ หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) หลักสูตรระบบสารสนเทศทางธุรกิจดิจิทัล (DBIS) หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (CS) และ หลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์เพื่อวิทยาการข้อมูล (SED) จำเป็นต้องทราบ ช่วงที่ 2 จะแยกนักศึกษาตามหลักสูตรซึ่งนอกจากนักศึกษาจะได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์แล้ว ยังได้ร่วมพูดคุย ซักถามข้อสงสัยในบรรยากาศที่ใกล้ชิดและเป็นกันเองระหว่างอาจารย์ประจำหลักสูตร และนักศึกษาอีกด้วย
มอบโอกาสทางการศึกษาลดช่องว่างดิจิทัล โรงเรียน ตชด.บ้านคลองน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์
วันที่ 13-14 กรกฎาคม 2567 คณะทำงานโครงการลดช่องว่างดิจิทัล นำโดย ดร. วิทิดา จงศุภชัยสิทธิ์ พร้อมด้วยทีมงานบุคลากร และนักศึกษาเดินทางลงพื้นที่โรงเรียนพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ลงพื้นที่ไปส่งมอบคอมพิวเตอร์ใหม่ให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคลองน้อย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน จำนวน 10 เครื่อง พร้อมจัดฝึกอบรมการใช้งานและดูแลรักษาเบื้องต้นให้กับคุณครูที่สนใจ โดยมี คุณภาสิทธิ์ เจริญจิตรกรรม เจ้าหน้าที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นวิทยากร และมีการอบรมการใช้งงาน Canva ให้กับคุณครูโรงเรียนในพื้นที่ 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคลองน้อย และโรงเรียนเนรศวรห้วยผึ้ง เพื่อใช้ผลิตสื่อการเรียนการสอน และสื่อประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน โดยคุณสุรพงษ์ เกียรติพงสา ศิษย์เก่า SIT
เปลี่ยนไอเดียเป็นนวัตกรรม IT Hackathon 2024 Be Smart, Be Healthy
วันที่ 3-9 กรกฎาคม 2567 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ SIT จัดกิจกรรม "IT Hackathon 2024" ขึ้นในช่วงปิดภาคการศึกษาให้กับนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นปี 1 ได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมบูรณาการ เพื่อให้มีความพร้อมในการทำงานจริง สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ ผ่านกิจกรรมในรูปแบบ Hackathon ภายใต้ Concept "Be Smart, Be Healthy" ที่มีกิจกรรมอื่น ๆ ให้ยืดเส้นยืดสายตลอดระยะเวลากิจกรรม เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับเพื่อน และอาจารย์ภายในหลักสูตร กิจกรรมใน 3 วันแรก เป็นการอบรมการใช้งานเครื่องมือ Figma และพื้นฐาน UX/UI จากรุ่นพี่สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรภาษาอังกฤษ (CS) และ อบรมการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันด้วย Node.js โดย ผศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นผู้สอน เพื่อพัฒนาพื้นฐานด้านการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันให้กับนักศึกษาก่อนเริ่มกิจกรรม Hackathon โดยมีระยะเวลาให้พัฒนาผลงานเป็นเวลา 4 วัน เพื่อมานำเสนอในวันสุดท้ายของกิจกรรม ในเย็นของวันที่ 6 มีกิจกรรมกีฬา "IT Be Healthy" ร่วมเล่นกีฬาแข่งขันร่วมกับอาจารย์ เพื่อนผ่อนคลาย กิจกรรมเป็นไปด้วยความสนุกสนาน ก่อนกลับไปพัฒนาผลงานต่อเพื่อนำเสนอในวันสุดท้ายวันนำเสนอผลงานที่ทุกทีมได้นำผลงานที่พัฒนาตลอดระยะเวลา 4 วันมานำเสนอ พร้อมประกาศผลการแข่งขัน และมอบรางวัลให้กับผู้ชนะ กิจกรรม "IT Hackathon 2024" ประสบความสำเร็จอย่างดี นักศึกษาได้รับประสบการณ์และทักษะที่มีคุณค่า กิจกรรมนี้ยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากันเองและกับอาจารย์อีกด้วย
SIT KMUTT x สมาคมศิษย์เก่า ขยายโอกาสทางการศึกษาลดช่องว่างดิจิทัล พื้นที่จังหวัดสุพรรณฯ
วันที่ 6-7 กรกฎาคม 2567 คณะทำงานโครงการลดช่องว่างดิจิทัล ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ นำโดย อ.กิตติพันธุ์ พัวพลเทพ ผู้ช่วยคณบดีด้านภาพลักษณ์องค์กร พร้อมด้วยทีมงานบุคลากร และนักศึกษาเดินทางลงพื้นที่โรงเรียนพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี ลงพื้นที่ไปส่งมอบคอมพิวเตอร์ใหม่ให้กับโรงเรียนจำนวน 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนคี่ตี้ โรงเรียนวัดศุขเกษม โรงเรียนวัดดารา และโรงเรียนบ้านโพธิ์ศรี เพื่อใช้ในการเรียนการสอน จำนวน 50 เครื่อง พร้อมทำการซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ที่เคยนำไปบริจาคให้กับโรงเรียนวัดบางใหญ่ เปลี่ยน HDD เป็นแบบ SSD จำนวน 10 เครื่อง เพื่อให้คอมพิวเตอร์ให้สามารถใช้งานได้มีประสิทธิภาพขึ้น พร้อมจัดฝึกอบรมการใช้งานและดูแลรักษาเบื้องต้นให้กับคุณครูที่สนใจ โดยมี คุณภาสิทธิ์ เจริญจิตรกรรม เจ้าหน้าที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นวิทยากร และร่วมกับเรียนวิธีคิดผ่านวิธีโค้ด โดย พี่ตูน ทรงกลด แสงวรทิพย์ Co-Founder of Spark Education และ พี่ธัญ อภิญญา หิรัญญะเวช Co-Founder of Spark Education ศิษย์เก่า IT มาร่วมอบรม Visualize Programming Concept ให้กับคุณครู บรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนาน นอกจากนี้ทีมศิษย์เก่าจากสมาคมศิษย์เก่ายังร่วมแบ่งทีมกันปรับปรุงระบบเครือข่ายสาย และไร้สายเป็นมาตรฐานใหม่ครอบคลุมทั้งโรงเรียน ให้กับโรงเรียนคี่ตี้ โรงเรียนวัดบางใหญ่ และและในวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 ได้ลงพื้นที่อีกครั้งเพื่อปรับปรุงระบบเครือข่าวให้กับโรงเรียนวัดดารา รวมจำนวน 3 โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี
นักศึกษา CS@SIT ตัวแทนประเทศไทย 1 ใน 35 คน รวมโครงการ ฯ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจใน 5 ประเทศ
SIT KMUTT ขอแสดงความยินดีกับ สุธาสินี ไตรทิพย์ตระกูล นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) (CS@SIT) ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศ 1 ใน 35 คน จากนิสิต/นักศึกษาทั้งสิ้นจำนวน 850 คน จากสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคทั้ง 16 แห่งทั่วประเทศ ในการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเร่งการเป็นผู้ประกอบการจากมหาวิทยาลัยในเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคร่วมกับพันธมิตรระหว่างประเทศ (World Class Opportunity with Experiential Learning Program) ปีที่ 2 ที่ร่วมจัดโดย สำนักงานปลัดกระทรวง อว. และอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ โดยตัวแทนประเทศไทยทั้ง 35 คนนี้จะได้เดินทางแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ (Incubator) ในต่างประเทศ จำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/share/p/rVwHHytYkDtRFHvB/ https://mgronline.com/science/detail/9670000058274 https://www.naewna.com/lady/815240
SIT ลงพื้นที่จังหวัดราชบุรี ส่งมอบคอมพิวเตอร์ในโครงการลดช่องว่างดิจิทัล ปี 2567
วันที่ 29-30 มิถุนายน 2567 คณะทำงานโครงการลดช่องว่างดิจิทัล นำโดย ผศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ดร. วิทิดา จงศุภชัยสิทธิ์ พร้อมด้วยทีมงานบุคลากร และนักศึกษา เดินทางลงพื้นที่โรงเรียนพื้นที่ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี เป็นจังหวัดที่ 3 ที่โครงการลงพื้นที่ไปส่งมอบคอมพิวเตอร์ ให้กับโรงเรียนจำนวน 5 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดรางเสน่ห์นครจันทร์ โรงเรียนสมนึกวิทิศวรการ โรงเรียนบ้านห้วยผาก โรงเรียนบ้านหนองนกกะเรียน และโรงเรียนรุจิรพัฒน์ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน จำนวน 42 เครื่อง พร้อมจัดฝึกอบรมการใช้งานและดูแลรักษาเบื้องต้นให้กับคุณครูที่สนใจ และร่วมกันบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์เก่าที่ทางโรงเรียนมีอยู่ให้สามารถกลับมาใช้งานได้ โดยมีคุณวีระศักดิ์ ถัมภ์บรรฑุ นักคอมพิวเตอร์ เป็นวิทยากร นอกจากนี้คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ยังมอบอุปกรณ์กีฬาให้กับโรงเรียน และร่วมพูดคุยกับผู้อำนวยการ ครู เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในการร่วมกันพัฒนาด้านดิจิทัลให้กับโรงเรียนอย่างไร้ขีดจำกัด
SIT รับรางวัลเชิดชูเกียรติประเภทหน่วยงาน และ KMUTT Engagement Survey Recognition ในงานเชิดชูเกียรติบุคลากร มจธ. ประจำปี 2566
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องคามีเลีย ชั้น 1 โรงแรมวอลดอร์ฟ แอสโทเรีย กรุงเทพฯมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) โดยสำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล จัดงานเชิดชูเกียรติบุคลากร มจธ. ประจำปี 2566 เพื่อแสดงความชื่นชมและยินดีกับคณาจารย์ นักวิจัย หน่วยงาน และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ที่ได้ช่วยสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย ซึ่งได้ร่วมกันคิดค้นสร้างสรรค์ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย และงานนวัตกรรมที่มีคุณภาพเป็นที่ประจักษ์และปรากฏสู่สาธารณะจนได้รับรางวัลต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ในครั้งนี้ SIT ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติประเภทหน่วยงาน ในผลงาน “BIDC Awards 2023 ” สาขา e-Learning ในหัวข้อ Best e-Learning Award for Business รางวัลสุดยอด e-Learning เพื่อธุรกิจ ผลงาน “WORK AS A TEAM WITH MICROSOFT TEAMS” ทํางานเป็นทีมด้วยไมโครซอฟท์ทีม โดย อ.กิตติพันธุ์ พัวพลเทพ ผู้ช่วยคณบดีด้านภาพลักษณ์องค์กร และรางวัล "KMUTT Engagement Survey Recognition" โดยมี ผศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ารับรางวัล
อบรม Introduction to DB2 Training พัฒนาทักษะช่วงปิดเทอม ให้นักศึกษา IT | CS | DSI
วันที่ 25-28 มิถุนายน 2567 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ SIT KMUTT จัดอบรม Introduction to DB2 Training ขึ้นโดยมี ผศ.ดร. ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นผู้สอน การอบรมนี้มุ่งพัฒนาทักษะด้าน DB2 เบื้องต้นแก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) จากสาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล (DSI) และ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (CS) จำนวน 32 คน เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการเรียนเพิ่มเติมในช่วงระหว่างปิดเทอม และเตรียมความพร้อมก่อนเรียน ในภาคการศึกษาที่ 1/2567 โดยใช้ Tools Data Studio IBM DB2 ครอบคลุมเนื้อหาการสร้างและจัดการฐานข้อมูล การเขียนคำสั่ง SQL การออกแบบและสร้างตารางข้อมูล เบื้องต้น และอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม Workshop ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจริง และมีการมอบ Certificate ให้กับนักศึกษาที่เข้าอบรม ณ ห้อง Training Room 11-3 อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX)
SIT KMUTT ต้อนรับคณะนักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา
ด้วยศูนย์พัฒนาสมรรถนะสากล (GCDC) คณะศิลปศาสตร์ จัดโครงการค่ายคอมพิวเตอร์และทักษะดิจิทัล ให้กับคณะนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาจากโรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา จังหวัดชุมพร ในวันที่ 28 มิถุนายน 2567 เวลา 11.00-12.00 น. ณ อาคาร LX ห้อง 10/3 คณะนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา กว่า 30 คน เข้าเยี่ยมชม และร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านทักษะดิจิทัล ณ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก ผศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมกิจกรรมแนะนำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านทักษะดิจิทัล และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แชร์ประสบการณ์การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลจากรุ่นพี่จากสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) กิจกรรมในครั้งนี้ มุ่งมั่นส่งเสริมให้นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับประสบการณ์ นำความรู้และทักษะที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้ การทำงาน และชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
SIT ลดช่องว่างดิจิทัล ลงพื้นที่ส่งมอบคอมพิวเตอร์ โรงเรียนวัดตาลกง จ.เพชรบุรี
วันที่ 23 มิถุนายน 2567 คณะทำงานโครงการลดช่องว่างดิจิทัล นำโดย รศ. ดร.พรชัย มงคลนาม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจกรรมชุมชน อ.อัจฉรา ธารอุไรกุล พร้อมด้วยทีมงานบุคลากรและนักศึกษา เดินทางลงพื้นที่โรงเรียนพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี เพื่อส่งมอบคอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียนวัดตาลกง(ธรรมศรียาทร) อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี เพื่อใช้ในการเรียนการสอน จำนวน 13 เครื่อง พร้อมจัดฝึกอบรมการใช้งานและดูแลรักษาเบื้องต้นให้กับคุณครูที่สนใจ โดยมีคุณวีระศักดิ์ ถัมภ์บรรฑุ นักคอมพิวเตอร์ เป็นวิทยากร นางสาวฐิติรัตน์ กลิ่นจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนโรงเรียนวัดตาลกง (ธรรมศรียาทร) กล่าวว่า "เดิมโรงเรียนได้ทำความร่วมมือกับวิทยาลัยการอาชีพในพื้นที่ เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสในการเรียนด้านคอมพิวเตอร์ โดยจะพานักเรียนออกไปเรียนคอมพิวเตอร์ที่วิทยาลัยการอาชีพอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เนื่องจากโรงเรียนไม่มีคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอน โดยการได้รับคอมพิวเตอร์ในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ให้นักเรียนสามารถเข้ามาสืบค้นข้อมูลได้ด้วยตนเอง และได้พัฒนาทักษะพื้นฐานในการใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้น พร้อมบูรณาการการเรียนการสอนภายในห้องเรียน และพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักเรียนได้เป็นอย่างดี "
หลักสูตรไอทีบางมด จัดอบรม Advanced Programming ช่วงปิดเทอม พัฒนาทักษะผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) จัดอบรม Advanced Programming ช่วงปิดเทอม พัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ "Advanced Programming" ระหว่างวันที่ 17-21 มิถุนายน 2567 ณ อาคารพหุวิทยาการ (LX) ชั้น 11 ให้กับนักศึกษาในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ระดับปริญญาตรี จำนวน 103 คน โดยมี ผศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และ ผศ. ดร.สายชล ใจเย็น อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นผู้สอน โดยมีหัวข้อในการอบรมคือ Object-Oriented Programming Concepts เรียนรู้แนวคิดพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ Encapsulation, inheritance, และ polymorphism Abstract classes and Interfaces เข้าใจการใช้งาน abstract class และ interface ในการออกแบบโปรแกรม File I/O ฝึกฝนการอ่านและเขียนข้อมูลจากไฟล์ Database Programming เรียนรู้หลักการเขียนโปรแกรมฐานข้อมูล Collection Framework ฝึกฝนการใช้งาน collection framework การอบรมครั้งนี้ มุ่งเน้นให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 พัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมขั้นสูง เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในวิชา Advanced Programming และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการเรียน และ พัฒนาตัวเอง เพื่อความสำเร็จในอนาคต โดยมีการประเมินหลักการอบรมด้วยแบบทดสอบ เพื่อวัดความเข้าใจ และความรู้ตามวัตถุประสงค์ในการจัดอบรมสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ และการบันทึกชั่วโมงเข้าร่วมการอบรม
SIT ลดช่องว่างดิจิทัล มอบคอมพิวเตอร์ชุดแรกสู่โรงเรียนในอยุธยา เริ่มต้นโครงการปี 2567
เปิดโครงการลดช่องว่างดิจิทัลในปี 2567 ส่งมอบคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ดำเนินการส่งมอบเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่ชนบทจำนวน 13 โรงเรียน กระจายไปในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี และประจวบคีรีขันธ์ โดยจะเดินทางลงพื้นที่ส่งมอบและจัดฝึกอบรมให้กับคณะครูตลอดช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม วันที่ 15-16 มิถุนายน 2567 คณะทำงานโครงการลดช่องว่างดิจิทัล นำโดย อ.กิตติพันธุ์ พัวพลเทพ ผู้ช่วยคณบดีด้านภาพลักษณ์องค์กร อ.อัจฉรา ธารอุไรกุล พร้อมด้วยทีมงานบุคลากรและนักศึกษา เดินทางลงพื้นที่โรงเรียนพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อส่งมอบคอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียน จำนวน 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดจงกลณี (ประสิทธิ์วิทยา) และโรงเรียนวัดวงษ์สวรรค์ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน จำนวน 28 เครื่อง นอกจากนั้นยังจัดฝึกอบรมการใช้งานและดูแลรักษาเบื้องต้นให้กับคุณครูที่สนใจ โดยมีคุณวีระศักดิ์ ถัมภ์บรรฑุ นักคอมพิวเตอร์ เป็นวิทยากร ครูทองทิพย์ บุญเหลือ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดจงกลณี (ประสิทธิ์วิทยา) จังหวัดอยุธยา กล่าวว่า “โรงเรียนในพื้นที่ยังขาดแคลนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไอที เพราะงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐนั้นจำเป็นต้องนำไปใช้ในการบริหารจัดการในด้านหลักๆ ที่จำเป็นของทางโรงเรียน ในกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านอื่นๆ ทางโรงเรียนต้องจัดหาจากหน่วยงานในพื้นที่ หรือการทอดผ้าป่าระดมทุน แต่ก็ยังไม่เพียงพอ การได้รับมอบเครื่องคอมพิวเตอร์จากโครงการลดช่องว่างดิจิทัล ถือเป็นโอกาสที่ดีทั้งของครู และเด็กนักเรียนในพื้นที่ชนบท ที่จะได้ใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนทางการศึกษาที่มีความจำเป็นในปัจจุบัน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างเท่าทันและสร้างความสนใจในการเรียน” ด้านครูน้ำผึ้ง เมฆฉาย ครูประจำสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เทคโนโลยี) จากโรงเรียนวัดวงษ์สวรรค์ ที่มีหน้าที่ดูแลด้านคอมพิวเตอร์และไอซีทีของโรงเรียน กล่าวว่า “ขอบคุณโครงการลดช่องว่างดิจิทัลที่เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ด้านไอทีกับนักเรียนในพื้นที่ชนบท โครงการนี้นอกจากจะจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไอทีมาให้กับโรงเรียนแล้ว ยังมีการให้ความรู้ในการใช้งาน ติดตามดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับโรงเรียนระดับประถมศึกษาที่นอกจากเครื่องมือแล้วยังต้องการความรู้ในการใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด ทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์รวมถึงความรู้ที่ได้รับจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กนักเรียนและการศึกษาของประเทศต่อไปอย่างแน่นอน”
