• King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT)
  • คำถามที่พบบ่อย
  • ศิษย์เก่า
  • บุคลากร
  • นักศึกษาปัจจุบัน
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ SIT
    • รายชื่อบุคลากร
      • ที่ปรึกษาคณบดี
      • ผู้บริหาร
      • ผู้ช่วยคณบดี
      • ประธานหลักสูตร/รองประธานหลักสูตร
      • อาจารย์
      • พนักงาน
    • ประวัติความเป็นมา
    • อัตลักษณ์องค์กร
    • โครงสร้างหน่วยงาน
    • พันธกิจของหน่วยงาน
    • แผนยุทธศาสตร์
    • กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    • พันธมิตร
    • ข้อมูลแผนการดำเนินงานและงบประมาณประจำปี 2566
    • ติดต่อเรา
    • Close
  • ข่าวสาร
    • ทุนการศึกษา
    • ข่าวสารและกิจกรรม
    • ข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรม
    • ข่าวรับสมัครงาน
    • โครงงานและนวัตกรรม
    • SIT GALLERY
    • Close
  • งานวิจัย
  • บริการวิชาการ
    • ddd-logoDigital Divide Diminution – โครงการลดช่องว่างดิจิทัล
    • 02-esrc-logoe-Service Research Center (ESRC) – ศูนย์วิจัยงานบริการอิเล็กทรอนิกส์
    • elcsEnglish Language Coordinating Section (ELCS) – ศูนย์ประสานงานภาษาอังกฤษ
    • 04-si-logoCenter of Systems Innovations (SI) – ศูนย์นวัตกรรมระบบ
    • 03-library-logoSIT Library
    • Close
  • หลักสูตรการศึกษา
    • ปริญญาตรี
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
      • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
      • สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล
    • ปริญญาโท
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
      • สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์เพื่อวิทยาการข้อมูล
      • สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจดิจิทัล
      • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
      • สาขาวิชาชีวสารสนเทศและชีววิทยาระบบ (หลักสูตรนานาชาติ)
    • ปริญญาเอก
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
      • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
    • ประกาศนียบัตร
      • สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล
      • สาขาวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Certification in Big Data Analytics)
    • Close
  • Quick Links
    • 2541669 – 36INFRASTRUCTURE SERVICES
    • 1741322 – chair desk schoolClassroom on Demand
    • 1055069 – doorRoom Checking
    • 1055071 – documentใบคำร้องออนไลน์
    • 2541674 – email mail message sendระบบอีเมล์นักศึกษา
    • 2541665 – protection secure security shieldเปลี่ยนรหัสผ่าน
    • 1741314 – graduate graduate cap studeแจ้งสำเร็จการศึกษา โท-เอก
    • analyticsตรวจสอบสถานภาพนักศึกษาระดับโท-เอก
    • if_Calendar-2_377882ปฏิทินการศึกษา
    • if_Calendar-2_377882ปฏิทินกิจกรรม
    • menu_icon_897SIT Freshmen
      • ระดับปริญญาตรี
      • ระดับบัณฑิตศึกษา
    • park-icon-png-72ระบบบัตรผ่านเข้า-ออก (สติกเกอร์) สำหรับนักศึกษา
    • Close
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ SIT
    • รายชื่อบุคลากร
      • ที่ปรึกษาคณบดี
      • ผู้บริหาร
      • ผู้ช่วยคณบดี
      • ประธานหลักสูตร/รองประธานหลักสูตร
      • อาจารย์
      • พนักงาน
    • ประวัติความเป็นมา
    • อัตลักษณ์องค์กร
    • โครงสร้างหน่วยงาน
    • พันธกิจของหน่วยงาน
    • แผนยุทธศาสตร์
    • กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    • พันธมิตร
    • ข้อมูลแผนการดำเนินงานและงบประมาณประจำปี 2566
    • ติดต่อเรา
    • Close
  • ข่าวสาร
    • ทุนการศึกษา
    • ข่าวสารและกิจกรรม
    • ข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรม
    • ข่าวรับสมัครงาน
    • โครงงานและนวัตกรรม
    • SIT GALLERY
    • Close
  • งานวิจัย
  • บริการวิชาการ
    • ddd-logoDigital Divide Diminution – โครงการลดช่องว่างดิจิทัล
    • 02-esrc-logoe-Service Research Center (ESRC) – ศูนย์วิจัยงานบริการอิเล็กทรอนิกส์
    • elcsEnglish Language Coordinating Section (ELCS) – ศูนย์ประสานงานภาษาอังกฤษ
    • 04-si-logoCenter of Systems Innovations (SI) – ศูนย์นวัตกรรมระบบ
    • 03-library-logoSIT Library
    • Close
  • หลักสูตรการศึกษา
    • ปริญญาตรี
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
      • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
      • สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล
    • ปริญญาโท
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
      • สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์เพื่อวิทยาการข้อมูล
      • สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจดิจิทัล
      • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
      • สาขาวิชาชีวสารสนเทศและชีววิทยาระบบ (หลักสูตรนานาชาติ)
    • ปริญญาเอก
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
      • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
    • ประกาศนียบัตร
      • สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล
      • สาขาวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Certification in Big Data Analytics)
    • Close
  • Quick Links
    • 2541669 – 36INFRASTRUCTURE SERVICES
    • 1741322 – chair desk schoolClassroom on Demand
    • 1055069 – doorRoom Checking
    • 1055071 – documentใบคำร้องออนไลน์
    • 2541674 – email mail message sendระบบอีเมล์นักศึกษา
    • 2541665 – protection secure security shieldเปลี่ยนรหัสผ่าน
    • 1741314 – graduate graduate cap studeแจ้งสำเร็จการศึกษา โท-เอก
    • analyticsตรวจสอบสถานภาพนักศึกษาระดับโท-เอก
    • if_Calendar-2_377882ปฏิทินการศึกษา
    • if_Calendar-2_377882ปฏิทินกิจกรรม
    • menu_icon_897SIT Freshmen
      • ระดับปริญญาตรี
      • ระดับบัณฑิตศึกษา
    • park-icon-png-72ระบบบัตรผ่านเข้า-ออก (สติกเกอร์) สำหรับนักศึกษา
    • Close