SIT KMUTT ซ้อมหนีไฟ ประจำปี 2567 เตรียมพร้อมรับมือเหตุฉุกเฉิน
วันที่ 13 มิถุนายน 2567 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. จัดกิจกรรมฝึกซ้อมแผนอพยพหนีไฟ ประจำปี 2567 สร้างความรู้ความเข้าใจและเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากร กรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้หรือเหตุฉุกเฉินภายในอาคาร กิจกรรมในครั้งนี้ จำลองสถานการณ์การเกิดเพลิงไหม้ภายในอาคาร โดยมีสัญญาณเตือนภัยดังขึ้น บุคลากร อพยพตามเส้นทางที่กำหนดไว้ มุ่งหน้าสู่จุดรวมพลที่ปลอดภัย โดยมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล และอำนวยความสะดวก กิจกรรมฝึกซ้อมแผนอพยพหนีไฟ ถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญ ช่วยให้บุคลากร มีความรู้ความเข้าใจ เตรียมพร้อม และสามารถรับมือกับเหตุฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
SIT KMUTT อบรมพัฒนาศักยภาพอาจารย์ (PSF) สร้างความเข้าใจตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพด้านการสอน
วันที่ 12 มิถุนายน 2567 SIT KMUTT อบรมพัฒนาศักยภาพอาจารย์ (PSF) สร้างความเข้าใจตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพด้านการสอน เป็นการอบรมครั้งที่ 1 บรรยายกรอบแนวคิดสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน และ Workshop โดยมี ดร.ก้องกาญจน์ วชิรพนัง ผู้อำนวยการสำนักงานห้องเรียนวิศว์-วิทย์ สถาบันการเรียนรู้ ผู้ได้รับการรับรองคุณภาพด้านการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานอาจารย์มืออาชีพจากประเทศอังกฤษ The UK Professional Standards Framework (UK PSF) ในระดับ Senior Fellow ผู้บรรยายหลัก ร่วมกับ ผศ. ดร.อุมาพร สุภสิทธิเมธี รองคณบดีด้านบริหาร SIT ผู้ได้รับการรับรองคุณภาพด้านการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานอาจารย์มืออาชีพจากประเทศอังกฤษ The UK Professional Standards Framework (UK PSF) ในระดับ Senior Fellow และ ดร.สยาม แย้มแสงสังข์ รองคณบดีด้านประกันคุณภาพและพัฒนานักศึกษา ผู้ได้รับการรับรองคุณภาพด้านการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานอาจารย์มืออาชีพจากประเทศอังกฤษ The UK Professional Standards Framework (UK PSF) ในระดับ Fellow เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในกรอบมาตรฐานวิชาชีพด้านการสอน (Professional Standards Framework: PSF) ให้อาจารย์ของ SIT จำนวน 12 ท่าน เพื่อช่วยพัฒนาทักษะ และความรู้ของอาจารย์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของนักศึกษา โดยในกิจกรรมอาจารย์ที่เข้าร่วมจะได้ออกแบบบทเรียน การจัดการชั้นเรียน การประเมินผล และการสนับสนุนนักเรียน นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมยังได้ฝึกฝนทักษะการเขียนแผนการสอน การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินผล โดยในกิจกรรมถัดไปจะเป็นกิจกรรมต่อเนื่องเพื่อให้ อาจารย์สามารถเขียนเพื่อขอรับรองการสอนตามกรอบ UK PSF ได้ ณ ห้อง Training Room 10-1 อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX)
เปิดตัวสโมสรนักศึกษา SIT ชุดใหม่ พร้อมการสัมมนาสโมสรนักศึกษา SIT ประจำปีการศึกษา 2567
หลังการลงคะแนนเสียงรับรองคณะกรรมการสโมสรนักศึกษา SIT ประจำปีการศึกษา 2567 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยผลการลงคะแนนเสียง ดังนี้ นักศึกษา SIT ใช้สิทธิ์ออกเสียงรวม 171 คน ผลการนับคะแนนปรากฏว่า • รับรองทีมผู้สมัครเป็นคณะกรรมการสโมสรนักศึกษา จำนวน 162 เสียง คิดเป็น 94.7 % • ไม่รับรองทีมผู้สมัครเป็นคณะกรรมการสโมสรนักศึกษา จำนวน 1 เสียง คิดเป็น 0.6 % • งดออกเสียง จำนวน 8 เสียง คิดเป็น 4.7 % โดยผลการโหวตรับรองคณะกรรมการ ฯ ได้รับเสียงเกินร้อยละ 70 ของนักศึกษาที่ใช้สิทธิ์ทั้งหมด คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) จึงได้ทำการแต่งตั้งคณะกรรมการสโมสรนักศึกษา SIT ประจำปีการศึกษา 2567 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสโมสรนักศึกษา SIT SAMO 2024 หลังได้รับการรับรอง คณะกรรมการสโมสรนักศึกษา 2567 เริ่มเดินเครื่องทำงานทันที โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมาคณะ ฯ ได้จัดสัมมนาสโมสรนักศึกษาคณะ SIT ประจำปีการศึกษา 2567 ณ ห้องประชุม 4 คณะ SIT จุดประสงค์เพื่อประเมินกิจกรรมและโครงการที่สโมสร ฯ จัดในรอบปีที่ผ่านมา ถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานของแต่ละฝ่ายงาน สร้างกระบวนการทำงานสำหรับคณะกรรมการชุดใหม่และร่วมกันจัดทำปฏิทินกิจกรรมนักศึกษาสำหรับปีการศึกษา 2567
บรรยายพิเศษ Credit Bank ระบบคลังหน่วยกิต รองรับการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ หนุนเรียนรู้ไร้ขีดจำกัด
วันที่ 13 มิถุนายน 2567 สำนักงานทะเบียนนักศึกษา จัดบรรยายพิเศษ หัวข้อ "ระบบคลังหน่วยกิตเพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ด้วยมหาวิทยาลัยฯ มุ่งมั่นพัฒนาระบบเพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต เล็งเห็นถึงความสำคัญของระบบคลังหน่วยกิต ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถวางแผนการศึกษา เลือกเรียนวิชา และจบการศึกษาได้อย่างมีอิสระและยืดหยุ่น สำนักงานทะเบียนนักศึกษา จึงเชิญ รศ. ดร.บวร ปภัสราทร ที่ปรึกษาคณบดีด้านยุทธศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบคลังหน่วยกิต มาบรรยายพิเศษให้กับเจ้าหน้าที่ในสำนักงานทะเบียนนักศึกษา พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ณ ชั้น 4 อาคารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
SIT Seminar ประจำปี 2567 สัมมนาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
SIT KMUTT คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดกิจกรรมสัมมนาคณะประจำปี 2567 วันที่ 8 มิถุนายน 2567 โรงแรม Dusit Thani Hua hin เพื่อเป็นเวทีรายงานผลการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมา หลังจากการดำเนินการปรับปรุงวิธีการทำงานของพนักงานในคณะด้วยกระบวนการ คิด 4 FACT เป็นการสรุปผลลัพธ์ที่ได้ และแนวทางการนำไปต่อยอดในอนาคต คิด 4 FACT เป็นกระบวนการคิดวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางแก้ไข โดยใช้หลักการดังนี้ Frame กำหนดกรอบความคิด เป้าหมาย และขอบเขตของปัญหา Activity วิเคราะห์กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา Checking ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน และสอดคล้องกันของข้อมูล Target กำหนดแนวทางแก้ไข เป้าหมาย และวิธีการวัดผล การนำกระบวนการ คิด 4 FACT มาใช้ ช่วยให้พนักงานในคณะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว แม่นยำ และเกิดประสิทธิผลสูงสุด และกล่าวถึงทิศทางการดำเนินงานของคณะฯ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เปิดโอกาสให้บุคลากร SIT ได้ระดมสมองแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างพนักงาน คณาจารย์ ไฮไลท์พิเศษของงานในปีนี้ Session เสวนาแลกเปลี่ยน แนวโน้ม ทิศทาง เทรนด์ของโลก เพื่อการปรับเปลี่ยนและพัฒนาการดำเนินงานของคณะ โดยผู้ทรงคุณวุฒิชั้นนำ 2 ท่าน ได้แก่ ผศ. ดร.ประเสริฐ คันธมานนท์ รองอธิการบดีอาวุโสบริหารและผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) ของมหาวิทยาลัย รศ. ดร.บวร ปภัสราทร อดีตคณบดีคนแรกของคณะฯ และ ผศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศดำเนินรายการโดย ผศ. ดร.อุมาพร สุภสิทธิเมธี รองคณบดีด้านบริหาร ผศ. ดร.วรรัตน์ กระทู้ รองคณบดีด้านวิชาการ ร่วมวิเคราะห์ และแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับ แนวโน้ม ทิศทาง และเทรนด์สำคัญของโลก ที่ส่งผลต่อการศึกษา เทคโนโลยี และสังคม โอกาสและความท้าทายที่คณะเทคโนโลยีสารสนิเทศ มจธ. ต้องเผชิญในอนาคต แนวทางการปรับเปลี่ยนและพัฒนาการดำเนินงานของคณะฯ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก งานสัมมนาคณะประจำปี 2567 ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญ ที่แสดงถึงความมุ่งมั่นของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. ในการพัฒนาการเรียนการสอน และผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการของภาคส่วนต่างๆ ของสังคมได้ต่อไป
SIT Hackathon 2024 Transforming Ideas into Web Application Realities เปลี่ยนความคิดให้กลายเป็นเว็บแอปพลิเคชัน
เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดกิจกรรม “SIT Hackathon 2024” ณ Classroom 4/2 ชั้น 4 อาคารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) และ Training Room 10/3 ชั้น 10 อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX) ผู้เข้าร่วมในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล (DSI) ที่ลงทะเบียนวิชา DSI105 Programming for Digital Services จำนวน 33 คน นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (CS) ที่ลงทะเบียนวิชา CSC105 Web Application Development จำนวน 52 คน นักศึกษาฝึกงานจาก University of Toronto และ Universiti Teknologi Brunei จำนวน 2 คน นักศึกษาศิษย์เก่าหลักสูตร CS จำนวน 5 คน และกลุ่มนักศึกษาผู้จัดงาน จำนวน 21 คน โดยมี ผศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และผศ. ดร.ชลเมธ อาปณิกานนท์ รองคณบดีด้านพัฒนาความเป็นสากล และประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นประธานเปิดกิจกรรม กิจกรรมดังกล่าวมุ่งเน้นและส่งเสริมให้ใช้ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนมาประยุกต์และพัฒนาออกมาในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชันภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด กิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 Hackathon 28 ชั่วโมง สำหรับนักศึกษาหลักสูตร CS ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน และกลุ่ม 2 Mini Hackathon สำหรับนักศึกษาหลักสูตร DSI ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน โดยนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจากโจทย์จริง อีกทั้งยังมีอาจารย์ นักศึกษาปัจจุบัน และศิษย์เก่าให้คำปรึกษาตลอดกิจกรรม นอกจากนี้ในวันสุดท้ายของกิจกรรมจัดให้มีการนำเสนอผลงานต่อเพื่อนนักศึกษา คณาจารย์ และศิษย์เก่า นักศึกษาสามารถนำข้อเสนอแนะ ข้อติชมต่าง ๆ ไปปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนาทักษะในอนาคตเพิ่มขึ้นได้อีก From May 28 to June 4, 2024, the School of Information Technology at King Mongkut’s University of Technology Thonburi organized the “SIT Hackathon 2024” event. It took place in Classroom 4/2 on the 4th floor of the School of Information Technology (SIT) building and in Training Room 10/3 on the 10th floor of the Learning Exchange (LX) building. The participants included 33 first-year students from the Bachelor of Arts in Digital Service Innovation (DSI) program who were enrolled in the DSI105 Programming for Digital Services course, 52 first-year students from the Bachelor of Science in Computer Science (CS)
IT Bye Bye Party ความทรงจำสุดพิเศษ งานเลี้ยงส่งท้ายนักศึกษาไอทีบางมด ปี 4 (รหัส 63)
วันที่ 24 พฤษภาคม 2567 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ SIT จัดงาน "IT Bye Bye Party" ส่งท้ายให้นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปี 4 (รหัส 63) สู่ก้าวต่อไปในสายไอที งานจัดขึ้นในบรรยากาศอบอุ่น เต็มไปด้วยความประทับใจ โดยมี ผศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมอาจารย์ประจำสาขาวิชา เข้าร่วมงานครั้งนี้ด้วย โดยในงานมีกิจกรรมให้ร่วมสนุก และเป็นโอกาสในการรับฟังความคิดเห็นจากนักศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตร และอาจารย์ เพื่อนำไปพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
SIT R-SA EP01 @ Kanchanaburi โรงเรียนบ้านหนองหวาย จังหวัดกาญจนบุรี
วันที่ 4-6 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา สโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศจัดกิจกรรมโครงการ เอสไอที อาสา ตอนที่ 01 ณ กาญจนบุรี (SIT R-SA EP01 @ Kanchanaburi) ณ โรงเรียนบ้านหนองหวาย ตำบลหนองกร่าง อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี วัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังจิตอาสา การเสียสละเพื่อส่วนรวม รวมทั้งพัฒนาทักษะการทำงานกันเป็นทีม ทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษา อีกทั้งเพื่อสานสัมพันธ์ให้นักศึกษาต่างสาขาวิชาและต่างชั้นปี ภายในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศมีความใกล้ชิดและรู้จักกันมากขึ้น โครงการมีการหางบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติมนอกเหนือจากงบประมาณที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยและคณะ โดยสโมสร ฯ ร่วมกับกลุ่มนักศึกษา SIT Music จัดกิจกรรมเล่นดนตรีเปิดหมวกตามแหล่งชุมชนเพื่อเปิดรับบริจาค และจำหน่ายของที่ระลึก รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายได้มอบให้แก่โรงเรียนในรูปแบบสิ่งของและเงินบริจาค ในครั้งนี้โครงการมีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 40 คน โดยแบ่งเป็นนักศึกษาต่างชาติจำนวน 6 คนและนักศึกษาไทยจำนวน 34 คน การดำเนินโครงการครั้งนี้ นักศึกษามีส่วนร่วมในการปรับปรุงและซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้างภายในโรงเรียนบ้านหนองหวาย รายละเอียด ดังนี้ การวาดภาพและทาสีบนพื้นทางเดินตามหลักการจัดการเรียนรู้ตามหลักพื้นฐานสมอง : Brain-Based Learning (BBL) เพื่อสร้างพื้นที่การเรียนรู้และสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการละเล่น โดยนำเสนอเนื้อหาเรื่อง การเรียนรู้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ และเลข 1-10 การสร้างเกมและสื่อการเรียนรู้ด้วยสติ๊กเกอร์บนพื้นห้องเรียน ซึ่งออกแบบให้สอดคล้องกับเนื้อหาการเรียนของเด็กนักเรียนให้มีสีสันลวดลายที่สวยงาม อาทิเช่น เกมตั้งเต พยัญชนะภาษาไทย พยัญชนะภาษาอังกฤษ เกมกระต่ายและดวงจันทร์ การปรับปรุงแปลงเกษตร โดยการสร้างเสาไม้เลื้อย การไถพรวนหน้าดิน โดยแปลงเกษตรนี้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมโครงการอาหารกลางวันของนักเรียนในโรงเรียน ฯ อีกทั้งพืชผลที่เหลือจะถูกนำไปขายแก่ชุมชนเป็นรายได้ของทางโรงเรียนต่อไป การปรับปรุงโรงเพาะเห็ด โดยมีการก่ออิฐและฉาบปูนปิดรอยรั่วและทาสีอาคารภายนอกให้สวยงาม และก่อสร้างชั้นวางเชื้อเพาะเห็ดให้เหมาะสมและแข็งแรงยิ่งขึ้น พร้อมทั้งยังติดตั้งระบบรดน้ำแบบละอองหมอกเพื่อเพิ่มความชื้นแก่เห็ด ถือว่าเป็นอีกหนึ่งโครงการเพื่อส่งเสริมโครงการอาหารกลางวันของน้องนักเรียนอีกด้วย การทาสีและปรับปรุงเครื่องเล่นสนามเด็กเล่นและโต๊ะนักเรียน เพื่อความสวยงาม มีสภาพพร้อมใช้งาน นอกจากนี้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการยังได้ร่วมทำกิจกรรมกับนักเรียนในโรงเรียนซึ่งมีทั้งนักเรียนสัญชาติไทยและสัญชาติเมียร์มา กิจกรรมที่จัดมีจุดประสงค์เพื่อให้เด็กนักเรียนได้ความรู้นอกห้องเรียน กล้าแสดงออก และฝึกทักษะในการสื่อสาร โดยกิจกรรมแบ่งออกเป็น 5 ฐาน ได้แก่ ฐานทำเทียนไข ฐานทำไอศกรีมทำมือ ฐานใบ้คำ ฐานส่งถั่ว ฐานระบายสี กิจกรรมดังกล่าวได้รับความร่วมมือทั้งจากนักศึกษาไทยและต่างชาติเป็นอย่างดี นอกจากนี้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ SIT R –SA ได้เตรียมอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนเพื่อไปมอบให้แก่เด็กนักเรียน (อ้างอิงจากหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ 2551 ปรังปรุง 2560) โดยออกแบบให้เหมาะสมตามระดับชั้นของนักเรียน ได้แก่ ระดับชั้นอนุบาล และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวมไปถึงได้มอบสิ่งของที่จำเป็นให้แก่โรงเรียน อาทิเช่น อุปกรณ์การตัดผมที่จำเป็นสำหรับคุณครู เนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ผู้ปกครองจึงไม่สะดวกพาลูกหลานไปที่ร้านตัดผม คุณครูในโรงเรียนจึงเป็นผู้ตัดผมให้แก่นักเรียนเอง รวมทั้งการบริจาคหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์ ยาสามัญประจำบ้าน อุปกรณ์ด้านกีฬาและส่งเสริมการออกกำลังกาย “ขอขอบคุณคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ช่วยปรับปรุงโรงเรียนในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น BBL การพัฒนาโรงเพาะเห็ด การปรับปรุงแปลงเกษตร การปรับปรุงห้องเรียนและสนามเด็กเล่น อีกทั้งยังบริจาคเงิน ของใช้ที่สำคัญ สื่อการสอนให้แก่ทางโรงเรียนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์แก่นักเรียนด้วย” คุณครูศศิธร คล้ายเจ็ก ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองหวายกล่าว โครงการนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง หลังจบโครงการ ฯ นักศึกษาสามารถส่งมอบผลงานและการปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างเท่าที่นักศึกษาในสายวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศพึงกระทำได้ เพื่อให้ทางโรงเรียนและน้องนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองหวายได้รับประโยชน์สูงสุด ส่วนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้รับนอกเหนือจากการฝึกทักษะการทำงานร่วมกัน สิ่งสำคัญคือการได้ปลูกฝังให้นักศึกษามีความเสียสละเพื่อส่วนรวม คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน และมีจิตอาสาในการบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ
CSxCulture: International Students Bridge the Gap with Ayutthaya Trip!
University is all about learning, not just for your classes, but also for life! It's a chance to make friends and feel like you belong. This is especially important for international students who might feel new and far from home. Our CS program has a lot of international students, and we wanted to make sure everyone feels welcome. We noticed that some activities weren't very inclusive, and there seemed to be a gap between Thai and international students. Maybe it was language, maybe it was shyness, but we wanted to bridge that gap! So, a group of us (first and second years) decided to take action. We wanted to plan something fun that would bring everyone together and help us learn about each other's cultures. After some brainstorming, we picked Ayutthaya, an amazing ancient city in Thailand, as our destination. It seemed like the perfect place to share Thai culture, practice some language, and just have a great time together! This trip to Ayutthaya is just the first step for CSxCulture! We're excited to keep planning events that bring our CS community closer together. Our CSxCulture trip to Ayutthaya was a two-day adventure designed to explore Thai culture and build friendships between Thai and international students. Our first day was all about immersing ourselves in the wonders of Ayutthaya Historical Park. To make sure everyone felt comfortable and included, we split the students into small groups. Each
ONE DAY with me IT BANGMOD | มาลองเป็นเด็กไอทีบางมด 1 วัน
วันที่ 29 เมษายน 2567 SIT KMUTT จัดกิจกรรม "ONE DAY with me IT BANGMOD" มาลองเป็นเด็กไอทีบางมด 1 วัน เปิดโอกาสให้น้อง ๆ มัธยมมาค้นหาตัวเอง และได้เรียนกับอาจารย์ SIT KMUTT ผ่าน WORKSHOP 5 หัวข้อ แบบเด็กไอที ✅ Workshop | IDEATION` WORKSHOP เปลี่ยนโจทย์ปัญหา ให้เป็นนวัตกรรมสุดล้ำ | ✅ Workshop | Object Recognition สร้าง AI สุดเจ๋ง แยกวัตถุ ด้วย Google Colab | ✅Workshop | Wi-Fi ตัวร้าย กับ เรื่องกวนใจในองค์กร | ✅Workshop | How the Web Works เจาะลึกเบื้องหลังเว็บไซต์ <เว็บไซต์ != หน้าเว็บ/> | ✅Workshop | Com-Sci Thinking By CS@SIT (คิดอย่างวิทย์-คอม) พร้อมพูดคุย รับประสบการณ์ตรงไปมากมายกับ ✅Talk| Journey to be IT professional เส้นทางสู่นักไอทีมืออาชีพ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากน้อง ๆ มัธยม ที่มาเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้กว่า 200 คน อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX)
โครงการ SIT Pitching Challenge 2024
เมื่อวันที่ 20 และ 27 เมษายน 2567 สโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดโครงการ SIT Pitching Challenge 2024 หรือสนามเรียนรู้สู่การเป็นผู้ประกอบการทางเทคโนโลยี โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและนำเสนอผลงานสำหรับนักศึกษาในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาในหลักสูตรผนวกกับทักษะที่ได้รับจากการอบรม เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการนำเสนอโครงงานต่าง ๆ ได้อย่างน่าสนใจและมีหลักการ ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดได้ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขัน การนำเสนอผลงานหรือโปรเจค หรือการทำงานในอนาคต กิจกรรมในวันแรก นักศึกษาได้รับเกียรติจาก พี่เจ คุหฤษฎ์ หัตถวงษ์ Co-Founder และ COO จาก บริษัท POKPOK ป๊อกๆ รถอาหารแสนอร่อย สตาร์ทอัพฟู้ดเดลิเวอรียุคใหม่ มาบรรยายพิเศษเรื่อง “Mastering the Basics for Business Pitching” ให้แก่กลุ่มนักศึกษาที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมและในช่วงบ่าย เป็นการจัดกิจกรรมเวิร์คช็อปเพื่อสร้างประสบการณ์และทักษะการนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งแบบเดี่ยวและแบบทีม อาทิ การ Evaluator Pitch และ Business Pitching เป็นต้น ส่วนกิจกรรมในวันที่สอง เป็นการนำเสนอผลงานที่แต่ละกลุ่มได้รับโจทย์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมี ดร. สุณิสา สถาพรวจนา ผู้ช่วยคณบดีด้านกิจกรรมนักศึกษา และ ดร. วทัญญู สุขเสงี่ยม อาจารย์ประจำคณะ SIT ร่วมรับฟังการนำเสนอและมอบรางวัล
IT Project D-Day Exhibition 2024 ผลงานสุดเจ๋งของเด็ก ไอทีบางมด
ด้วยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กำหนดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ต้องทำโครงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งเป็นนักศึกษาปีสุดท้าย ได้บูรณาการความรู้ความเข้าใจในการเรียนวิชาต่างๆโดยสร้างผลงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และเป็นการพัฒนาศักยภาพตนเองก่อนการเข้าทำงานจริงในสถานประกอบการ ซึ่งนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะต้องผ่านการพิจารณาคัดเลือกจากกรรมการคัดเลือกผลงาน ส่งเสริมให้นักศึกษานำเสนอและสาธิตผลงานที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญและความเป็นมืออาชีพ แสดงให้เห็นถึงเป้าหมาย ขอบเขต และกระบวนการพัฒนาผลงานที่ชัดเจนและมีคุณค่า ภายในงาน มีคณะกรรมการเป็นศิษย์เก่าที่มีประสบการณ์ด้านเทคโนโลยี มาร่วมตัดสินผลงาน 12 คน บริษัทที่เข้าร่วมงาน 22 บริษัท นักศึกษาที่สนใจ รวมผู้เข้าร่วมทั้งหมด กว่า 300 คน โดยผลงานของนักศึกษาที่ได้รับรางวัลมีดังนี้ รางวัลที่ 1 >> ระบบเช็คชื่อนักศึกษาด้วยการรู้จำใบหน้าและการเรียนรู้เชิงลึก รางวัลที่ 2 >> ArsaHub: Gamification Platform >> ระบบทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายออนไลน์ (Plutocrat) รางวัลที่ 3 >> ระบบแบ่งปันและจัดเก็บสื่อจากงานคอนเสิร์ต (ริทึมรีคอล) >> ระบบบริหารที่จอดรถอัจฉริยะ (Smart Parking Management System) รางวัล Popular vote >> Unity Do ระบบรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรมและแนะนำกิจกรรมที่เหมาะสม
เสริมทักษะดิจิทัล SIT KMUTT จัด Workshop API Chatbot ให้นักศึกษา DSI ชั้นปีที่ 1
วันที่ 9 เมษายน 2567 SIT KMUTT จัด Workshop " API Chatbot บน Line Application” ให้กับนักศึกษา สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล (DSI) ชั้นปีที่ 1 ให้ความรู้ และเทคนิคการสร้าง Chatbot โดยใช้ API ยอดนิยม เน้นทักษะการเขียนโปรแกรม การออกแบบระบบ และการใช้งาน API ผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจหลักการทำงานของ Chatbot พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรม อาคาร LX โดย ผศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
นักศึกษา Hochschule Darmstadt University of Applied Sciences ดูงาน SIT KMUTT
วันที่ 2 เมษายน 2567 นักศึกษาจาก Hochschule Darmstadt University of Applied Sciences ประเทศเยอรมนี เข้าดูงาน SIT KMUTT คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. พูดคุยแลกเปลี่ยนกับ ผศ. ดร.ชลเมธ อาปณิกานนท์ รองคณบดีด้านพัฒนาความเป็นสากล และประธานหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) และ รศ. ดร.โจนาธาน โฮยิน ชาน ที่ปรึกษาคณบดีด้านความร่วมมือนานาชาติ พร้อมพาเยี่ยมชมการเรียนการสอน และพื้นที่การเรียนรู้ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ . On April 2, 2567, students from Hochschule Darmstadt University of Applied Sciences, Germany, visited the School of Information Technology (SIT) at King Mongkut's University of Technology Thonburi (KMUTT). They engaged in discussions and exchanges with Asst. Prof. Dr. Chonlameth Arpnikanondt, the Associate Dean for International Affairs and the Program Chair of Computer Science (English Program) and Assoc. Prof. Dr. Jonathan Hoyin Chan, the consultant to the dean for international cooperation. They also toured the teaching and learning facilities of the School of Information Technology.
รุ่นพี่พาทัวร์ พื้นที่การเรียนรู้ SIT KMUTT ชมการเรียนรู้จริง พูดคุยแลกเปลี่ยนกับอาจารย์
บรรยากาศหลังสอบสัมภาษณ์ TCAS 2 รอบ Active Recruitment ระดับปริญญาตรี ทั้ง 3 หลักสูตร เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2567 โดยมีนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ ที่ผ่านการคัดเลือกแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เข้ารับการสัมภาษณ์ที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ อีกทั้งยังได้เยี่ยมชมห้องเรียน พื้นที่การเรียนรู้ สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ของคณะ และได้รับคำแนะนำดี ๆ ในเรื่องการเรียนการสอนจากประธานหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ดร.โอฬาร โรจนพรพันธุ์ และอาจารย์กิตติพันธุ์ พัวพลเทพ ผู้ช่วยคณบดีด้านภาพลักษณ์องค์กร
SIT KMUTT ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เมื่อวันอังคารที่ 12 มีนาคม 2567 SIT KMUTT จัดโครงการอบรม เรื่อง การอนุรักษ์พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรของคณะ ในการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการเก็บข้อมูลการวิเคราะห์หาแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่มีนัยสำคัญจากกิจกรรมต่าง ๆ และหาแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยมีวิทยากรจากคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม ผศ.ดร.สิริลักษณ์ เจียรากร มาให้ความรู้ในวันดังกล่าว
SIT Focus Group รับฟังเพื่อปรับปรุง
เมื่อวันที่ 2 และ 9 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) ได้จัดโครงการ SIT Focus Group 2024 เป็นการรับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนนักศึกษาระดับปริญญาตรี จากทุกชั้นปี ทุกหลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ หลักสูตรนวัตกรรมบริการดิจิทัล โดยการคัดเลือกตัวแทนนักศึกษาตามที่นักศึกษาด้วยกันเองเลือกขึ้นมา ตามสาขาวิชาและชั้นปี ได้แก่ ประธานรุ่น รองประธานรุ่น และหรือนักศึกษาภายในรุ่นที่เหมาะสม (จากการเลือกของเพื่อน) การสำรวจความคิดเห็นในครั้งนี้ คณะ ฯ เลือกใช้การสัมภาษณ์กลุ่มเฉพาะ (Focus group interview) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง จุดประสงค์เพื่อรับฟังปัญหาในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น การเรียน การสอน สถานที่เรียน สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการด้านต่าง ๆ พร้อมข้อเสนอแนะ โดยในช่วยแรกคณบดีชี้แจงผลการติดตามการปรับปรุงปัญหาด้านต่าง ๆ ที่นักศึกษาได้เคยให้ความเห็นเมื่อปีที่แล้ว กิจกรรมนี้เป็นการจัดต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาคณะ ทั้งในมิติการเรียนการสอนและการให้บริการด้านต่าง ๆ แก่นักศึกษาให้ดีขึ้น
SIT KMUTT สร้างความเข้าใจ พัฒนาบุคลากรสายวิชาการ ภายใต้ KMUTT PSF
วันที่ 29 มกราคม 2567 SIT KMUTT จัดบรรยายสร้างความเข้าใจ KMUTT PSF (KMUTT- Professional Standards Framework - Learning and Teaching) เพื่อพัฒนาบุคลากรสายวิชาการมีขีดความสามารถ หรือมีสมรรถนะตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพ โดย ผศ.สุเมธ อังคะศิริกุล รองอธิการบดีฝ่ายบุคคล ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ กฤษเจริญ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบุคคล และทีมงาน HRD โดยกำหนด KMUTT PSF เป็น Top 3 Sustainable Entrepreneurial STl University in ASEAN ระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งได้กำหนดเป็น President’s Special KR มหาวิทยาลัย และ SIT จึงได้จัดการบรรยายเพื่อสื่อสารสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ KMUTT PSF ให้กับบุคลากรสายวิชาการของ SIT โดยมีอาจารย์ และบุคลากร สายวิชาการเข้าร่วม ทั้ง Onsite และ Online กว่า 30 คน อาคารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น 4
โครงการ Junior Programmers ครั้งที่ 16
เมื่อวันที่ 12-14 มกราคม 2567 สโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยนักศึกษาหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (CS@SIT) ได้จัดโครงการ Junior Programmers ครั้งที่ 16 จุดประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคณะดำเนินงาน ทำให้นักศึกษาเรียนรู้การทำงานร่วมกัน และเพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ และเข้าใจการเรียนในหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) กิจกรรมดังกล่าวมีนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 58 คน และนักศึกษาหลักสูตร CS กว่า 100 คนร่วมให้การดูแลน้อง ๆ และดำเนินการจัดกิจกรรมตลอด ระยะเวลาการจัดกิจกรรม สำหรับเนื้อหาที่จำลองสอนให้กับนักเรียน จะเป็นเนื้อหาที่มีการสอนจริงในหลักสูตร ไม่ว่าจะเป็น Algorithm , Network infrastructure , Artificial Intelligence (AI) , IoT เป็นต้น
Programming Workshop Upskill พื้นฐานการเขียนโปรแกรมให้นักศึกษา DSI ก่อนเปิดเทอม
เมื่อวันที่ 10 - 12 มกราคม 2567 สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล (DSI) จัด Workshop Programming ให้กับนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล ชั้นปีที่ 1 โดย อาจารย์เอกพงษ์ จึงเจริญสุขยิ่ง อาจารย์ประจำหลักสูตร เป็นผู้สอน พัฒนาทักษะด้านพื้นฐานการเขียนโปรแกรม มีความรู้ความเข้าใจและมีพื้นฐานการพัฒนาเว็บไซต์ด้วย HTML และ CSS เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล เตรียมความพร้อมการเรียนรู้ Programming for Digital Services เพื่อนำไปใช้ในการสื่อสารและออกแบบบริการดิจิทัลที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน ให้นักศึกษา DSI เตรียมความพร้อมก่อนเปิดเทอมภาคเรียนที่ 2 ณ ชั้น 10 อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX)
“ไอที บางมด” สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ SIT KMUTT เตรียมความพร้อมหลักสูตรใหม่ 2567
เมื่อวันที่ 10 - 11 มกราคม 2567 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. สัมมนาอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ส่วนบริการนักศึกษา นำโดย ดร.โอฬาร โรจนพรพันธุ์ ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ Update ข้อมูลหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2567 สร้างแรงบันดาลใจให้คณาจารย์ในหลักสูตร โดยความประทับใจจากนักศึกษา หลักสูตร "ไอที บางมด" พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน และการประเมินผล โดยอาจารย์ และเจ้าหน้าที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับยุคสมัย ณ ห้อง 12/1 ชั้น 12 อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX)
SIT KMUTT ลงนามความร่วมมือ Cybertron ยกระดับการเรียนรู้ Cyber Security
วันที่ 28 ธันวาคม 2566 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. นำโดย ผศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ผศ. ดร.อุมาพร สุภสิทธิเมธี รองคณบดีด้านบริหาร ผศ. ดร.วรรัตน์ กระทู้ รองคณบดีด้านวิชาการ ดร.โอฬาร โรจนพรพันธุ์ ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และ ดร. ตุลย์ ไตรยสรรค์ รองประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นผู้แทนในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนานักศึกษา และบุคลากร ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับ บริษัท ไซเบอร์ตรอน จำกัด นำโดย คุณนภัทร อรุณธนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คุณณพพร ทองใบประสิทธิ์ ผู้จัดการแผนกส่งมอบบริการ และ คุณวิลาสินี เพชรวงค์ ผู้จัดการแผนกทรัพยากรมนุษย์ ณ ห้องประชุม 4 ชั้น3 อาคารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ.