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

  • Home
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

รายละเอียดหลักสูตร ฉบับปรับปรุงปี 2567 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
Bachelor of Science in Information Technology (IT) หลักสูตรฉบับปรับปรุงปี 2567

*** สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาในปีการศึกษา 2567 จะต้องใช้หลักสูตรฉบับปรับปรุงปี 2567 ***

 

เอกสารรายละเอียดหลักสูตร ฉบับปรับปรุงปี 2567

คุณลักษณะบัณฑิตของหลักสูตร

       หลักสูตรมุ่งพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม และมีสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและคุณลักษณะที่จำเป็น และเป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรม “มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ทันที” ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

จุดเด่นของหลักสูตร

  • Job Ready with T-Shaped Skills หลักสูตรมุ่งเน้นพัฒนาบัณฑิตที่มีความพร้อมในการทำงานในภาคอุตสาหกรรม สามารถเริ่มทำงานที่ใช้เทคโนโลยี/เครื่องมือที่ทันสมัยได้ทันที มีพื้นฐานทางเทคนิคที่เข้มแข็ง มีสมรรถนะทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก (T-Shaped Skills) ที่จำเป็นในการทำงานเป็นทีมแบบข้ามสายงาน (Cross-Functional Team)
  • Multiple Learning Pathways หลักสูตรมีเส้นทางการเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถเลือกเส้นทางการเรียนสู่สายอาชีพที่ตนเองสนใจและเป็นที่ต้องการของผู้ใช้แรงงาน โดยมีวิชาพื้นฐานในแต่ละสายอาชีพให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้/ทักษะ เพื่อให้ผู้เรียนรู้สมรรถนะของตนเองในแต่ละด้านก่อนพิจารณาเลือกเส้นทางการเรียนสู่สายอาชีพ โดยผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้มากกว่า 1 เส้นทางการเรียนรู้และสามารถเปลี่ยนเส้นทางการเรียนรู้ของตนเองได้ในภายหลัง
  • Outcome Based Education หลักสูตรเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่พัฒนาจากการลงมือทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายวิชาโครงงานบูรณาการ รายวิชาโครงงานรวบยอด และรายวิชาการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงาน (ฝึกงาน) ที่เป็นรายวิชาบังคับ รายวิชาในหลักสูตรเป็นลักษณะโมดูล มีขนาด 1, 2, หรือ 3 หน่วยกิต ผู้เรียนพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป มีการร้อยเรียงรายวิชาที่สอดคล้องกัน
  • Hands-on หลักสูตรเน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ฝึกฝนเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยในหมวดวิชาพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ มี 16 รายวิชาจาก 33 รายวิชาที่มีชั่วโมงปฏิบัติ ในหมวดวิชาเชิงลึกทางเทคโนโลยีสารสนเทศแบบบังคับเลือก มี 22 รายวิชาจาก 24 รายวิชาที่มีชั่วโมงปฏิบัติ
  • Customer and Stakeholders Focus หลักสูตรเน้นการตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น หลักสูตรกำหนดให้ผู้เรียนฝึกงานในภาคการศึกษาสุดท้าย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทำงานต่อได้ทันที หรือการให้ผู้เรียนมีทางเลือกในเส้นทางการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น

หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร

  • ผู้ที่มีความสนใจทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องการประกอบอาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในตำแหน่งที่มีความต้องการของตลาดแรงงานสูง มีเงินเดือนและอัตราการได้งานสูง
  • ผู้ที่ไม่แน่ใจในสายอาชีพไอทีที่เหมาะกับตนเอง หรือผู้ที่ต้องการทางเลือกและอิสระในการเลือก
  • ผู้ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านไอที ถึงแม้จะไม่ได้เรียนสายวิทย์-คณิต
  • ผู้ที่ต้องการมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในสายอาชีพไอที และต้องการเรียนเชิงลึกตามสายอาชีพที่สนใจ พร้อมทำงานได้ทันที
  • ผู้ที่ชอบเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ

เส้นทางการเรียนรู้สู่สายอาชีพ (สายอาชีพหลัก)

      หลักสูตรมี 9 แผนการเรียนตามเส้นทางการเรียนรู้สู่สายอาชีพ ที่ผู้เรียนเลือกภายหลังจากเรียนรายวิชาพื้นฐานครบ 3 ภาคการศึกษา โดยผู้เรียนต้องเลือกอย่างน้อย 1 เส้นทางการเรียนรู้ แต่สามารถเลือกเรียนรายวิชาในเส้นทางการเรียนรู้อื่นร่วมด้วยได้ เช่น สาย Frontend Developer คู่กับสาย UX/UI Designer, สายฺ Backend Developer คู่กับ Database Administrator โดยมีแผนการเรียนทั้งหมด ดังนี้

  1. นักพัฒนาฟรอนเอนด์ (Frontend Developer) — 4 รายวิชา 12 หน่วยกิต
  2. นักพัฒนาแบ็กเอนด์ (Backend Developer) — 4 รายวิชา 12 หน่วยกิต
  3. นักพัฒนาฟูลสแตก (Full-Stack Developer) — 6 รายวิชา 18 หน่วยกิต
  4. นักพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI Developer) — 7 รายวิชา 18 หน่วยกิต
  5. นักวิทยาการข้อมูล (Data Scientist) — 7 รายวิชา 16 หน่วยกิต
  6. นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) — 6 รายวิชา 14 หน่วยกิต
  7. วิศวกรข้อมูล (Data Engineer) — 8 รายวิชา 11 หน่วยกิต
  8. ผู้ดูแลฐานข้อมูล (Database Administrator) — 6 รายวิชา 7 หน่วยกิต
  9. นักออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้และส่วนต่อประสาน (UX/UI Designer) — 3 รายวิชา 9 หน่วยกิต

สายอาชีพรองที่บัณฑิตสามารถทำงานได้*

  1. นักวิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analyst)
  2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
  3. ผู้ประสานงานโครงการ (Project Coordinator)
  4. นักทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Tester)
  5. โปรแกรมเมอร์ (Software Programmer)
  6. วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)
  7. วิศวกรเดฟออปส์ (DevOps Engineer)
  8. นักเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Officer)
  9. ผู้สนับสนุนไอที (IT Support Officer, IT Help Desk)