SIT KMUTT สัมมนาปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้เป็นไปตามคุณภาพ (Quality Improvement: QI)
วันที่ 20 - 21 ธันวาคม 2566 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดโครงการสัมมนาการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้เป็นไปตามคุณภาพ (Quality Improvement: QI) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการของคณะ ให้กับบุคลากรสายสนับสนุน ถ่ายทอดเป้าหมายของคณะฯ จากผู้บริหาร ส่งเสริมให้เกิดกลไกมีการสื่อสารภายในร่วมกันและการปฏิบัติงานที่ทำให้เกิดการส่งมอบงานให้กับลูกค้าทั้งภายในและภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นำโดยทีมบริหาร SIT ผศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวเปิดงาน ผศ. ดร.อุมาพร สุภสิทธิเมธี รองคณบดีด้านบริหาร ผศ. ดร.วรรัตน์ กระทู้ รองคณบดีด้านวิชาการ ดร.สยาม แย้มแสงสังข์ รองคณบดีด้านประกันคุณภาพและพัฒนานักศึกษา และ ผศ. ดร.ชลเมธ อาปณิกานนท์ รองคณบดีด้านพัฒนาความเป็นสากล Siam@Siam Design Hotel Pattaya จังหวัดชลบุรี
ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 13 th International Conference on Advances in Information Technology 2023 (IAIT2023)
วันที่ 6 - 9 ธันวาคม2566 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้จัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 13th International Conference on Advances in Information Technology (IAIT2023) ภายใต้ Theme "Digital Transformation: Technologies Shaping and Driving the New Normal" ในรูปแบบ Hybrid เปิดโอกาสให้นักวิชาการ นักวิจัยระดับนานาชาติ เสนอผลงานวิชาการสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และเป็นเวทีกลางในการเสวนาร่วมกัน ระหว่างมหาวิทยาลัย และองค์กรระดับนานาชาติ โดยตลอดการจัดการประชุมวิชาการ (IAIT2023) ได้รับเกียรติจาก Keynote Speaker 3 ท่าน และ Invited Speaker 4 ท่าน จากหลากหลายสถาบันชั้นนำร่วมบรรยาย นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอผลงานวิจัยในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ รวม 40 ผลงาน ใน 8 Session ดังนี้ AI-based Assistance Systems Digital Leadership, and Technologies for Society 5.0 Data Analysis and Pattern Recognition Human-Technology and Future of Work Machine/Deep Learning in Healthcare and Medical Informatics AI and Computational Intelligence Deep learning and its Various Applications Data and Software Engineering, and Cybersecurity การจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 13 (IAIT 2023) สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ในการแลกเปลี่ยนสื่อสาร สนับสนุน และผลักดันการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนางานวิจัยสู่นวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนโลกในยุคดิจิทัลและสังคมในอนาคต่อไป ณ อาคาร Knowledge Exchange (KX) On December 6–9, 2523, the School of Information Technology (SIT) at King Mongkut's University of Technology Thonburi organized the 13th International Conference on Advances in Information Technology (IAIT2023). The conference took place in a hybrid format under the theme "Digital Transformation: Technologies Shaping and Driving the New Normal." This event provided a platform for international scholars and researchers to present their academic work in the field of information technology. It served as a central forum for discussion and collaboration between universities and international organizations. During the IAIT 2023 conference, esteemed keynote speakers and invited speakers, totaling 3 and 4 individuals, respectively, shared their insights. The conference featured research presentations
CS Project D-Day Exhibition 2023โชว์ผลงานสุดล้ำของนักศึกษา CS ชั้นปีที่ 4
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) จัดงาน CS Project D-Day Exhibition 2023 งานแสดงผลงานด้านเทคโนโลยี ของ นศ.ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) โดยจัดแสดงผลงานทั้งสิ้นกว่า 14 ผลงาน ชั้น 3 ลานแสดงผลงานหน้าห้อง AUDITORIUM อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX) การจัดแสดงผลงานในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) กล่าวต้อนรับและเปิดงาน โดยมีผู้ที่สนใจและเข้าร่วมชมผลงาน ประกอบด้วย ผู้ประกอบการ นักศึกษา ผู้ปกครอง คุณครูมัธยม และน้อง ๆ จากโรงเรียนมัธยม โดยนักศึกษาได้แสดงศักยภาพในการนำเสนอผลงาน เทคโนโลยีที่ใช้ให้ผู้ที่สนใจ และได้ร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบรรยากาศที่ใกล้ชิดและเป็นกันเอง และได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์
นักศึกษา SIT ชนะเลิศการแข่งขัน Mini Hackathon @ LEARN LAB EXPO
นักศึกษาบดีศร สิทธิคง นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน 88 MINI HACKATHON ‘DREAM - HACK - ACHIEVE’ ในงาน LEARN LAB EXPO 2023 ในหมวดระบบขนส่งมวลชน จัดโดย 88 SANDBOX มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี การแข่งขันเป็นการเสนอไอเดียและโมเดลธุรกิจในการแก้ไขปัญหา ในหัวดังนี้ 📚 ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 🌏 ภาวะโลกร้อน 💉 ปัญหาระบบสาธารณสุข 🚌 ปัญหาระบบขนส่งมวลชน รายละเอียดงาน >>> https://www.facebook.com/photo/?fbid=788968083033559&set=a.559793019284401
SIT KMUTT จัดแข่งขันตอบปัญหาวิชาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ “ICT Challenge 2023”
SIT KMUTT จัดแข่งขันตอบปัญหาวิชาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ “ICT Challenge 2023” เมื่อวันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ณ อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กิจกรรม “ICT Challenge 2023” จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้แสดงออกซึ่งความรู้ ความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และส่งเสริมให้สังคมก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ด้วยความสามารถของเยาวชนรุ่นใหม่ ซึ่งครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 12 โดยได้รับการตอบรับอย่างดีจากน้อง ๆ และอาจารย์จากโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศกว่า 49 โรงเรียน มีทีมที่สมัครเข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 150 ทีม คัดเลือกเข้าแข่งขันในรอบคัดเลือกทั้งหมด 70 ทีม รวมจำนวนผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 210 คน ในการนี้ทางคณะฯ ได้รับเกียรติจาก ผศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวเปิดงาน และต้อนรับผู้เข้าแข่งขันที่ ห้อง Auditorium อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX) ชั้น 3 และมี ผศ. ดร.วรรัตน์ กระทู้ รองคณบดีด้านวิชาการ เป็นหัวหน้าโครงการ การจัดแข่งขันแบ่งเป็น 2 รอบ รอบแรกเป็นการแข่งขันรอบคัดเลือก จัดแข่งขันในช่วงเช้าที่อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ โดยสมาชิกทุกคนของแต่ละทีมต้องผ่านการสอบรอบคัดเลือก แล้วนำผลคะแนนของสมาชิกในทีมมารวมกันหารด้วยจำนวนสมาชิกในทีมเพื่อคัดเหลือ 10 ทีมสุดท้ายที่มีคะแนนสูงสุดตามลำดับเข้าสู่การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศต่อไป การแข่งขันรอบที่ 2 เป็นการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศจัดในช่วงบ่ายที่ห้อง Auditorium อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX) ชั้น 3 เป็นการสุ่มเลือกแต่ละทีมให้เลือกหมวดหมู่คำถาม และเลือกระดับความยากง่ายของคำถาม ซึ่งคะแนนที่ได้จะแตกต่างกันออกไปตามระดับความยากของคำถาม โดยทุกทีมจะถูกสุ่มให้เลือกคำถามทีมละ 2 ครั้ง ซึ่งบรรยากาศการแข่งขันมีทั้งความมุ่งมั่นพราะต้องใช้สมาธิ รวบรวมความรู้ในการตอบคำถาม และความสนุกสนานที่ได้ลุ้นกับผลคะแนนที่จะได้ ผลการแข่งขันสรุปได้ดังนี้ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม “Untitled” จากโรงเรียนสิงห์บุรี สมาชิกในทีมประกอบด้วย นายนพรุจ รัตนศิริ นายปิติภูมิ ศริพันธุ์ นางสาวพิชญาภา สุโยธีธนรัตน์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม “Caveman Association” จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ สมาชิกในทีมประกอบด้วย นายจิรภัทร นามวงศ์ นายพิชญะ แสงรุ่งคงคา นายพิศณุพงศ์ ภูเดช รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม “ItzInwZerZa007” จากโรงเรียนเทพศิรินทร์ สมาชิกในทีมประกอบด้วย นายธนกร โชตะยากฤต นายอัลวาร์ ฮาสุนี นายธีรวัชร์ ปัถวี รางวัลชมเชย 7 รางวัล ได้แก่ ทีม “ULTRACODE” จากโรงเรียนระยองวิทยาคม ทีม “Rainbow Table” จากโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ทีม “Syntax Waiyakorn” จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี ทีม “ทบสองลูกโนวา” จากโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ทีม “MNN” จากโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน ทีม “มอสเกียเสือป่า” จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ทีม “ปรัง” จากโรงเรียนพัทลุง ขอแสดงความยินดีกับน้อง ๆทุกทีม และขอขอบคุณ ผศ.ดร. วรรัตน์ กระทู้ รองคณบดีด้านวิชาการ ผศ.ดร. สายชล ใจเย็น ดร. อันฮวา นิลรัตน์ศิริกุล และ ดร. ตุลย์ ไตรยสรรค์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และคุณอุกฤษ รักชาติ รองประธานโครงการ ที่ได้ให้เกียรติมาร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินรอบชิงชนะเลิศ และมอบรางวัลให้กับทีมชนะเลิศ รองชนะเลิศ และทีมที่ได้รับรางวัลชมเชยทั้ง 7 ทีม และขอขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้บริหารโรงเรียนทุกท่าน ที่ให้การสนับสนุนน้อง ๆ ได้เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ พบกันใหม่ในการแข่งขั้นครั้งต่อไป เราจะกลับมาท้าทายความรู้ความสามารถด้านไอทีกันอีกครั้งกับ “ICT Challenge 2024”
โปรดีวันที่ 11 เดือน 11 รวมพลบัณฑิตชาว SIT ประจำปีการศึกษา 2565
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมแสดงความยินดีกับมหาบัณฑิต และบัณฑิตคณะ SIT ที่สำเร็จการศึกษาปี 2565 โดยได้จัดพิธีปัจฉิมนิเทศคณะ SIT เมื่อวันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ผู้เข้าร่วมจำแนกเป็นมหาบัณฑิตจากหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์เพื่อวิทยาการข้อมูล หลักสูตรระบบสารสนเทศทางธุรกิจดิจิทัล และหลักสูตรชีวสารสนเทศและชีววิทยาระบบ (หลักสูตรนานาชาติ) รวม 73 คน และบัณฑิตจากหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) และหลักสูตรนวัตกรรมบริการดิจิทัล รวม 176 คน ภายในงานผู้บริหารและคณาจารย์พร้อมหน้ากว่า 20 ท่านร่วมแสดงความยินดีกับความสำเร็จของผู้สำเร็จการศึกษาคณะ SIT โดยมี ผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะ SIT เป็นตัวแทนกล่าวให้โอวาสแก่ผู้สำเร็จการศึกษาคณะ SIT ประจำปีการศึกษา 2565 ในฝั่งของผู้สำเร็จการศึกษา ได้ตัวแทน 2 ท่านจากระดับมหาบัณฑิตและระดับบัณฑิตกล่าวมุทิตาจิตแก่อาจารย์ จากนั้นเป็นการมอบเหรียญแห่งความสำเร็จให้กับมหาบัณฑิตและบัณฑิตทุกคน ปิดท้ายด้วยการร่วมร้องเพลง Auld Lang Syne สามัคคีชุมนุมในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษเพื่อร่วมต้อนรับเพื่อนร่วมสายวิชาชีพ
นักศึกษา SIT ชนะเลิศ โครงการ CHOICEISYOURS จัดโดย BMW
นักศึกษาหลักสูตรนวัตกรรมบริการดิจิทัล (DSI) ชั้นปีที่ 2 ได้แก่ นางสาวสุชานันท์ คิดสี และนางสาวเบญจวรรณ ธนพรโพธา ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากการแข่งขันโครงการ CHOICEISYOURS จัดโดย BMW Group และพาร์ทเนอร์ ได้แก่ Microsoft Thailand, SCG, Central Group และ มูลนิธิชัยพัฒนา, Delta Electronics (Thailand), Noble Development ภายใต้หัวข้อ CIRCULAR ECONOMY FOR COMMUNITY รางวัลสำหรับทีมชนะเลิศ นักศึกษาจะได้เลือก 6 องค์กรเพื่อเข้าฝึกงาน BMW Group, Microsoft Thailand, SCG, Central Group และ มูลนิธิชัยพัฒนา, Delta Electronics (Thailand), Noble Development เพจโครงการแข่งขัน : https://www.facebook.com/CHOICEISYOURS2023 ถ่ายทอดสดวันประกาศผลและรับรางวัล : https://www.facebook.com/CHOICEISYOURS2023 รายละเอียดและกติกาการแข่งขัน : https://www.bmw.co.th/th/discover/choice-is-yours.html?fbclid=IwAR1SGSox7VRPXiKTvs5jGBm6f91JAfa6ds5qn_ma7WjoALcEaLtdxNd-af8
ปริญญาโท DBIS | Digital Business Information System เรียนรู้วิธีคิดแบบ Business ต่อยอดธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
ปริญญาโท DBIS | Digital Business Information System เรียนรู้วิธีคิดแบบ Business ต่อยอดธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ในรายวิชา BIS603 Strategic Marketing Management ให้นักศึกษาได้บูรณาการการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอแผนการตลาดผลิตภัณฑ์ในรูปแบบการ จัด Event Marketing วางแผนธุรกิจ บริหารจัดการงบการลงทุน วิเคราะห์ตลาด กลุ่มลูกค้า และเป้าหมาย เพื่อสะท้อนผลลัพธ์การเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพตนเองทั้งทางทฤษฎี และทางปฏิบัติ ให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง โดยมี อาจารย์ธนิตสรณ์ จิระพรชัย รองอธิการบดี มจธ.ราชบุรี และอาจารย์ประจำรายวิชา ดร. วิทิดา จงศุภชัยสิทธิ์ ดร. วทัญญู สุขเสงี่ยม และ อาจารย์เอกพงษ์ จึงเจริญสุขยิ่ง รวมแนะนำการนำเสนอแผนธุรกิจของนักศึกษา 5 พฤศจิกายน 2566 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ.
SIT KMUTT พานักศึกษา DSI ชั้นปีที่ 1 ศึกษาดูงานบริษัท ARISE BY INFINITAS
เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา SIT KMUTT หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล (Digital Service Innovation) นำโดย ดร.สุณิสา สถาพรวจนา ผู้ช่วยคณบดีด้านกิจกรรมนักศึกษา และ อาจารย์เอกพงษ์ จึงเจริญสุขยิ่ง พานักศึกษาชั้นปีที่ 1 ไปศึกษาดูงานที่บริษัท ARISE BY INFINITAS เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์ในสายงานเทคโนโลยีและแนะนำการเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพในสายดิจิทัลพร้อมศึกษาสภาพแวดล้อมในการทำงานจริงของสายงานเทคโนโลยี และ เดินชมบรรยากาศในบริษัท ARISE BY INFINITAS.
นักศึกษา DSI สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล SIT KMUTT ศึกษาดูงานบริษัท CDG
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 SIT KMUTT หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมบริการดิจิทัล (Digital Service Innovation) โดย ดร. สุณิสา สถาพรวจนา ผู้ช่วยคณบดีด้านกิจกรรมนักศึกษา พานักศึกษาชั้นปีที่ 1 ไปศึกษาดูงานที่ CDG Group เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์ในการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ทั้งในมิติการทำงานและการสื่อสารในองค์กร เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพในสายงานดิจิทัล พร้อมศึกษาสภาพแวดล้อมการทำงานจริงของบริษัทในภาคอุตสาหกรรม สายเทคโนโลยี และพาชมบรรยากาศการทำงานที่ CDG Group
บุคลากรงานเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ดูงาน INFRASTRUCTURE SIT KMUTT
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 คณะบุคลากรงานเทคโนโลยีสารสนเทศจาก วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าดูงาน SIT KMUTT คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. เกี่ยวกับระบบบริหารจัดการ และ ห้อง Training Room สำหรับให้บริการด้านสารสนเทศในการเรียนการสอน มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับ รศ. ดร.วชิรศักดิ์ วานิชชา รองคณบดีอาวุโสด้านวิจัยและบริการวิชาการ และ อาจารย์ มนตรี สุภัททธรรม ผู้ช่วยคณบดีด้านโครงสร้างพื้นฐานและซอฟต์แวร์ พร้อมพาเยี่ยมชม Learning Space ห้องปฏิบัติการ Training Room และระบบควบคุมและสนับสนุนการสอน Classroom Control System อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (Learning Exchange) ห้องปฏิบัติการทางการวิจัย Research Lab ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ.
Hello DSI Internship แชร์ประสบการณ์การฝึกงานของสาขานวัตกรรมบริการดิจิทัล
โครงการ Hello DSI Internship กิจกรรมแชร์ประสบการณ์การฝึกงานของนักศึกษาหลักสูตรนวัตกรรมบริการดิจิทัล (DSI) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยรุ่นพี่ชั้นปีที่ 4 สาขานวัตกรรมบริการดิจิทัล ได้มาบอกเล่าประสบการณ์การฝึกงานตลอดระยะเวลาเกือบหนึ่งปี ซึ่งการฝึกงานถูกบรรจุในแผนการเรียนของหลักสูตร DSI โดยกิจกรรมนี้จัดโดยกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ในกิจกรรมได้เชิญรุ่นพี่ที่ได้ฝึกงานในสายอาชีพต่าง ๆ มาแลกเปลี่ยนทั้งด้านแนะแนวทางการสมัคร การเตรียมตัวก่อนการฝึกงาน การคัดเลือกบริษัท การเขียน resume การสัมภาษณ์ ลักษณะงานของแต่ละสายงาน ซึ่งเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจเลือกตำแหน่ง อาชีพฝึกงานของรุ่นน้อง โดยอาชีพที่มีในครั้งนี้ได้แก่ Digital Marketing, Tester, Frontend Development, UI Designer, Business Analyst, Content Creator, Graphic Design, Business Development, Product Owner, Production และ เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์
นักศึกษา SIT KMUTT คว้ารางวัลชมเชย การประกวดผลิตสื่อคลิปวิดีโอและอินโฟกราฟิก DigiFam Awards ปี 4
🎉 นักศึกษา SIT KMUTT คว้ารางวัลชมเชย การประกวดผลิตสื่อคลิปวิดีโอและอินโฟกราฟิก DigiFam Awards ปี 4 ในโครงการ Healthy Digital Family เสพสื่อ ใช้สติ มีสไตล์ ให้สตรอง” จัดโดย ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ . ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษา SIT หลักสูตรนวัตกรรมบริการดิจิทัล ปี 3 🔸 ชนิตร์นันท์ พันธ์ภักดี 🔸 นายศรัณย์ แก้วกลัด 🔸 นายอาณกร เณรชู 🔸 นายปฏิภาณ พวงประเสริฐ หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ ปี 4 🔸 นางสาวปณาลี ปาลศรี ในนามทีม Smart Swipe คว้ารับรางวัลชมเชย ในระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าและประชาชนทั่วไป จากผู้เข้าแข่งขันทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาและปลูกฝังการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลที่ถูกต้องทุกช่วงวัยในการใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์ วันที่ 25 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
นักศึกษาจาก University of Applied Sciences Technikum Wien ดูงาน SIT KMUTT
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา นักศึกษาจาก University of Applied Sciences Technikum Wien สาธารณรัฐออสเตรีย เข้าดูงาน SIT KMUTT คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. การจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชา CS@SIT วิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) พูดคุยแลกเปลี่ยนกับ ผศ. ดร.ชลเมธ อาปณิกานนท์ รองคณบดีด้านพัฒนาความเป็นสากล และประธานหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) พร้อมพาเยี่ยมชมการเรียนการสอน และพื้นที่การเรียนรู้ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ On October 20, 2566. Students from the University of Applied Sciences Technikum Wien visited the School of Information Technology (SIT) at King Mongkut's University of Technology Thonburi (KMUTT). They engaged in discussions and exchanged ideas with Asst.Prof.Dr. Chonlameth Arpnikanondt, the Associate Dean for International Affairs and the Program Chair of Computer Science (English Program). The students had the opportunity to explore the teaching methods and learning spaces within School of Information Technology at KMUTT.
SIT KMUTT Certificate Awards Ceremony มอบเกียรติบัตรให้นักศึกษาทุนเรียนดี และได้รับรางวัลจากการเข้าร่วมการแข่งขัน ปีการศึกษา 2566
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา SIT KMUTT คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดพิธีมอบเกียรติบัตรให้แก่นักศึกษาที่ได้รับทุนเรียนดี และนักศึกษาที่ได้รับรางวัลจากการเข้าร่วมการแข่งขันทั้งองค์กรในประเทศและต่างประเทศ ปีการศึกษา 2566 ขึ้น ณ ห้อง Auditorium ชั้น 3 อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นประธานในพิธีและเป็นผู้มอบเกียรติบัตรให้แก่นักศึกษา พร้อมอาจารย์จากทั้ง 3 หลักสูตร เข้าร่วมแสดงความยินดีกับนักศึกษาด้วย นักศึกษาที่ได้รับเกียรติบัตรทั้งหมด 61 คน แบ่งเป็นนักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษา ประเภททุนเรียนดี 47 คน และกลุ่มนักศึกษาที่ได้รับรางวัลจากการเข้าร่วมการแข่งขัน 4 กลุ่ม กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้กำลังใจนักศึกษา ตระหนักถึงผลงานอันทรงคุณค่าของนักศึกษา สร้างขวัญ กำลังใจ และกระตุ้นให้นักศึกษาทำผลการเรียนให้ดีต่อไป รวมทั้งสร้างผลงานเข้าร่วมการแข่งขันอื่น ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถของตน รวมทั้งสร้างชื่อเสียงให้คณะและมหาวิทยาลัย On October 2, 2023, the School of Information Technology (SIT) arranged the certificate awards ceremony for academic excellence scholarship students and outstanding accomplishment award students in the Academic Year 2023 at the Auditorium Hall, the 3rd floor of the Learning Exchange Building. Asst. Prof. Dr. Narongrit Waraporn, the dean of SIT, presided over the ceremony and presented certificates to the students. There were also lecturers from all 3 programs attending to congratulate the students.In total, there were 61 students receiving the certificates: 47 students with an academic excellence category and 4 groups of students with an outstanding accomplishment category. This ceremony aimed to build the students’ morale, recognize their contributions, and encourage them to work hard in their study as well as inspiring them to reach their full potential for the enhancement of SIT’s and KMUTT’s reputation.
SIT KMUTT และ Knowledge Xchange: KX จัดประชุมพบปะระหว่าง TBDC และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของไทย
SIT KMUTT คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และ Knowledge Xchange: KX ของ มจธ. ร่วมกันจัดการประชุมระหว่าง Toronto Business Development Centre: TBDC และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของไทย ในวันพุธ ที่ 27 กันยายน 2566 เวลา 14.30-15.30 น. ห้อง X03 ชั้น 10 อาคารเคเอกซ์ (KX) ถนนกรุงธนบุรีศูนย์พัฒนาธุรกิจของเมืองโทรอนโท หรือ Toronto Business Development Centre: TBDC เป็นหน่วยงานไม่แสวงหากำไรที่ทำหน้าที่บ่มเพาะธุรกิจหลากหลายชนิดอุตสาหกรรม (ไม่ใช่เฉพาะ Tech) ก่อตั้งที่เมืองโทรอนโท รัฐออนทาริโอ แคนาดา ตั้งแต่ปี 1990 โดยหนึ่งในพันธกิจที่สำคัญของ TBDC คือการดึงผู้ประกอบการทั่วโลกให้เข้ามาเปิดธุรกิจในออนทาริโอ ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมผู้ประกอบการทั่วโลกเข้ากับนักลงทุน สมาคมอุตสาหกรรม ตลาดอเมริกาเหนือ และรัฐบาลในหลายระดับ ผลงานความสำเร็จที่สำคัญ ๆ ในช่วงที่ผ่านมา อาทิ ได้ช่วยสร้างธุรกิจให้ขึ้นเป็นระดับ Unicorn (บริษัทที่มีมูลค่าอย่างน้อย 1 พันล้านเหรียญ) ไปแล้วหลายบริษัท และได้ช่วยบ่มเพาะกิจการและผู้ประกอบไปแล้วมากกว่า 9,000 แห่ง TBDC มีการทำงานหลายโครงการคู่ขนานกันไป ตัวอย่าง 3 โครงการที่อาจมีประโยชน์และเป็นที่สนใจของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของไทยที่มีประสบการณ์แล้ว ได้แก่ Ontario Immigrant Nominee Program: OINP Entrepreneur Success Initiative ที่เป็นเส้นทางช่วยให้ได้สิทธิเป็นผู้มีถิ่นฐานถาวรในแคนาดา โครงการนี้เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์แล้ว ที่ต้องการย้ายไปขยายกิจการโดยเริ่มธุรกิจใหม่หรือซื้อกิจการที่มีอยู่เดิมในแคนาดา ช่วงแรกจะเป็นการย้ายไปแคนาดาในฐานะผู้มีถิ่นฐานชั่วคราว และถ้าหลังจาก 20 เดือน สามารถทำได้ตามข้อกำหนดที่ร่วมกันหารือและสร้างขึ้นระหว่างผู้ประกอบการกับ TBDC ผู้ประกอบการจะได้การเสนอชื่อให้สมัครเป็นผู้มีถิ่นฐานถาวรในแคนาดา Land & Expand Program ที่เหมาะกับผู้ประกอบการที่มีความพร้อมและต้องการขยายตลาดไปต่างประเทศ โครงการจะช่วยให้ผู้บริหารของบริษัทได้รับจดหมายสนับสนุนการขอใบอนุญาตทำงานและเข้าถึงสำนักงานและทรัพยากรของเครือข่ายผู้ประกอบการของ TBDC ได้ Soft Landing Program ที่เหมาะกับผู้ประกอบการที่มีสินค้าหรือบริการ มีฐานลูกค้า และรายได้ในระดับนึงแล้ว และต้องการขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดอเมริกาเหนือโดยมีฐานอยู่ที่รัฐออนทาริโอ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับ Start-up Visa และใบอนุญาตทำงาน ทำให้สามารถไปเริ่มต้นทำธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ทางประธานฯ ของ TBDC Vikram Khurana และหัวหน้าคณะผู้ให้คำปรึกษา Dr. Aditya Jha ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของประเทศไทย ในฐานะประเทศที่มีเศรษฐกิจระดับนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเดินทางมาไทยเพื่อแสวงหาความร่วมมือกับ KX ที่ทำหน้าที่บ่มเพาะผู้ประกอบการของไทยให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ และได้ถือโอกาสนี้ มาพบปะทำความรู้จักกับผู้ประกอบการของไทย เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับ TBDC ที่มีพันธกิจที่จะช่วยผู้ประกอบการนานาชาติให้สามารถขยายธุรกิจเข้าไปในแคนาดาและต่อเนื่องไปยังตลาดอื่น ๆ ที่สำคัญ ๆ ทั่วโลกได้
SIT KMUTT ลงนามความร่วมมือ Samart Skills a Grow with Google Program ยกระดับการเรียนรู้
SIT KMUTT โดย ผศ.ดร.อุมาพร สุภสิทธิเมธี รองคณบดีด้านบริหาร ตัวแทน ผศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวแทนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ลงนามความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนานักศึกษาและบุคลากรร่วมกับบริษัท The S Curve และ Google for Education ณ สำนักงาน Google (ประเทศไทย) วันที่ 21 สิงหาคม 2566 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความรู้ทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทีเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม รวมทั้งส่งเสริมการดำเนินงานตามภารกิจให้เกิดประสิทธิภาพโดยยึดถือประโยชน์ของหน่วยงาน ร่วมพัฒนานักศึกษาและบุคลากร โดยโครงการ Samart Skills (Google Career Certificate) ผ่านการเรียนรู้บน Platform Coursera พร้อมรับประกาศนียบัตร (Certificate) จาก Google Thailand จำนวน 9 หลักสูตรทางด้านดิจิทัล Google IT Support Certificate Google Data Analytics Certificate Google Digital Marketing & E-commerce Certificate Google IT Automation with Python Professional Certificate Google Project Management Certificate Google UX Design Certificate Google Advanced Data Analytics Certificate Google Business Intelligence Certificate Google Cyber Security Certificate
SIT KMUTT เกษียณเกษมสุข Happy Retirement 2023
ในวาระเกษียณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จัดงานแสดงกตเวทิตาจิตแด่ผู้เกษียณอายุการทำงานของมหาวิทยาลัย ประจำปี 2566 “เกษียณเกษมสุข 2566” โดยวาระแห่งการเกษียณอายุ มีบุคลากรที่มีคุณค่าของ SIT KMUTT ที่เกษียณอายุ 3 ท่าน คือ ผศ. ดร. ประเสริฐ คันธมานนท์ ผศ. สุเมธ อังคะศิริกุล และ รศ. ดร. กิตติชัย ลวันยานนท์ เป็นอาจารย์ที่ทุ่มเทกับการทำงาน การสอน ทั้งกายและใจ ร่วมกันพัฒนา SIT มาตลอดระยะเวลากว่า 28 ปี ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งคณะ ฯ ให้ SIT เป็นคณะเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของประเทศ ผศ. ดร.ประเสริฐ คันธมานนท์ รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร และอาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ประวัติการทำงาน พ.ศ. 2529 เข้ารับราชการ ตำแหน่งอาจารย์ ระดับ 3 ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2531 อาจารย์ ระดับ 4 ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2539 อาจารย์ ระดับ 4 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2540 อาจารย์ ระดับ 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2541 อาจารย์ ระดับ 5 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2541 อาจารย์ ระดับ 6 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2541 บรรจุเป็นพนักงาน ตำแหน่ง อาจารย์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2542 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2548 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว5 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2550 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว6 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ การดำรงตำแหน่งบริหาร พ.ศ. 2532 รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายพัฒนาระบบ สำนักคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2541 รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าศูนย์วิทยบริการ สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2541 รักษาการในตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ รองคณบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2546-2549 ที่ปรึกษาผู้อำ นวยการสำนักคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2553 รักษาการแทนที่ปรึกษาอธิการบดีด้านพัฒนาระบบบริหารและการจัดการทรัพย์สิน พ.ศ. 2553 รักษาการแทนรองคณบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2553-2557 รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร พ.ศ. 2557-2558 รักษาการแทนรองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร พ.ศ. 2558-2561 รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร พ.ศ. 2561-2562 รักษาการแทนรองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร พ.ศ. 2562-2565 รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร พ.ศ. 2565-2566 รักษาการแทนรองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร พ.ศ. 2566 -2570 รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร
นักศึกษา SIT ได้รับรางวัลนำเสนอผลงานประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสนับสนุนการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา นางสาวฐิติภา เนตรหัสนัยน์ นางสาวณิชากร สีหาบง นายณัฐวัฒน์ เตี่ยวทัน นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) เจ้าของผลงาน “แอปพลิเคชันที่เป็นสื่อกลางระหว่างกรมสอบสวนคดีพิเศษและประชาชนเพื่อการสืบสวนคดีอย่างมีประสิทธิภาพ” ได้รับรางวัลนำเสนอผลงานจากงานสัมมนาวิชาการและประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสนับสนุนการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 หรือ I4C-2023 (ปีที่ 9) จัดโดย กรมสอบสวนคดีพิเศษ และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แหล่งข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติม https://www.dsi.go.th/th/Detail/1694258710
UX Workshop ออกแบบที่มากกว่าแค่ออกแบบ SIT KMUTT
SIT KMUTT คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ โดย ดร. อันฮวา นิลรัตน์ศิริกุล อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกับ บริษัท ยูเอ็กซ์แอสโซซิเอชัน จำกัด จัด Workshop ให้ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งาน User Experience (UX) ในหัวข้อ "Digital Experience Strategy" มีผู้เข้าอบรมเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี SIT จาก 3 สาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) วิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) CS และนวัตกรรมบริการดิจิทัล(DSI) จำนวน 30 คน โดยได้รับเกียรติจาก คุณวรพงศ์ จันทร์เพ็งเพ็ญ และ คุณไชยยศ อักกาญจน์วาณิชย์ พร้อมทีมงานจาก บริษัท ยูเอ็กซ์แอสโซซิเอชัน จำกัด มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ ในการอบรมเสริมนอกห้องเรียนครั้งนี้จัดเป็น Workshop ระยะยาวในวันเสาร์-อาทิตย์ เป็นระยะเวลา 11 สัปดาห์ ระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน 2566 – 2 กันยายน 2566 อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX) เพื่อให้น้อง ๆ นักศึกษาได้ทำ Workshop จริงร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้าน UX Design สร้างประสบการที่ดีในการใช้เครื่องมือดิจิทัลผ่านการทำโปรเจค รวมถึงได้รับโอกาสในการฝึกงานกับบริษัทในอนาคต
พัฒนาทักษะ Programming ด้วย Scratch เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ อย่างเป็นระบบ โครงการลดช่องว่างดิจิทัล ปี 2566
SIT KMUTT ภายใต้โครงการ “ลดช่องว่างดิจิทัล” (Digital Divide Diminution) ในปี 2566 ได้ลงพื้นที่ในจังหวัดสุพรรณบุรี จัดอบรมการพัฒนาทักษะเด็กด้วยโปรแกรม Scratch ให้กับคุณครูโรงเรียนเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ณ โรงเรียนวัดบางใหญ่ จังหวัดสุพรรณบุรี โรงเรียนศูนย์ต้นแบบในเครือข่ายที่โครงการลดช่องว่างดิจิทัลเพื่อนำไปใช้ต่อยอดให้กับนักเรียนในโรงเรียน มีคุณครูเข้าอบรม 17 ท่าน จาก 8 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดบางใหญ่ โรงเรียนบางแม่หม้าย โรงเรียนบ้านโพธิ์ศรี โรงเรียนวัดชีปะขาว วัดศุขเกษม วัดบางสะแก วัดดารา และโรงเรียนคี่ตี้ โดย รศ. ดร.พรชัย มงคลนาม อ. กิตติพงศ์ วะระทรัพย์ และ ดร. วทัญญู สุขเสงี่ยม อาจารย์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. ( SIT KMUTT ) เป็นทีมผู้สอนในครั้งนี้ ซึ่งโปรแกรม Scratch เป็นโปรแกรมเขียนโค้ดสำหรับเด็กในรูปแบบ Block-based language ที่สามารถป้อนคำสั่งได้ในรูปแบบของบล็อกคำสั่งไปจัดเรียงอย่างเป็นไปตามลำดับขั้นตอน เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้ครูโรงเรียนในเครือข่ายสามารถพัฒนาให้เป็นโรงเรียนที่พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน วันที่ 23-24 กรกฎาคม 2566 นอกจากนี้ยังมีการลงสำรวจพื้นที่ โรงเรียนบางแม่หม้าย และโรงเรียนคี่ตี้ เพื่อสำรวจความพร้อมของโรงเรียนเพื่อพิจารณาการบริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์ และจัดการระบบ Network ให้กับโรงเรียนในปีถัดไป
กิจกรรมแรกพบ CS First Date 2023
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา กลุ่มนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ( หลักสูตรภาษาอังกฤษ ) ชั้นปีที่ 2 ร่วมจัดกิจกรรมแรกพบมดซีเอส (CS First Date 2023 ) จุดประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างรุ่นพี่ รุ่นน้องภายในสาขาวิชา และเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษผ่านการทำกิจกรรร่วมกัน โดยผู้เข้าร่วมประกอบด้วย นักศึกษาสาขาวิชา CS ชั้นปีที่ 1 ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จำนวน 55 คน และนักศึกษาสาขาวิชา CS ชั้นปีที่ 2-4 จำนวนกว่า 60 คน การดำเนินกิจกรรม CS First Date ครั้งนี้สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษทั้งหมดเพื่อรองรับนักศึกษาชาวต่างชาติทุกชั้นปีภายในสาขาจำนวนมากกว่า 50 คนให้สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมได้ กิจกรรมในช่วงเช้า ประกอบด้วย กิจกรรม Ice - Breaking และกิจกรรมฐานทั้ง 4 ฐาน ได้แก่ วิกิพีเดีย คำต้องห้าม สปาเกตตี้ต่อตึก และ กู้ระเบิด ที่ต้องเน้นความสามัคคีในกลุ่ม ผ่านการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมโดยใช้ระบบบ้าน ที่ประกอบด้วยนักศึกษาทั้งชาวไทยและต่างชาติ กิจกรรมในช่วงบ่ายเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างรุ่นพี่ รุ่นน้อง ในหัวข้อต่าง ๆ ที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับสาขา โดยนักศึกษาในสาขา ชั้นปีที่ 2 - 4 ได้แก่ 1. การใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย (Life in Thailand as International Student ) โดย Nan Zun และ Nay Che (CS#23) บอกเล่าการใช้ชีวิตในประเทศไทยทั้งในและนอกห้องเรียนในฐานะนักศึกษาต่างชาติ การปรับตัว คำภาษาไทยในชีวิตประจำวันเบื้องต้น แนะนำอาหารไทย 2. การปรับตัวสำหรับการเรียนในสาขา Computer Science (How to live in CS happily ) โดย ปภาชนก (CS#23) บอกเล่าเกี่ยวกับวิธีการรับมือกับความเปลี่ยนผ่านการเรียนแบบมัธยมเข้าสู่การเรียนในระดับอุดมศึกษา และแลกเปลี่ยนทัศนคติเพื่อให้เรียนได้อย่างมีความสุขและสุขภาพจิตดี 3. ประสบการณ์การฝึกงาน (Internship opportunity ) โดย สิทธิโชค และ ภูมิเจตน์ (CS#21 และ CS#22 ) แบ่งปันประสบการณ์การสมัครฝึกงาน การเขียนใบสมัคร การสัมภาษณ์ และสิ่งที่ได้รับจากการฝึกงาน พร้อมเผยเคล็ดลับที่จะช่วยให้ผ่านคัดเลือกเข้าฝึกงานในบริษัทที่มีชื่อเสียง 4. แผนทางเลือกสหกิจศึกษา ( EL Track ) โดย อภิสิทธิ์ (CS#21) บอกเล่าประสบการณ์การเลือกเรียนแผนการเรียนสหกิจศึกษา การแบ่งเวลาทำงานและเวลาเรียน 5. ประสบการณ์การเเลกเปลี่ยน (Exchage in Finland ) โดย ธรพร (ศิษย์เก่า CS#20) โดยเล่าเกี่ยวกับการไปศึกษาที่ประเทศฟินแลนด์เป็นระยะเวลา 1 ปีการศึกษา รวมทั้งเล่าถึงการโอนหน่วยกิต การเตรียมแผนการเรียน การปรับตัว และการใช้ชีวิต 6. การทำงาน Part time โดย ภูริชญา (CS#22) โดยเล่าถึงการทำงานเสริมเป็นโปรเเกรมเมอร์ในระหว่างเรียน การแบ่งเวลาทำงาน การเตรียมตัว ในการทำงาน ประสบการณ์การทำงาน เป็นต้น 7. การทำวิจัย ( IC2 Research ) โดย KM (CS#23 ) โดยเล่าถึงการวิจัยในโครงการ IC2 ในช่วงเวลาปิดเทอม วิธีการเข้าร่วม เนื้อหาการทำวิจัย สิ่งที่ได้รับและประสบการณ์ โดยหลังจากนั้นเป็นกิจกรรมการเฉลยสายรหัส ผ่าน Web Application ที่ชื่อ “CSFD” ซึ่งเป็นเว็บที่พัฒนาโดยกลุ่มนักศึกษา CS ชั้นปีที่ 2 โดย application ดังกล่าวมีระบบจับคู่สายรหัส ระบบจับสายบ้าน แจกคำใบ้ และดูข้อมูลเบื้องต้นของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2 ภายในสาขา ด้วยความร่วมมือของผู้เข้าร่วมและความตั้งใจของคณะทำงาน ทำให้กิจกรรมผ่านไปได้ด้วยดี ได้รับทั้งมิตรภาพที่ดีและได้รับความรู้ในการเรียนในสาขาต่อไป ตามวัตถุประสงค์ Web application สำหรับสายรหัส https://csfd.live/
อาจารย์ และศิษย์เก่า SIT KMUTT ปรับปรุงระบบเครือข่ายครอบคลุมทั้งโรงเรียน โครงการลดช่องว่างดิจิทัล ปี 2566
SIT KMUTT ภายใต้โครงการ “ลดช่องว่างดิจิทัล” (Digital Divide Diminution) ในปี 2566 ได้ลงพื้นที่ในจังหวัดราชบุรี โดยอาจารย์ และศิษย์เก่า SIT KMUTT ปรับปรุงระบบเครือข่ายครอบคลุมทั้งโรงเรียน นำทีมโดย อาจารย์กิตติพันธุ์ พัวพลเทพ อาจารย์พิเชฏฐ์ ลิ่มวชิรานันต์ นำทีมศิษย์เก่า SIT KMUTT ปรับปรุงระบบเครือข่ายสาย และไร้สายเป็นมาตรฐานใหม่ครอบคลุมทั้งโรงเรียน ให้กับโรงเรียนอนุบาลสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เพื่อให้คุณครูสามารถใช้งาน Internet สำหรับการเรียนการสอนได้ครอบคลุมทั้งโรงเรียน วันที่ 15-16 กรกฎาคม 2566
ศิษย์เก่า SIT แชร์ประสบการณ์ และความรู้ ด้าน AI ให้นักศึกษา CS@SIT ในวิชา CSC340 Artificial Intelligence
วันที่ 28 สิงหาคม 2566 CS@SIT สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) ในรายวิชา CSC 340 Artificial Intelligence โดย ผศ. ดร. ชาคริดา นุกูลกิจ อาจารย์ประจำวิชา มีการจัดบรรยายพิเศษจากรุ่นพี่ปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คุณธรรมศาสตร์ วิสุทธารมณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI มาบรรยายงานวิจัยในหัวข้อ " Reinforcement learning-based differential evolution for solving economic Dispatch Problems " พร้อมแชร์ประสบการณ์ในการเรียนต่อต่างประเทศ ให้น้อง ๆ CS@SIT กว่า 60 คน CB2306 อาคารเรียนรวม 2
SIT ร่วมมือ CPE จัด Workshop ผลักดัน AI ขับเคลื่อนสังคม พัฒนาความรู้ และคุณภาพชีวิต
วันที่ 26 - 27 สิงหาคม 2566 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) ร่วมมือกับ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ (CPE) มจธ. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์ ภายใต้หัวข้อ "Hands-on Deep Learning with PyTorch: From Online to In-Person Workshop" เพื่อสร้างความยั่งยืนในการนำเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์มาใช้เป็นฐานการขับเคลื่อนสังคมให้กับนักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ และบุคคลากรทั้งภายใน และภายนอก นำความรู้ไปพัฒนาต่อยอดเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีผู้เข้าร่วม On-site กว่า 50 คน ตลอดระยะเวลา 2 วัน โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ฐิติพัทธ อัชชะกุลวสุทธิ์ Biomedical and Data Lab มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากร ชั้น 12 อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX) SIT KMUTT in collaboration with CPE, organized a workshop "Hands-on Deep Learning with PyTorch: From Online to In-Person Workshop" on August 26-27, 2023. The workshop aimed to establish sustainable AI-driven social advancements, benefiting students, researchers, academics, and personnel both internally and externally. The on-site event gathered more than 50 participants over a 2-day period. Dr. Titipat Achakulvisut from the Biomedical and Data Lab at Mahidol University as the speaker was received. The event took place at 12 th floor, Learning Exchange Building (LX).