_______________________

* บัณฑิตมีความรู้พื้นฐานเพียงพอในการประกอบอาชีพในระดับพื้นฐาน อาจต้องมีการศึกษาในเชิงลึกเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความรู้/ทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง

โครงสร้างหลักสูตร

  หน่วยกิต
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป  27
     1.2 กลุ่มวิชาการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3
     1.1 กลุ่มวิชาคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิต  3
     1.3 กลุ่มวิชาการคิดอย่างมีระบบ  3
     1.4 กลุ่มวิชาคุณค่าและความงาม  3
     1.5 กลุ่มวิชาเทคโนโลยี นวัตกรรมและการจัดการ     3
     1.6 กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร   12
2. หมวดวิชาเฉพาะ
95
    2.1 วิชาพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (วิชาบังคับ) 60
          2.1.1 เทคโนโลยีสารสนเทศ     7
          2.1.2 ธุรกิจและความเป็นมืออาชีพ 7
          2.1.3 การออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้และส่วนต่อประสาน 3
          2.1.4 โครงสร้างพื้นฐานของระบบ  11
          2.1.5 การพัฒนาซอฟต์แวร์   23
          2.1.6 ข้อมูลและวิทยาการข้อมูล  6
          2.1.7 ฐานข้อมูล  3
     2.2 วิชาเชิงลึกทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (วิชาเลือก)    21
          2.2.1 วิชาบังคับเลือก (ตามแผนการเรียน)  
          2.2.2 วิชาเลือกทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  
     2.3 การเรียนรู้ผ่านการทำโครงงานหรือประสบการณ์การทำงาน  14
3. หมวดวิชาเลือกเสรี   6
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  128

ภาษาที่ใช้ 

  • หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย และ/หรือ ภาษาอังกฤษ ที่สอดคล้องกับระดับความสามารถทางภาษาของผู้เรียน โดยใช้หนังสือและเอกสารประกอบการสอนวิชาของหลักสูตร (รหัส INTxxx) เป็นภาษาอังกฤษ

คุณสมบัติของผู้สมัคร/Qualifications

  1. รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า โดยจะต้องสำเร็จการศึกษาในแผนการเรียน ดังต่อไปนี้

    1.1) แผนการเรียนที่เน้นการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หรือคอมพิวเตอร์ หรือสาระที่เกี่ยวข้อง หรือ

    1.2) แผนการเรียนอื่น ๆ โดยพิจารณาจากความสามารถหรือผลงาน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามดุลยพินิจ
    ของคณะกรรมการประจำหลักสูตร

  2. กรณีเป็นนักศึกษาต่างชาติ ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการสื่อสาร ฟัง พูด อ่านและเขียนภาษาไทย ได้และ/หรือภาษาอังกฤษได้ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำหลักสูตร
  3. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ/หรือ ตามระเบียบข้อบังคับการคัดเลือกของ มจธ. และ/หรือ ตามคุณสมบัติอื่น ๆ ที่คณะกรรมการประจำหลักสูตรกำหนด

  เกณฑ์การรับสมัคร รอบ Active Recruitment

  • กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
  • มีความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

หน่วยกิตรวมของกลุ่มสาระการเรียนรู้

หน่วยกิตขั้นต่ำ

คณิตศาสตร์

ไม่กำหนดขั้นต่ำ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ไม่กำหนดขั้นต่ำ

ภาษาต่างประเทศ

ไม่กำหนดขั้นต่ำ

  • เกณฑ์การรับสมัคร/เกณฑ์การเรียกสอบคัดเลือก/เกณฑ์การรับเข้าศึกษา
รายการ

เกณฑ์การรับสมัคร/

เกณฑ์การเรียกสอบคัดเลือก

เกณฑ์การรับเข้าศึกษา
เกรดเฉลี่ย/คะแนนขั้นต่ำ ค่าน้ำหนัก
GPAX 2.75 –
GPA คณิตศาสตร์ 2.75 –
GPA วิทยาศาสตร์ ไม่กำหนดขั้นต่ำ –
GPA ภาษาต่างประเทศ 2.75 –
สอบสัมภาษณ์ 50
แฟ้มสะสมผลงาน 50
รวม 100