The International Conference on Advances in Information Technology (IAIT2023)
Digital Transformation: Technologies Shaping and Driving the New Normal About The International Conference on Advances in Information Technology (IAIT2023) provides a huge opportunity for researchers, PhD students, academics, and industry professionals around the world to share their knowledge and work with the research community. IAIT2023 will be the 13th in the series and organized by the School of Information Technology, King Mongkut’s University of Technology Thonburi, Bangkok, Thailand. The theme for 2023 is “Digital Transformation: Technologies Shaping and Driving the New Normal”. The COVID-19 pandemic has accelerated the growth and adoption of new technologies and digital products worldwide due to which organizations are focusing on emerging technologies like AI/ML, cybersecurity, data science, etc. The pandemic has shown us that in every sector ranging from healthcare, education, retail, finance to transportation; companies and organizations that have adopted digital initiatives and emerging technologies have become sustainable and kept themselves ahead of the learning curve. Therefore, in this upcoming edition of the conference we plan to focus on these digital transformation aspects and how these may impact the people and society. By incorporating a variety of related topics, IAIT2023 aims to create and promote more inter-departmental and inter-disciplinary research ideas and knowledge. Read more at https://www.iait-conf.org/2023/
แนะนำจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ IRBและการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (IRB)
คณะฯ ได้มีการจัดทำวิดีโอเพื่อแนะนำจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ IRB เกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริตในการวิจัย-Research integrity(RI) และการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (IRB)เป็นข้อมูลความรู้เบี้องต้น โดย ผศ. ดร.วรรัตน์ กระทู้ นักศึกษาที่สนใจสามารถเปิดดูได้จาก link: https://kmutt.me/SIT-IRB
นักศึกษา SIT แบ่งปันประสบการณ์การฝึกงานในโครงการ Intern SIT
การฝึกงานเป็นหนึ่งในหนทางของการเพิ่มทักษะ และความชำนาญของนักศึกษา อีกทั้งยังเป็นโอกาสให้นักศึกษาได้ประสบการณ์ที่ดีเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกสายอาชีพในอนาคต เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา กลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดโครงการ InternSIT ขึ้นเพื่อแบ่งปันประสบการณ์จากรุ่นพี่ที่ได้ไปฝึกงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว พร้อมทั้งตอบข้อสงสัย เกี่ยวกับเรื่องฝึกงานให้กับนักศึกษา SIT ที่สนใจ เพื่อเป็นข้อมูลที่ดีประกอบการตัดสินใจในการเลือกตำแหน่ง และสถานที่ฝึกงาน ซึ่งงานนี้ได้รับความสนใจจากนักศึกษา SIT เป็นจำนวนมาก โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 1-3 ทุกสาขาเข้าร่วมกิจกรรม รวม 145 คน ประกอบด้วย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 92 คน นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 48 คน นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 5 คน รูปแบบการบอกเล่าประสบการณ์แบ่งเป็น 2 กลุ่มงาน ได้แก่ กลุ่ม Dev และ กลุ่ม Non Dev โดยในแต่ละกลุ่มประกอบด้วยสายวิชาชีพดังนี้ 1. กลุ่ม Dev ประกอบด้วย DevOps, Frontend, Backend, Tester (QA), Full Stack 2. กลุ่ม Non-Dev ประกอบด้วย UX/UI, Business Analytics, Data Analytics, Security โดยสายอาชีพที่นักศึกษาให้ความสนใจมากที่สุด ได้แก่ Frontend, DevOps และ Backend ตามลำดับ นอกจากนี้ทางผู้จัดได้ทำแบบทดสอบเพื่อประเมินตนเองเหมาะกับสายอาชีพใด >>> https://internsit.web.app/
แนะนำวิจัยบัณฑิตศึกษา เรียน แผน ก. หรือ แผน ข. ??
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. ได้จัดการประชุมเพื่อแนะนำการวิจัยและจริยธรรมการวิจัยให้กับนักศึกษาระดับปริญญาโทเมื่อวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม 2566 ที่อาคารเรียนรวม2 ห้อง CB2308 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการประชาสัมพันธ์และแนะนำการเรียนวิทยานิพนธ์ (แผน ก)ในระดับปริญญาโท การให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (IRB)จากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญและการแชร์ประสบการ์ณการทำวิจัยจากรุ่นพี่ ทางคณะได้เชิญคุณ ธนะพงษ์ ขจรตันติชัยกุล นักศึกษา ปริญญาโท คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ มาสนทนาให้ข้อมูลแนะนำนักศึกษา ปริญญาโท ในหัวข้อ “Sharing experiences from senior researchers” โดยสรุปเป็นหัวข้อ ถาม-ตอบ ดังรายละเอียดย่อๆ ต่อไปนี้ Q1 : ทำไมถึงเลือกเรียนแผน ก. วิทยานิพนธ์ A1: ผมเป็นคนที่ชื่นชอบในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และผมอยากสร้างสิ่งที่มีประโยชน์แก่ผู้คน ผมคิดว่าการเรียนแผน ก. ไม่มีความแตกต่างกับแผน ข. ในเรื่องของความยากง่าย ผมมองว่าแผน ก. จะสร้างคุณประโยชน์ต่อผมและผู้อื่นมากกว่าแผน ข. ผมจึงเลือกเรียนแผน ก. ครับ Q2 : เลือกแผน ก. วิทยานิพนธ์แต่ไม่มีเวลาสามารถลงแผน ก. ได้หรือไม่ A2 : ผมเองก็ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยเหมือนกันครับ ภาษาอังกฤษผมก็ไม่ค่อยเก่ง การเรียนแผน ก. ขอแค่เราต้องรู้หน้าที่ของตัวเอง แบ่งเวลาให้เป็นและมีการอัพเดทงานอย่างสม่ำเสมอ อาจารย์ที่ปรึกษาพร้อมดูแลเราเสมอครับ ผมเชื่อว่าถ้าเรามีความตั้งใจแผน ก. ก็ไม่ยากสำหรับทุกคนครับ Q3 : ประสบการเรียนในการเรียนวิทยานิพนธ์แผน ก. เป็นอย่างไร A3 : จากการเข้ามาเรียน ทำให้ได้ประสบการณ์ และได้ความรู้ต่าง ๆ เช่น - ได้พัฒนาทักษะในการค้นคว้างานวิจัยมาใช้ในการทำงาน - ได้สร้างนวัตกรรมหรือพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ให้กับผู้คนทั่วโลกเปิดประสบการณ์ในการไปประชุมงานวิชาการนานาชาติ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และได้เพื่อนใหม่จากหลากหลายประเทศ - การเลือกเรียนแผน ก. ทุกคนสามารถนำขั้นตอนกระบวนการทำวิจัย การค้นคว้า และกระบวนการแบ่งลำดับหน้าที่ภาระงานความสำคัญไปใช้เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาเอก หรือนำไปประยุกต์ใช้ในการเป็นผู้นำของทีมหรือองค์กรเพื่อให้องค์กรพัฒนาไปได้ดีมากยื่งขึ้น Q4 : ทำไมถึงผลิตบทความวิชาการระดับประเทศ/นานาชาติได้ถึง 4 บทความ(ทั้งที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดเพียง 1บทความ) A4 : ในระหว่างเรียน และทำวิจัย ไม่ได้ขอ IRB ก่อน จึงทำให้ แผนการเรียนต้องขยายระยะเวลา ทำให้ มีเวลาเหลือการเรียนในภาคการศึกษาที่ลงทะเบียนไว้แล้ว และความอยากรู้สิ่งใหม่ๆ บวกกับอยากพัฒนาต่อยอดจากสิ่งเดิมที่ทำอยู่ นอกจากนั้นทางคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มีทั้งทุนสนับสนุนงานวิจัยแผน ก. วิทยานิพนธ์ ทุนมหาวิทยาลัย ทุนโครงการวิจัย และ ทุนจากบริการวิชาการ พร้อมให้การสนับสนุน รวมทั้งคณะอาจารย์และเจ้าหน้าที่คอยดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีครับ Q5 : ช่วยแนะนำน้องๆ ในการตัดสินใจเรียนแผน ก. วิทยานิพนธ์ หน่อยค่ะ A5 : การเลือกเรียนระหว่างแผน ก. หรือ แผน ข. บางคนมักจะคิดว่า แผน ก. มีความยากมากกว่า แผน ข. แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่ครับ ความยากง่ายของทั้ง 2 แผน มีความใกล้เคียงกัน แต่ท้ายที่สุดแล้วขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นและความทุ่มเทของผู้เรียนครับ การเรียนแผน ก. จะเป็นประโยชน์ในระยะยาวมากกว่าเพราะงานที่ถูกตีพิมพ์จะถูกเผยแพร่ให้ผู้คนทั่วโลกได้อ่าน งานวิจัยที่ได้ทำอาจเป็นส่วนหนึ่งในการจุดประกายความคิดให้ผู้อื่นคิดค้นงานวิจัยใหม่ สร้างมุมมองใหม่หรือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างนวัตกรรม รวมทั้งประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานวิจัยยังสามารถนำไปต่อยอดได้ทั้งการทำงาน บริหารงานในองค์กรและการเรียนต่อในอนาคตด้วยครับ หวังว่า นักศึกษาที่สนใจและกำลังพิจารณาจะเลือกเรียน แผน ก. หรือแผน ข. สามารถนำบทสนทนานี้ เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจ นะคะ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ปล. คณะสนับสนุน ทุนยกเว้นหน่วยกิต 3 หน่วยกิต และ ทุนยกเว้นหน่วยกิต 9 หน่วยกิต ทุกภาคการศึกษา ทุนยกเว้นค่าหน่วยกิตวิจัย (เฉพาะปริญญาโท แผน ก.)
พิธีไหว้ครู SIT ปีการศึกษา 2566
เป็นผู้ทํา กรรมดี มีเหตุผล เป็นผู้สร้าง คนเป็นคน ทุกสมัย เป็นทั้งผู้เสียสละ และอภัย เป็นผู้มีน้ำใจ ใฝ่เมตตา เป็นปูชนี-ยบุคคลกุศลสร้าง เป็นแบบอย่าง แบบพิมพ์ที่มากค่า เป็นเรือจ้าง เป็นครู ควรบูชา ศิษย์ก้าวหน้า ได้ดี เพราะมีครู บทกลอนบางส่วน ประพันธ์โดย อาจารย์สมบัติ กิ่งกาญจนวงศ์ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566 เวลา 14.00 น. สโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศได้ดำเนินการจัดพิธีไหว้ครู SIT ณ ห้อง CB2401 อาคารเรียนรวม 2 โดยมี ผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดี คณาจารย์ คณะกรรมการสโมสรนักศึกษาและนักศึกษาชั้นปีที่ 1 – 4 เข้าร่วมกว่า 80 คน
SIT KMUTT | Power Apps Workshop พัฒนา Application แบบ Low Code
วันที่ 3-4 สิงหาคม 2566 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. SIT KMUTT จัดอบรม "การใช้งาน Power Apps" ให้กับนักศึกษา SIT และบุคลากร กว่า 140 คน ที่สนใจในการพัฒนาโปรแกรมบน Mobile และ Tablet ในรูปแบบการพัฒนาโปรแกรมแบบ Low Code Platform เพื่อเข้าใจความสามารถของ Power Apps สร้าง App สำหรับ ค้นหาข้อมูล แก้ไข ลบข้อมูล พร้อมเก็บข้อมูลใน SharePoint, Excel ได้ สามารถเรียกใช้งาน Workflow ของ Power Automate ผ่าน Power Apps ได้ และสามารถสร้าง Chart และ Power BI มาแสดงรายงานด้วย Power Apps ได้ โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ชไลเวท พิพัฒพรรณวงศ์ ศิษย์เก่าของ มจธ. ผู้เชี่ยวชาญในกลุ่ม Power BI, Power Apps, Power Automate, Excel, Data Analytics มาให้ความรู้ในครั้งนี้ ณ อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX) ในรูปแบบ Hybrid
นักศึกษา SIT ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากการแข่งขัน The 2023 MOS World Championship Microsoft Excel ประเทศสหรัฐอเมริกา
ขอแสดงความยินดีกับนายทรงกลด เพชรจำรัส นักศึกษาชั้นปีที 4 หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) ที่สามารถชนะเลิศอันดับ 2 จากการแข่งขัน The 2023 Microsoft Office Specialist World Championship Microsoft Excel (Microsoft 365 Apps and Office 2019) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2566 เมืองออแลนโด รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา รายละเอียดข่าว https://www.facebook.com/100064653671292/posts/pfbid0wqqJotwMmEhXeDg7dPL3J5PjiMx9uWsmfEyHTK9VaS5SxfaKkc5VjkHQTiMEecA6l/?mibextid=K8Wfd2
“Evolution of Cognitive Computing” by Associate Professor Dr.Jonathan Hoyin Chan
"Evolution of Cognitive Computing" by Associate Professor Dr.Jonathan Hoyin Chan, Neuroscience and Computation Seminar By Neuroscience Center for Research and Innovation The "Neuroscience Center for Research and Innovation" at King Mongkut's University of Technology Thonburi organized a seminar titled "Neuroscience and Computation" on Monday, July 24th, 2023, from 9:00 AM to 12:00 PM, at the 10th floor of the Learning Exchange (LX) building. The seminar aimed to enhance knowledge and understanding of neural systems by bridging the gap between Neuroscience and Computation research. The goal was to apply these insights in fields like medicine and the study of human behavior. Experts from various fields shared their knowledge, including Associate Professor Dr. Jonathan Hoyin Chan, who presented on the topic "Evolution of Cognitive Computing." ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience Center for Research and Innovation) สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดงานสัมมนา Neuroscience and Computation เมื่อวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2566 เวลา 9:00-12:00 น. ณ ชั้น 10 อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (Learning Exchange, LX) เพื่อส่งเสริมความรู้และความเข้าใจในการทำงานของระบบประสาท ด้วยการประสานความรู้ในงานวิจัยด้าน Neuroscience กับ Computation เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์ และการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่าง ๆ มาให้ความรู้ รวมไปถึง รศ. ดร. โจนาธาน โฮยิน ชาน อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้นำเสนอในหัวข้อ “Evolution of Cognitive Computing” อีกด้วย
Robotics Workshop for High School Students 2023 @ SIT KMUTT
Robotics Workshop for High School Students 2023 @SIT KMUTT : High School and University Students Unite for Technological Innovation and Cultural Exchange The "2023 Robotics Workshop for High School Students" is a project organized with the objective of fostering collaborative learning in cultural skills between high school students interested in Robotics and university-level students participating in Internship exchange at the Faculty of Information Technology, King Mongkut's University of Technology Thonburi (KMUTT). The event is scheduled to take place from July 17th to 21st, 2023. The initiative is under the guidance of Assoc. Prof. Dr. Jonathan Hoyin Chanand Asst.Prof.Dr. Chonlameth Arpnikanondt, both of whom collaborate with prominent Robotics organizations such as FIBO KMUTT, IEEE Robotics & Automation Society, IEEE Computational Intelligence Society, and IEEE Region 10. The primary aim is to provide a platform for Thai students who possess a keen interest, knowledge, and enthusiasm for Robotics to interact and experience competition. This is deemed an impressive opportunity that broadens the horizons for young students, not limited to just within the country. The program also offers Thai students a chance to directly engage with international peers who are participating in the Internship Research 2023 at the School of Information Technology. This collaboration encourages mutual learning and sharing of experiences. Moreover, it includes Robotics competitions, enabling students to learn from each other and gain valuable experiences. Overall, this event aims to enhance scientific and technological
Deep Learning and Artificial Intelligence Summer/Winter School 2023 (DLAI7)
Deep Learning and Artificial Intelligence Summer/Winter School 2023 (DLAI7) : Exchange knowledge and experiences between academics from the organization and universities at the international level The Asia Pacific Neural Network Society (APNNS) organized an online seminar for knowledge exchange, focusing on deep learning and artificial intelligence in the 7th Summer/Winter School of 2023, also known as DLAI7. Participants of the seminar included professors, students, researchers, as well as various technology organizations, both from Thailand and abroad. This event provided a platform for exchanging knowledge and experiences among academics from different international universities and institutions. The seminar took place from July 17th to 21st, 2023 at School of information technology, King Mongkut's University of Technology Thonburi (KMUTT). , and was partly coordinated by personnel from our faculty, led by Assoc. Prof. Dr. Jonathan Hoyin Chan." สมาคม Asia Pacific Neural Network Society (APNNS) จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนบทสนทนาออนไลน์ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้เชิงลึกและปัญญาประดิษฐ์ภาคฤดูร้อนปี 2023 ครั้งที่ 7 (Deep Learning and Artificial Intelligence Summer/Winter School 2023 -DLAI7) ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ ประกอบไปด้วย อาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย รวมถึงองค์กรหน่วยงานต่าง ๆ ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ได้เข้าร่วมสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ระหว่างนักวิชาการจากองค์กร และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในระดับนานาชาติ เมื่อวันที่ 17-21 กรกฎาคม 2566 ณ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. ซึ่งบุคลากรของคณะฯ เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการจัดงานดังกล่าว นำโดย Assoc. Prof. Dr. Jonathan Hoyin Chan
นักศึกษา SIT ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันในงาน Hackathon Botnoi OpenAI Hackfest
เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2566 ที่ผ่านมา นายพีรพัฒน์ ธีรชัยศุภกิจ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ และ นางสาวสุกัญญา ชินวิชา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) ร่วมด้วย นายมินทร์ธาดา กรินทะ และ นายพงศกร ทิพยสมเดช เพื่อนร่วมทีมต่างสถาบัน ได้รับรางวัลชนะเลิศในกลุ่ม Hospitality Food and Beverage จากการแข่งขันรายการ Botnoi OpenAI Hackfest ซึ่งเป็นการแข่งขันที่ตามหาทีมนักพัฒนาที่สามารถประยุกต์ใช้ Artificial Intelligence (AI) ในการตอบโจทย์ธุรกิจได้ยอดเยี่ยมที่สุด เพื่อชิงเงินรางวัลและโอกาสในการต่อยอดไอเดียและการสนับสนุนจากบริษัทชั้นนำในประเทศไทย เว็บไซต์การแข่งขัน : https://www.botnoihackfest.com/ ลิ้งบทความ : https://www.beartai.com/news/it-thai-news/1234687
2023 SIT’s Seminar the series ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้สนใจ
ในช่วงปิดภาคการศึกษาของ SIT KMUTT ได้มีการจัด SIT's Seminar the series สัมมนาดี ๆ ทั้งรูปแบบ On-site และ On-line มา #upskill #reskill #newskill ในสายเทคโนโลยีดิจิทัลใน หัวข้อ "Unlocking the Generative AI Capabilities" ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ที่สนใจ โดย SIT's Seminar the series ในครั้งนี้มีหัวข้อที่น่าสนใจถึง 5 สัมมนา ตลอดทั้งเดือนกรกฎาคม ChatGPT for Data Analytics and Visualization ทำการวิเคราะห์ข้อมูลให้เป็นเรื่องง่ายด้วย ChatGPT!!! โดย ผศ.ดร.สายชล ใจเย็น ดร.นิวรรณ วัฒนกิจรุ่งโรจน์ และ ดร.นันทพงศ์ เขียนดวงจันทร์ วันที่ 15-16 กรกฎาคม 2566 แค่ใช้ Excel ได้ ก็อยู่สบายหลังเกษียณ โดย อาจารย์กิตติพงศ์ วะระทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. ICP2 License : Complex Products (Bond and Mutual Fund) วันที่ 15 กรกฎาคม 2566 ChatGPT 4 Strategic foresight ChatGPT สำหรับการคาดการณ์อนาคตเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Foresight) โดย ดร.วทัญญู สุขเสงี่ยม อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. วันที่ 30 กรกฎาคม 2566 ChatGPT Prompt Engineering for Teaching Stable Diffusion: Unlocking Generative AI Capabilities โดย ดร.ตุลย์ ไตรยสรรค์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. วันที่ 22 กรกฎาคม 2566 แล้วพบกันใหม่กับกิจกรรมดี ๆ จาก SIT KMUTT มาสร้างศักยภาพสู่ยุคดิจิทัลอย่างไร้ขีดจำกัด
IT#29 Starter Pack กิจกรรมรับน้องแบบเด็กไอที
เมื่อวันที่ 17 -27 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา กลุ่มนักศึกษาป.ตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นปีที่ 2 - 4 ได้จัดโครงการ IT#29 Starter Pack เพื่อปูพื้นฐานความรู้เบื้องต้นในวิชา การเขียนโปรแกรม เทคโนโลยีเว็บ และฐานข้อมูล ให้แก่นักศึกษาใหม่ชั้นปีที่ 1 ที่เข้าร่วม105 คน และรุ่นพี่ทีมงานและ Staff กว่า 90 คน กิจกรรมตลอดระยะเวลา 9 วัน นอกเหนือจากเนื้อหาวิชาการที่เข้มข้นแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรม Special Sessions จากรุ่นพี่สาขาไอทีทุกชั้นปี เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เข้าร่วมอีกด้วย ติดตามรายละเอียดและเบื้องลึกเบื้องหลังการจัดโครงการครั้งนี้ นายณรงค์รัชช์ ธนจารุสวัสดิ์ ในฐานะประธานโครงการ IT#29 Starter Pack บอกเล่าไว้ใน https://medium.com/@naronkrach/how-to-it-29-starter-pack-82bef28b82dd
งานปฐมนิเทศระดับบัณฑิตศึกษา คณะ SIT ปีการศึกษา 1/2566
เมื่อวันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) จัดงานปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ระดับบัณฑิตศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) ประจำภาคการศึกษา 1/2566 ณ ห้องประชุม ชั้น 12 อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ งานปฐมนิเทศ ฯ ครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) กล่าวต้อนรับนักศึกษาเข้าสู่ครอบครัว SIT นอกจากนั้นผู้บริหารคณะ ฯ อาจารย์ประจำคณะ ฯ และเจ้าหน้าที่ได้นำเสนอข้อมูลและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ด้านการเรียน และบริการด้านต่าง ๆ โดยมีนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) นักศึกษาหลักสูตรระบบสารสนเทศทางธุรกิจดิจิทัล (DBIS) นักศึกษาหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (CS) และนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์เพื่อวิทยาการข้อมูล (SED) จำนวนรวม 106 คนเข้าร่วมงาน
นักศึกษา SIT ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 2 จากการประกวดหนังสั้น : Proud Thai สืบสาน อนุรักษ์ สร้างสรรค์เอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย”
ขอแสดงความยินดีกับนางสาวชนิตร์นันท์ พันธ์ภักดี นายศรัณย์ แก้วกลัด และนายอาณกร เณรชูนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรนวัตกรรมบริการดิจิทัล (DSI) ในนามทีม MT Junior ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 2 จากการประกวดภาพยนตร์สั้น Short Film Contest “พราวไทย : Proud Thai สืบสาน อนุรักษ์ สร้างสรรค์เอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย” จุดประสงค์เพื่อให้เยาวชน นิสิต นักศึกษาที่เป็นคนรุ่นใหม่ได้มีส่วนร่วมและมีโอกาสในการศึกษาเรียนรู้ และค้นคว้าหาข้อมูล ในเรื่องเอกลักษณ์ของชาติ วัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยมที่ดีงามของชาติไทย จัดโดยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ได้จัดพิธีมอบรางวัล ฯ ณ โรงภาพยนตร์ศาลาศีนิมา หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีมอบรางวัล ฯ รับชมผลงานชื่อ หลากหลายรสชาติ ของทีม MT Junior >>> https://fb.watch/m1WXH2DfbL/
พัฒนาทักษะเด็กด้วย iBIT Robot Kit โครงการลดช่องว่างดิจิทัล SIT KMUTT
SIT KMUTT ภายใต้โครงการ “ลดช่องว่างดิจิทัล” (Digital Divide Diminution) ในปี 2566 ได้ลงพื้นที่ในจังหวัดเพชรบุรี จัดอบรมการพัฒนาทักษะเด็กด้วย iBIT Robot Kit ให้กับคุณครูโรงเรียนเครือข่ายในพื้นที่จังหวัด เพชรบุรี โรงเรียนบ้านยางชุม อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี โรงเรียนศูนย์ต้นแบบในเครือข่ายที่โครงการลดช่องว่างดิจิทัล โครงการลดช่องว่างดิจิทัลได้นำ iBIT Robot Kit มอบให้กับโรงเรียนพร้อมสอนการใช้งานเบื้องต้น และ มีแบบทดสอบเพื่อให้มั่นใจว่าคุณครูสามารถใช้งาน iBIT Robot ได้ เพื่อนำไปใช้ต่อยอดให้กับนักเรียนในโรงเรียน โดยมีคุณครูเข้าอบรม 15 ท่าน จาก 5 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านยางชุม โรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง โรงเรียนบ้านพุหวาย โรงเรียนบ้านพุตุมโรงเรียนวัดช่อม่วง เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายสามารถพัฒนาศักยภาพตนเองให้เป็นโรงเรียนที่พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน วันที่ 2-3 กรกฎาคม 2566 โดยมี ผศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มอบอุปกรณ์กีฬาให้กับโรงเรียน และร่วมพูดคุยกับผู้อำนวยการ ครู เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในการร่วมกันพัฒนาด้านดิจิทัลให้กับโรงเรียนอย่างไร้ขีดจำกัด
สร้างสื่อการสอนและสื่อประชาสัมพันธ์ด้วย Canva โครงการลดช่องว่างดิจิทัล SIT KMUTT
SIT KMUTT ภายใต้โครงการ "ลดช่องว่างดิจิทัล" (Digital Divide Diminution) ในปี 2566 ได้ลงพื้นที่ในจังหวัดชัยนาท จัดอบรม "การสร้างสื่อการสอนและสื่อประชาสัมพันธ์ด้วย Canva" เพื่อส่งเสริมให้คุณครูสามารถสร้างสื่อการเรียนการสอนเพื่อพัฒนา และต่อยอดการใช้งานในการสอนนักเรียนระดับประถมศึกษา ให้คุณครู โรงเรียนวัดอารีทวีวนาราม จ.ชัยนาท โรงเรียนศูนย์ต้นแบบในเครือข่ายที่โครงการลดช่องว่างดิจิทัล ลงพื้นที่ต่อเนื่อง หลังจากส่งมอบเครื่องคอมพิวเตอร์ มีคุณครูเข้าร่วม 10 คน ในวันที่ 29-30 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา โดยมี ผศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มอบอุปกรณ์กีฬาให้กับโรงเรียน และร่วมพูดคุยกับผู้อำนวยการ ครู เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในการร่วมกันพัฒนาด้านดิจิทัลให้กับโรงเรียนอย่างไร้ขีดจำกัด
อาจารย์และบุคลากร SIT KMUTT รับรางวัล งานเชิดชูเกียรติบุคลากร มจธ. ประจำปี 2565
SIT KMUTT ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์และบุคลากร SIT ทั้ง 3 ท่าน ได้รับรางวัลในงานเชิดชูเกียรติบุคลากร มจธ. ประจำปี 2565 (Honorary Awards 2022) ดร.อันฮวา นิลรัตน์ศิริกุล รางวัลอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมนักศึกษาดีเด่น ผศ. ดร.อุมาพร สุภสิทธิเมธี รางวัลผู้ได้รับคุณวุฒิตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพ (PSF) และ คุณรุ่งนภา คำภัยวงศ์พิทักษ์ รางวัลเจ้าหน้าที่สนับสนุนดีเด่น โดยมี ผศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าร่วมแสดงความยินดีในครั้งนี้ด้วย วันที่ 12 กรกฎาคม 2566 SO/Bangkok Hotel โดยสำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล มจธ.
SIT Seminar ประจำปี 2566 สัมมนาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
SIT KMUTT คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดกิจกรรมสัมมนาคณะประจำปี 2566 วันที่ 8 กรกฎาคม 2566 โรงแรม Avani+ Hua Hin Resort เพื่อใช้เป็นเวทีรายงานผลการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมา ทิศทางการดำเนินงานของคณะฯ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเปิดโอกาสให้บุคลากร SIT ได้ระดมสมองแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างพนักงาน คณาจารย์ SIT Seminar 2566 ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.บวร ปภัสราทร อดีตคณบดีคนแรกของคณะฯ นำเสนอข้อมูลสถานการณ์การศึกษา แนวโน้ม ทั้งภายใน และต่างประเทศ ผศ.ดร.ประเสริฐ คันธมานนท์ รองอธิการบดีอาวุโสบริหารและผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) ของมหาวิทยาลัย นำเสนอนโยบาย และแผนการดำเนินการของมหาวิทยาลัย สถานการณ์อุดมศึกษาในปัจจุบัน และข้อเสนอแนะจากมุมของ ในระดับมหาวิทยาลัย และ ผศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และทีมบริหารชุดใหม่ของ SIT นำเสนอข้อมูลการดำเนินการในรอบปีงบประมาณ 2565 จนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งนำเสนอทิศทาง และนโยบายที่ SIT จะดำเนินการต่อในอนาคต นอกจากนี้ในงาน SIT Seminar 2566 มีการมอบรางวัล High Impact Lecturer ให้กับอาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลงานที่โดดเด่นจากการทำงานในปีที่ผ่านมาทั้งหมด 6 ท่าน ได้แก่ ผศ. ดร.ชลเมธ อาปณิกานนท์ รองคณบดีด้านพัฒนาความเป็นสากล รศ. ดร.วชิรศักดิ์ วานิชชา รองคณบดีอาวุโสด้านวิจัยและบริการวิชาการ รศ. ดร.โจนาธาน โฮยิน ชาน ที่ปรึกษาคณบดีด้านความร่วมมือนานาชาติ รศ. ดร.นิพนธ์ เจริญกิจการ ที่ปรึกษาคณบดีด้านบริการวิชาการ ดร. เทพโยธิน ปาล อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ อ. สนิท ศิริสวัสดิ์วัฒนา อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และในช่วงบ่ายมี Session แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มอาจารย์ เพื่อยกระดับการเรียนการสอน และนโยบายในการพัฒนา SIT ในอนาคต
SIT KMUTT คว้ารางวัล BIDC Awards 2023 สาขา e-Learning งาน BIDC 2023 Bangkok
วันที่ 6 กรกฎาคม 2566 งาน BIDC 2023 (Bangkok International Digital Content Festival) และการประกาศรางวัล " BIDC Awards 2023 " อาจารย์กิตติพันธ์ุ พัวพลเทพ ผู้ช่วยคณบดีด้านภาพลักษณ์องค์กร SIT KMUTT เข้ารับรางวัล สาขา e-Learning โดยสมาคมอีเลิร์นนิงแห่งประเทศไทย (e-LAT) ในหัวข้อ Best e-Learning Award for Business รางวัลสุดยอด e-Learning เพื่อธุรกิจ ในผลงาน “ WORK AS A TEAM WITH MICROSOFT TEAMS ” ทำงานเป็นทีมด้วยไมโครซอฟท์ทีม ผลงานจาก SIT KMUTT คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ True 5G Prohub ชั้น 4 Siam Discovery .
รางวัลงานวิจัยได้รับการอ้างอิงสูงสุด (Most Citations Award)
ผศ. ดร.อรสา พัสดุ (ศิษย์เก่า SIT ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์) และอาจารย์ที่ปรึกษา รศ. ดร.บัณฑิต วรรธนาภา และ ผศ. ดร.ชาคริดา นุกูลกิจ ได้รับรางวัล งานวิจัยได้รับการอ้างอิงสูงสุด (Most Citations Award) ตั้งแต่ 2012 ถึงปัจจุบันในฐานข้อมูล IEEE Xplore จำนวน 137 ครั้ง จากนักวิจัยทั่วโลก ในงานประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ครั้งที่ 20 (The 20th International Joint Conference on Computer Science and Software Engineering: JCSSE 2023) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการและจัดประชุม ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในผลงานวิจัยเรื่อง “Human gesture recognition using Kinect camera”
Node.js เครื่องมือยอดฮิตในสายพัฒนา Web Application “Basic Node.js” Workshop อบรมเชิงปฏิบัติการการใช้งาน Node.js ขั้นพื้นฐาน
เทคโนโลยีเว็บและหลักการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันถือเป็นเรื่องที่สำคัญ การเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ จะช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาสร้างและพัฒนาแอปพลิเคชันได้ง่ายและรวดเร็ว สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี และมีความปลอดภัยสูง รวมถึงการรู้จักและการเลือกใช้เครื่องมือในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันให้เหมาะสม จะช่วยให้การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ วันที่ 28 - 29 มิถุนายน 2566 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดอบรมในช่วงปิดภาคการศึกษาให้กับนักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ชั้นปีที่ 2 จำนวนกว่า 60 คน ในหัวข้อ "Node.js" เครื่องมือที่เป็นที่นิยมในการพัฒนาแอปพลิเคชันในปัจจุบัน และถูกออกแบบมาให้ทำงานในฝั่งเซิร์ฟเวอร์ด้วยภาษา JavaScript ช่วยให้สามารถใช้ JavaScript นอกเว็บเบราว์เซอร์ได้ Workshop ในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และหลักการพื้นฐานการใช้งาน Node.js และสามารถนำ Node.js มาประยุกต์ใช้ และต่อยอดในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันได้อย่างเหมาะสม ณ ห้อง Training 11/4 และ 11/5 อาคารพหุวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร. ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นผู้อบรม .
Basic Database Workshop กิจกรรมเสริมนอกห้องเรียนช่วงปิดภาคการศึกษา
วันที่ 20-22 มิถุนายน 2556 SIT KMUTT จัด Workshop "Basic Database (DB2)" อบรมพื้นฐานการใช้งานและการจัดการฐานข้อมูล ให้กับนักศึกษา 2 หลักสูตรคือ วิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรภาษาอังกฤษ CS และ นวัตกรรมบริการดิจิทัล DSI ชั้นปีที่ 2 ที่สนใจในช่วงปิดภาคการศึกษา จำนวนกว่า 50 คน Workshop ในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อต่อยอดความรู้พื้นฐานด้านการจัดการฐานข้อมูลซึ่งเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนาซอฟแวร์ และสามารถนำไปประยุกใช้ในการเรียนได้อย่างเหมาะสม อาคาร LX โดย ผศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. .
SIT KMUTT จัดแสดงผลงาน Testimate ระบบสอบออนไลน์ ในงาน Show & Share 2023
วันที่ 14 มิถุนายน 2566 SIT จัดแสดงผลงาน Testimate ระบบสอบออนไลน์ ที่สามารถควบคุมการสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบตรวจสอบผลสอบที่รวดเร็ว และแม่นยำ พร้อมฟังก์ชันช่วยป้องกันการทุจริต เป็นระบบที่นำไปใช้ในการทดลองสอบในรูปแบบ CBT (Computer Base Test) TCAS 66 ภายในงาน Show & Share ครั้งที่ 6 งาน Present ผลงานจากหน่วยงานใน KMUTT ภายใต้หัวข้อ “Sustainable University through Digital Transformation" ผลงานที่ พัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรประสิทธิภาพสูงด้วย Digital Transformation เพิ่มมาตรฐานการทำงาน ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และรองรับการให้บริการหน่วยงานภายใน และภายนอกองค์กร ให้บรรลุเป้าหมายสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืน (Sustainable University) โดยในงาน รศ.ดร.วชิรศักดิ์ วานิชชา รองคณบดีอาวุโสด้านวิจัยและบริการวิชาการ ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "เส้นทางการบรรลุเป้าหมายสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่ยังยืนผ่านการพลิกโฉมด้วยดิจิทัล" . สนใจ Testimate ระบบสอบออนไลน์ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ รศ.ดร.วชิรศักดิ์ วานิชชา | Testimate: https://testimate.app/ .