หมายเหตุ :

  1. ในกรณีที่ยังไม่ได้รับผลการเรียนภาคการศึกษาที่ 5 ในระหว่างการสมัคร ให้นำส่งผลการเรียนภาคการศึกษาที่ 5 ภายในวันสัมภาษณ์

  2. ใช้ผลสอบ TGAT/TPAT3 ประกอบการพิจารณา (หากมี)

  3. ต้องมีแฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) ที่สนับสนุนการเข้าเรียนในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถส่งพร้อมคลิปแนะนำและอธิบายผลงานตนเอง
  4. เป็นผู้ที่ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง หรือความผิดปกติใดๆ ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาในหลักสูตร โดยคณะกรรมการสัมภาษณ์ ตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุด
  5. สอบสัมภาษณ์โดยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
  6. ผู้สมัครต้องเตรียมการนำเสนอผลงานทางเทคโนโลยีสารสนเทศในระหว่างการสัมภาษณ์

  ค่าใช้จ่ายในการศึกษา/Tuition Fees

ค่าเล่าเรียนเฉลี่ยต่อภาคการศึกษา 37,600 บาท (16 หน่วยกิต) มีจำนวนหน่วยกิตรวม 128 หน่วยกิต

  • ค่าบำรุงการศึกษา
    –
    ภาคการศึกษาปกติ 12,000 บาท
    – ภาคการศึกษาพิเศษ 6,000 บาท
  • ค่าลงทะเบียนวิชาเรียน
    – ภาคการศึกษาปกติ 1,600 บาท
    – ภาคการศึกษาพิเศษ 1,600 บาท
  • ค่ารักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษา
    – ภาคการศึกษาละ 800 บาท
  • ค่าปรับในการลงทะเบียนและรักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษาหรือชำระเงินล่าช้ากว่ากำหนด (รวมวันหยุด)
    – วันละ 50 บาท
  • ค่าประกันอุบัติเหตุและค่าธรรมเนียมอื่นๆ ให้เรียกเก็บตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  • ค่ายืนยันสิทธิ์ *                            
    –  39,200 บาท
    _______________________

    * ผู้ที่มีสิทธิ์เข้าศึกษาต้องชำระเงินค่ายืนยันสิทธิ์ภายหลังการยืนยันสิทธิ์ในระบบ TCAS โดยค่ายืนยันสิทธิ์เป็นค่าเล่าเรียนของภาคการศึกษาแรกที่ยังไม่รวมค่าประกันอุบัติเหตุและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ

     

(อัตราค่าบำรุงการศึกษาและค่าลงทะเบียนวิชาเรียนอาจมีการเปลี่ยนแปลง)
ระยะเวลาในการศึกษา: ศึกษาตามหลักสูตร 4 ปีการศึกษา แต่ไม่เกิน 8 ปีการศึกษา
 

เอกสารรายละเอียดหลักสูตร ฉบับปรับปรุงปี 2567

 

รายละเอียดหลักสูตร ฉบับปรับปรุงปี 2567 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ <-Click->

Views: 10,657

66 2470 9850

webadmin@sit.kmutt.ac.th

 @sit.kmutt

สมัครเรียน

  • สมัครเรียนปริญญาตรี
  • สมัครเรียนปริญญาโท-เอก
  • ทุนการศึกษา

หลักสูตรการศึกษา

  • ปริญญาตรี
  • ปริญญาโท
  • ปริญญาเอก

ข่าวสารและกิจกรรม

  • ข่าวสารและกิจกรรม
  • ข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรม
  • ข่าวรับสมัครงาน
  • โครงงานและนวัตกรรม
  • SIT GALLERY

เมนูลัดอื่นๆ

  • SIT Researchs
  • นักศึกษาปัจจุบัน
  • ศิษย์เก่า
  • คำถามที่พบบ่อย

© 2018 School of Information Technology, King Mongkut's University of Technology Thonburi.

Insert/edit link

Enter the destination URL

Or link to existing content

    No search term specified. Showing recent items. Search or use up and down arrow keys to select an item.