“Java Game Programming” อบรม New Skill นักศึกษาใหม่ SIT
วันที่ 7-9 มิถุนายน 2566 SIT KMUTT จัด Workshop "Object-Oriented Game Programming from the Ground up" ให้กับนักศึกษาใหม่ SIT ปีการศึกษา 2566 จาก 3 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรภาษาอังกฤษ (CS) และ สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล (DSI) จำนวนกว่า 120 คน . Workshop ในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะในการเขียนโปรแกรม ให้กับนักศึกษาใหม่ ระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีพื้นฐานความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมในระดับที่แตกต่างกัน ได้รับความรู้และหลักการในการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ และเพื่อให้ผู้เข้าอบรมและนักศึกษาช่วยงาน ได้ฝึกทักษะและเรียนรู้วิธีการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นผ่านเกม โดยได้รับเกียรติจาก คุณธนะ นิตยฤกษ์ ศิษย์เก่า SIT เป็นวิทยากรเพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ และฝึกทักษะการเขียนโปรแกรม อีกทั้งสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียน และพัฒนาตัวเอง การฝึกอบรมนี้ ณ อาคารพหุวิทยาการ (LX) ชั้น 11 ห้อง 3-5 . .
สัมมนาสโมสรนักศึกษาคณะ SIT ปีการศึกษา 2566
เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมาทางคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) ได้จัดสัมมนาสโมสรนักศึกษาคณะ SIT ประจำปีการศึกษา 2566 ณ ห้องประชุม 3/3 คณะ SIT จุดประสงค์เพื่อประเมินกิจกรรมและโครงการที่สโมสร ฯ จัดในรอบปีที่ผ่านมา ถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานของแต่ละฝ่ายงาน สร้างกระบวนการทำงานสำหรับคณะกรรมการชุดใหม่และร่วมกันจัดทำปฏิทินกิจกรรมนักศึกษาสำหรับปีการศึกษา 2566 ที่กำลังมาถึง
Internet of Things (IoT) Workshop เรียนรู้ด้วยอุปกรณ์จริง จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. จัด Workshop Introduction to IoT กิจกรรมนอกห้องเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะให้กับนักศึกษาจาก 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (CS) หลักสูตรภาษาอังกฤษ และสาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล (DSI) จำนวนกว่า 30 คนที่สนใจ โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวต้อนรับ และให้คำแนะนำเพิ่มเติมกับนักศึกษาที่เข้าร่วม เป็นกิจกรรมจากรุ่นพี่ส่งต่อความรู้ ให้กับน้อง ๆ จาก พี่ธัญ ภูมิเจตน์ สุดประเสริฐ นักศึกษา CS ปี 3 ณ อาคาร Learning Exchange มจธ. . .
“SIT Hackathon 2023” Challenge พัฒนา Web Application อย่างไร้ขีดจำกัด
เมื่อวันที่ 27 – 30 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดกิจกรรม “SIT Hackathon 2023” ณ Classroom 4/2 ชั้น 4 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) และ Training Room 11/3-4 ชั้น 11 อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX) ผู้เข้าร่วมในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล (DSI) จำนวน 47 คน หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) (CS) จำนวน 54 คน ว่าที่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทั้งหลักสูตร CS และ DSI จำนวน 18 คน นักศึกษาศิษย์เก่าหลักสูตร CS จำนวน 5 คน และกลุ่มนักศึกษาผู้จัดงาน จำนวน 35 คน โดยมี ผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และผศ.ดร.ชลเมธ อาปณิกานนท์ รองคณบดีด้านพัฒนาความเป็นสากล และประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) เป็นประธานเปิดกิจกรรม . มีเป้าหมายและส่งเสริมให้นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมได้นำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนมาพัฒนาและประยุกต์ เพื่อแก้ปัญหาที่กำหนดในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันตลอดระยะเวลาของ Hackathon ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ กิจกรรมดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 28 Hrs. Hackathon สำหรับนักศึกษาหลักสูตร CS และกลุ่ม 2 Mini Hackathon สำหรับนักศึกษาหลักสูตร DSI โดยนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานจากโจทย์จริง โดยมีอาจารย์ นักศึกษาปัจจุบัน และศิษย์เก่าให้คำปรึกษาตลอดกิจกรรม ส่วนกิจกรรมในวันสุดท้ายจะจัดให้มีการนำเสนอผลงานต่อเพื่อนนักศึกษา คณาจารย์ ศิษย์เก่า และผู้ปกครอง เข้าร่วมรับชมการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Fan Page: SIT.Family ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา . From May 27th to 30th, 2023, the School of Information Technology at King Mongkut's University of Technology Thonburi organized the "SIT Hackathon 2023" event. It took place at Classroom 4/2, on the 4th floor of the School of Information Technology (SIT), and Training Room 11/3-4, on the 11th floor of the Learning Exchange Building (LX). The participants in this event included 47 first-year students from the Bachelor of Arts in Digital Service Innovation (DSI) program, 54 students from the Bachelor of Science in Computer Science (CS) program, 18 high-school students who registered from both CS and DSI programs, 5 alumni from the CS program, and a group of 35 organizing students. The event was chaired
SIT ร่วมมือ Microsoft Thailand จัดงาน Pitching Day: AI For Accessibility Hackathon
. วันพุธที่ 7 มิถุนายน 2566 SIT KMUTT ร่วมมือกับ Microsoft Thailand และ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดงาน Pitching Day: AI For Accessibility Hackathon อาคาร Learning Exchange ชั้น 12 เพื่อนำเสนอไอเดียสนับสนุนให้ผู้พิการขยายขีดความสามารถ และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ด้วย AI และ Cloud Technology มีผู้เข้าร่วม Pitching ทั้งหมด 7 กลุ่ม ผ่านหัวข้อใน 4 มิติ การใช้ชีวิตประจำวัน การติดต่อสื่อสารและการมีส่วนร่วมในสังคม โอกาสในการได้รับการจ้างงาน การศึกษา ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.อุมาพร สุภสิทธิเมธี รองคณบดีด้านบริหาร SIT KMUTT กล่าวต้อนรับผู้เข้าแข่งขัน และคณะกรรมการ ทั้ง 5 ท่าน คุณโอม ศิวะดิตถ์ National Technology Officer Microsoft Thailand คุณวสุพล ธารกกาญจน์ Microsoft Azure Business Group Director, Microsoft Thailand คุณอนุพนธ์ เซ็นสาส์น กรรมการมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร เจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิจัยโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ และ ดร. นิวรรณ วัฒนกิจรุ่งโรจน์ อาจารย์ประจำ SIT KMUTT ร่วมตัดสินในครั้งนี้
“JSCI13” the 13th Joint Symposium on Computational Intelligence
JSCI13 is the 13th Joint Symposium on Computational Intelligence. It is an international conference on science and innovation organized by the Thailand Chapter of IEEE Computational Intelligence Society. on May 26, 2023 at LX Building School of Information Technology, KMUTT. The hybrid conference brings together researchers, industry professionals, and students to discuss the latest advancements in science and innovation. . The conference will feature insightful invited talks by esteemed speakers: . "Mathematical Models in Social Interaction" by Prof. Dr. Kazushi IKEDA (Nara Institute of Science and Technology) "Cooperatively Managing and Exploiting Distributed Co-occurrence Graphs" by Asst. Prof. Dr.-Ing. Supaporn SIMCHAROEN (King Mongkut’s University of Technology North Bangkok) "Question Generation Using Sequence-to-Sequence Model with Semantic Role Labels" by Prof. Dr. Aijun AN (York University) "Recent Developments in Task-Oriented and Context-Sensitive Information Retrieval" by Prof. Dr. Jimmy HUANG (York University) . . The program also includes 7 student presentations, including foreign delegates, as well as poster presentations from the CSC532 Machine Learning class, panel discussions, and networking opportunities. The topics covered include AI, data science, robotics, IoT, and more. For more information, Visit Linked : JSCI 13th
สโมสรนักศึกษาคณะ SIT ประจำปีการศึกษา 2566
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม เวลา 8.00 น. – 22 พฤษภาคม 2566 เวลา 17.00 น. คณะ ฯ ได้จัดการเลือกตั้งสโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2566 ด้วยระบบออนไลน์ ในการเลือกตั้งคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาปริญญาตรีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศปีการศึกษา 2566 มีจำนวนกลุ่มที่สมัคร 1 กลุ่ม ประกอบด้วยสมาชิก 16 คน มีผู้มาใช้สิทธิออกเสียง 212 คน ผลการนับคะแนนปรากฏว่ายอมรับทีมผู้สมัครเป็นคณะกรรมการสโมสรนักศึกษา จำนวน 198 เสียง คิดเป็น 93.4 % ไม่ยอมรับผู้สมัครเป็นคณะกรรมการสโมสรนักศึกษา จำนวน 3 เสียง คิดเป็น 1.4 % และ งดออกเสียง งดออกเสียง จำนวน 11 เสียง คิดเป็น 5.2 % คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสโมสรนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566
“Let CS Cook” : เมื่อเด็ก Coding ต้องมา Cooking 😉
On May 8, 2023, the School of Information Technology organized the “Let CS Cook 2023” activity on the 4th floor of SIT Building. The participants were 27 CS undergraduate students and a group of 7 CS students as an organizing team. Dr. Patcharaporn Lavangnananda, advisor of ELCS, gave an opening speech. The Let CS Cook 2023 was a cooking activity in which both Thai and international CS students were mixed into 3 groups, each of which worked together to cook a dish from 3 different countries: Thai, Indian, and Cambodian. In addition, there were two mini-games during the cooking process. The purposes of this activity were to promote and strengthen the relationships between Thai and international CS students and to promote cultural exchanges between each other through food culture. The activity was fun, and the students fully participated during cooking. ------------------------------- เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดกิจกรรม Let CS Cook 2023 ขึ้น ณ บริเวณชั้น 4 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมคือ นักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) จำนวน 27 คน และมีกลุ่มนักศึกษาผู้จัดงานอีก 7 คน โดยมี ดร.พัชราภรณ์ ลวันยานนท์ ที่ปรึกษาศูนย์ประสานงานภาษาอังกฤษ เป็นประธานเปิดงาน กิจกรรม Let CS Cook 2023 เป็นกิจกรรมการทำอาหารโดยแบ่งกลุ่มคละระหว่างนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ ให้ร่วมมือกันทำอาหารจาก 3 ประเทศ ได้แก่ อาหารไทย อาหารอินเดีย และอาหารกัมพูชา และมีการแทรกเกมการแข่งขันเล็ก ๆ น้อย ๆ ระหว่างการทำอาหาร ส่งเสริมการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ และยังส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกันผ่านวัฒนธรรมอาหาร ซึ่งบรรยากาศภายในงานเป็นไปอย่างสนุกสนานและนักศึกษาร่วมมือทำอาหารของกลุ่มตนเองอย่างเต็มที่
SIT Career Day 2023 : งานไอทีเพื่อคนไอที
เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) ได้จัดงาน "SIT Career Day 2023" งานที่รวบรวมบริษัทไอทีชั้นนำ 43 บริษัทมาจัดแสดงบูธเพื่อให้ข้อมูลการสมัครงานและฝึกงาน ณ ห้อง Self Learning 2 ชั้น 2 อาคารพหุวิทยาการ (อาคาร LX ) โดยมีนักศึกษาจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) จำนวน 452 คนและจากคณะต่าง ๆ ภายใน มจธ. จำนวน 174 คน เข้าร่วมงาน ทำให้บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักทั้งตัวบริษัทที่ออกบูธและนักศึกษาที่เข้าชมงาน เปิดโอกาสให้มีการพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูลกันแบบเห็นหน้าคาตากันเป็นครั้งแรกหลังจากห่างกันไป 2 ปีจากสถานการณ์โควิด งาน SIT Career Day 2023 จะสำเร็จไปไม่ได้หากขาดพันธมิตรภาคธุรกิจ ที่มาร่วมออกบูธในครั้งนี้ ขอขอบคุณตัวแทนจากบริษัทรายนามดังนี้ 1 Accenture Solutions Co., Ltd. 2 Agoda Services Co., LTD 3 Arise by INFINITAS 4 ธนาคารกรุงเทพ 5 Bluebik Group Public Company Limited 6 CDG GROUP 7 Clicknext 8 Freewill Solutions 9 Innovasive Co., Ltd. 10 IT One 11 Kerry Express 12 ธนาคารเกียรตินาคินภัทร 13 KPMG Thailand 14 ธนาคารกรุงไทย 15 LEARN Corporation Public Company Limited 16 LINE MAN Wongnai 17 Magic Software (Thailand) Corp.,Ltd 18 MFEC Public Company Limited 19 National ITMX Company Limited 20 บริษัทเงินเทอร์โบ 21 บริษัทไทยสมุทรประกันชีวิต 22 Opsta (Thailand) Co.,Ltd. 23 OSELLUS ASIA PACIFIC CO., LTD. 24 OSOTSPA 25 Playtorium Solutions Company Limited 26 Plus IT Solution co., ltd. 27 RentSpree 28 ธนาคารไทยพาณิชย์ 29 SCB TechX 30 SIRI Soft 31 Skooldio Company Limited 32 SS&C Technologies Inc. 33 STelligence Company 34 Techno Brave Asia Ltd. 35 Thai Beverage PLC 36 THiNKNET 37 Tomato Ideas Co Ltd 38 Unixdev Co.,Ltd. 39 Wisdom Vast Co.,Ltd. 40 Yannix Co.,Ltd. 41 Zeen Innovation co., ltd. 42 Forth Corporation 43 BTS Group
CS@SIT จัดบรรยายหัวข้อ ” Data Mining | Data Science | Data Analytics in real-world “
เพราะข้อมูลเป็นสิ่งมีค่า แล้วจะทำอย่างไร ? ถึงสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เรามีอยู่ได้มากที่สุด วันที่ 10 มีนาคม 2566 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) จัดบรรยาย ในหัวข้อ " Data mining & Data Science & Data Analytics in real-world " ให้กับนักศึกษา CS สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) ในรายวิชา CSC 531 Data Mining โดย ผศ. ดร. ชาคริดา นุกูลกิจ อาจารย์ประจำวิชา ในรูปแบบ Hybrid อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX) ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.ภัสด์ พุทธาพิพัฒน์ (Leading Analytics and Products) จาก DataX - a company under SCBX เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นการนำไปใช้งานจริง ในการทำ Data mining Data Science และ Data Analytics จากประสบการณ์ตรงของผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานในสาย Data
นักศึกษา SIT KMUTT เข้ารับรางวัลดีเด่น ด้านกิจกรรมนักศึกษา การเรียนดี และสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย
นักศึกษา SIT KMUTT เข้ารับรางวัลดีเด่น ด้านกิจกรรมนักศึกษา การเรียนดี และสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมีการจัดงานมอบเกียรติบัตรและเหรียญที่ระลึก แก่นักศึกษา รางวัลดีเด่น ด้านกิจกรรมนักศึกษา ด้านเรียนดีและด้านสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย ให้กับนักศึกษา มจธ. ประจำปีการศึกษา 2563 และ 2564 โดยวันงานมีนักศึกษา จาก SIT KMUTT เข้าร่วมพิธีมอบรางวัล 7 คน พิธีมอบรางวัลครั้งนี้มีนักศึกษาจาก SIT KMUTT ได้รับรางวัลดีเด่น ทั้งหมด 13 คน รวม 15 รางวัล ดังนี้ 1. จตวัฒน์ เซี่ย | นักศึกษาสาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ รางวัลเชิดชูเกียรติ และรางวัลเรียนดีเหรียญทอง ปีการศึกษา 2563 2. บุญญฤทธิ์ ปึงทมวัฒนากูล | นักศึกษาสาขาวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) รางวัลเรียนดีเหรียญทอง ปีการศึกษา 2563 3. รวิช อินทรพัฒนาวาณิช | นักศึกษาสาขาวิชา นวัตกรรมบริการดิจิทัล รางวัลเรียนดีเหรียญเงิน ปีการศึกษา 2563 และ 2564 4. พิทวัส ทวีกิจวรชัย | นักศึกษาสาขาวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) รางวัลเรียนดีเหรียญเงิน ปีการศึกษา 2563 รางวัลเชิดชูเกียรติ และรางวัลเรียนดีเหรียญทอง ปีการศึกษา 2564 5. วีรภัทร ชรินกาญจน์ | นักศึกษาสาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ รางวัลเรียนดีเหรียญทองแดง ปีการศึกษา 2563 รางวัลเรียนดีเหรียญเงิน ปีการศึกษา 2564 6. ณภัทร วัฒนาสุทธิวงศ์ | นักศึกษาสาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ รางวัลเรียนดีเหรียญทองแดง ปีการศึกษา 2564 7. สิทธิโชค ปิ่นตะกุล | นักศึกษาสาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ รางวัลเรียนดีเหรียญทองแดง ปีการศึกษา 2564 8. ตะวัน หมวดหมื่นไวย์ | นักศึกษาสาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ รางวัลเรียนดีเหรียญทองแดง ปีการศึกษา 2564 9. วิศรุต กิตติเจริญพรงาม | นักศึกษาสาขาวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) รางวัลเรียนดีเหรียญทองแดง ปีการศึกษา 2564 10. มณธรา เกียรติเรืองชัย | นักศึกษาสาขาวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) รางวัลเรียนดีเหรียญทองแดง ปีการศึกษา 2564 11. พิมพ์กัญญา ลือชัย | นักศึกษาสาขาวิชา นวัตกรรมบริการดิจิทัล รางวัลเรียนดีเหรียญทองแดง ปีการศึกษา 2564 12. เนียน-อิ๋ง หง | นักศึกษาสาขาวิชา นวัตกรรมบริการดิจิทัล รางวัลเรียนดีเหรียญทองแดง ปีการศึกษา 2564 13. ธนทัต ธนทัต วงษ์เอบุษ | นักศึกษาสาขาวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) รางวัลเชิดชูเกียรตินักกิจกรรม ปีการศึกษา 2564 โดยในงานได้รับเกียรติจากผู้บริหารมหาวิทยาลัย รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย รักษาการแทนอธิการบดี ผศ. ดร.ประเสริฐ คันธมานนท์ รักษาการแทนรองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร รศ. ดร.เชาวลิต ลิ้มมณีวิจิตร รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา และอาจารย์ธนิตสรณ์ จิระพรชัย รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายแผนและสารสนเทศ ณ ห้องประชุม LIB108 สำนักหอสมุด